กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย 84 องค์กรประกาศเจตนารมณ์ คุ้มครองเด็กและเยาวชน จากโรคติดเกม ซึ่งองการอนามัยโลกประกาศให้เป็นโรคทางจิตเวช คาดการณ์มีเด็กเสี่ยงติดเกมประมาณ 2 ล้านคนป้องกันด้วยหลัก 3 ต้อง 3 ไม่
(31 ต.ค. 61) ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์จริต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2561 ภายใต้แนวคิด เครียดได้ คลายเป็น เล่นเกมส์แต่พอดี พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคประชาชน เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายเด็กและเยาวชน สภาวิชาชีพ ราชวิทยาลัย และโรงเรียนแพทย์ รวม 84 องค์กร ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาติดเกมอย่างเป็นรูปธรรม
รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 1 ถึง 7 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ภายใต้แนวคิด เครียดได้ คลายเป็น เล่นเกมส์แต่พอดี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนจากโรคติดเกม ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช มีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ครอบครัว การศึกษา การงานอาชีพ และสังคม ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของความเจ็บป่วยทางจิตจากพฤติกรรมเสพติดเกมส์นับ พันล้าน สำหรับประเทศไทยคาดการณ์มีเด็กติดเกมส์และมีปัญหาเสี่ยงต่อการติดเกมประมาณ 2 ล้านคน เด็กและเยาวชนที่เล่นเกมส์จนเกินพอดีขาดวินัยในตนเองไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จะนำไปสู่การติดเกมส์เป็นปัญหาพฤติกรรมเสพติดในทางสมอง มีลักษณะคล้ายกับติดสารเสพติด
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า อาการที่คล้ายกับอาการติดยาเสพติด เมื่อเวลาที่ไม่ได้เบ่นเกมส์คือจะมีอาการลงแดง วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ซึ่งครอบครัวสามารถช่วยกันแก้ปัญหาและป้องกันได้ด้วยหลัก 3 ต้อง 3 ไม่ ได้แก่ ต้องกำหนดเวลาเล่นเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน ต้องตกลงโปรแกรมให้ลูกเลือกประเภทเกมส์ให้ลูก เช่นเกมส์บริหารสมอง
สำหรับการประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนมาตรการเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาติดเกม 4 ข้อ ได้แก่ 1. ป้องกันและควบคุมการบริโภคเกมส์ที่มีผลกระทบต่อสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก 2. สนับสนุนให้มีมาตรการกำกับดูแลการแข่งขันวิดีโอเกมและ E-SPORT ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม 3. สร้างความตระหนักถึงผลเสียและเรียนรู้การใช้อย่างเหมาะสมแก่เด็ก ครอบครัวและครู 4. สร้างระบบเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้เข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุม
+ อ่านเพิ่มเติม