สถานที่สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
วัดนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม และในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ วัดแห่งนี้จะเป็นสถานที่สำคัญในการเสกน้ำอภิเษกรวมจาก กรุงเทพมหานคร และ ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือภายในพระบรมมหาราชวัง ตามแบบแผนการสร้างพระบรมมหาราชวังแต่ครั้งโบราณ เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระแก้ว มีเฉพาะเขตพุทธาวาส เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมือง รวมถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อาทิการจารึกพระสุพรรณบัฏและการแกะพระราชลัญจกร ในวันอังคารที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๒
วัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร แต่เดิมเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กับวัดรังสีสุทธาวาส ต่อมา กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ได้รวมวัดทั้ง ๒ เข้าเป็นวัดเดียว โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วัดบวรนิเวศวิหาร จะเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
พระที่นั่งสาคัญในหมู่พระมหามณเฑียรตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ประกอบด้วยอาคาร ๓ หลังเรียงต่อกันในแนวตะวันออก – ตะวันตก เป็นพระวิมานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ จึงใช้พระที่นั่งองค์นี้สาหรับประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรอันเกี่ยวเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปัจจุบันพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นที่ประดิษฐานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงและเครื่องราชูปโภค
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นท้องพระโรงสำคัญในพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมืองอาทิ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาตลอดจนเสด็จออกรับทูตต่างประเทศที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีในสมัยต้นรัตนโกสินทร์พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นท้องพระโรงโถง ยกพื้นสูง มีมุขสองข้างทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกที่ปลายสุดของท้องพระโรงเป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมานเป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร
เป็นพระแท่น หรือพระที่นั่ง หรือพระราชอาสน์ทำจากไม้อุทุมพร หรือ “มะเดื่อ” ทรงแปดเหลี่ยมจึงเรียกว่า“พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์”สลักปิดทองประดับกระจก กางกั้นด้วยพระบวรเศวตฉัตรหรือสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว ๗ ชั้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ด้านมุขตะวันออกในพระบรมมหาราชวังสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นประทับรับน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันตกเฉียงเหนือในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ลักษณะเป็นพระเก้าอี้ถมทอง พนักและเท้าแขนต่อเนื่องกันเป็นกงแบบเก้าอี้จีน สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังปักนพปฎลมหาเศวตรฉัตร
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์เมื่อทรงรับน้าอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์แล้ว เสด็จพระราชดาเนินประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ เครื่องราชูปโภคและราชสมบัติ
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นสถานที่สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อาทิ การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ และการเชิญพระสุพรรณบัฎ ดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกร ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ตั้งอยู่กลางระหว่างท้องพระโรงหน้าของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีลักษณะเป็นพระที่นั่งโถงยาว ยกพื้นสูง ทอดยาวไปตามทิศตะวันออก – ตะวันตก ผนังด้านทิศเหนือประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช ด้านหลังพระวิมานเป็นพระทวารเทวราชมเหศวร ซึ่งเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
9. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗โดยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๒วัดราชบพิธ ฯ สร้างโดยเลียนแบบจาก ๒ วัด คือวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีดาราม ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔ และวัดพระปฐมเจดีย์บริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณโดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วัดราชบพิธฯ จะเป็นสถานที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
10.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง ที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากรพระประธานในพระอุโบสถ เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วัดโพธิ์ จะเป็นสถานที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
11. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ลักษณะเป็นพระมหาปราสาทจตุรมุข ตั้งอยู่เบื้องตะวันตกของเขตพระราชฐานชั้นกลางในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๓๒ ทดแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ภายหลังใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพและพระศพจนเป็นธรรมเนียม
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกราบถวายบังคมและสดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่พระที่นั่งนี้
12. หมู่พระมหามณเฑียร
คือกลุ่มพระที่นั่งหลังคาทรงจั่ว สร้างเชื่อมพระที่นั่งประธานสามหลังประกอบไปด้วย พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณและพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ตั้งอยู่เบื้องตะวันออกของเขตพระราชฐานชั้นกลางและเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๒๘ เพื่อใช้เป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมาได้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่10
ข่าวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก