ยืนยันผลตรวจกำไล EM ไม่มีประสิทธิภาพ ถอดเองได้โดยไม่ต้องตัด ผิดข้อตกลงหลายประเด็น
logo ข่าวอัพเดท

ยืนยันผลตรวจกำไล EM ไม่มีประสิทธิภาพ ถอดเองได้โดยไม่ต้องตัด ผิดข้อตกลงหลายประเด็น

ข่าวอัพเดท : วันที่ 26 ส.ค. 62 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีการตั้งกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติและ TOR ของระบบอุปกรณ กำไลEM,EM,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,สมศักดิ์ เทพสุทิน

3,078 ครั้ง
|
26 ส.ค. 2562
วันที่ 26 ส.ค. 62 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีการตั้งกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติและ TOR ของระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ กำไล EM ว่า 
 
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้มีการตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งใช้เวลานาน 14 วัน โดยได้รายงานไปยังปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเบื้องต้นได้รับรายงานการผลการตรวจสอบพบว่าไม่ตรงตามข้อตกลงทาง TOR ชัดเจนหลายประเด็น เช่น กำไลข้อมือถอดออกได้, ขาด หรือกำไลใช้รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ใช้ตรวจสอบไม่ตรงตามสเปก 
 
โดยหลังจากนี้จะให้คณะกรรมการไปพิจารณาต่อถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา ว่าจะดำเนินการกับผู้ที่ถูกคุมประพฤติและติดกำไล EM แล้วอย่างไร รวมถึงจะต้องไปตรวจสอบกับบริษัทผู้ผลิตว่ามีการทำผิดเงื่อนไขอย่างไร ต้องยกเลิกสัญญาหรือไม่ ซึ่งขณะนี้กรมคุมประพฤติยังรอการจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิตจำนน 72 ล้านบาท จึงได้สั่งให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบว่าจะต้องจ่ายเงินที่เหลือหรือไม่
 
ขณะที่นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวมายังกระทรวงยุติธรรมแล้ว โดยมีข้อค้นพบ ดังนี้คือ 
 
1. อุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) สามารถถอดออกจากข้อมือได้โดยไม่ต้องใช้การตัดสายรัดหรืออุปกรณ์ในการถอด และสามารถสวมใส่กลับเข้าไปได้นั้นเป็นความจริง
 
2. มีผู้ถูกคุมความประพฤติที่สวมใส่อุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM หลายรายเกิดอาการแพ้ โดยบางรายเกิดผื่นสีแดงขึ้นบริเวณข้อมือ หรือมีผิวหนังแห้งบริเวณข้อมือ หรือมีแผลติดเชื้อบริเวณข้อมือ ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในขอบเขตของงาน TOR ที่ระบุว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้ต้องได้รับการรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถือหรือจากผู้ผลิตว่า  เมื่อสวมใส่แล้วจะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้แก่ผู้สวมใส่ได้โดยง่าย 
 
3. อุปกรณ์มีการแจ้งเตือนบ่อยครั้ง และอาจจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสัญญาณแจ้งเตือนและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ จากการตรวจสอบข้อมูลสถิติจากศูนย์ควบคุมการติดตามตัวผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติด้วยอุปกรณ์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการนี้เมื่อ 1 มกราคม 2562 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีผู้ถูกคุมประพฤติที่เข้ารับการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตัวในแต่ละเดือนอยู่ที่ 200 ถึง 700 คน แต่มีการแจ้งเตือนว่าอุปกรณ์ถูกทำลายสูงกว่า 1,000-100,000 ครั้งต่อเดือน หรือ ไม่มีสัญญาณสูงกว่า 20,000-170,000 ครั้งต่อเดือน เป็นต้น
 
โดยกระทรวงยุติธรรม จะได้แจ้งกรมคุมประพฤติทราบข้อค้นพบ และพิจารณาดำเนินการในฐานะคู่สัญญาตามอำนาจหน้าที่โดยเร็วต่อไป รวมทั้งจะได้ดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุในเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไปอีกด้วย
 
 
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง