TDRI เสนอผลศึกษาระบบร่วมเดินทาง หาแนวทาง "อูเบอร์-แกร็บคาร์" ถูกกฎหมาย-แข่งขันแท็กซี่เป็นธรรม
logo ข่าวอัพเดท

TDRI เสนอผลศึกษาระบบร่วมเดินทาง หาแนวทาง "อูเบอร์-แกร็บคาร์" ถูกกฎหมาย-แข่งขันแท็กซี่เป็นธรรม

ข่าวอัพเดท : นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทีดีอา TDRI,grab,uber,แท็กซี่,กรมการขนส่งทางบก

8,946 ครั้ง
|
09 ก.พ. 2561
นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทีดีอาร์ไอได้ส่งผลการศึกษาเรื่องระบบร่วมเดินทาง (Ride Sharing) เช่น อูเบอร์ หรือแกร็บคาร์ ให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) แล้ว โดยผลการศึกษาดังกล่าวได้พิจารณาตัวอย่าง จากหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ก่อนสรุปเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทย
 
เป้าหมายคือประชาชนยังมีระบบไรด์แชร์ริ่ง เป็นทางเลือกในการเดินทาง แต่ภาครัฐสามารถควบคุมคุณภาพของไรด์แชริ่งได้ และต้องดูแลไม่ให้ไรด์แชริ่งได้เปรียบกลุ่มรถแท็กซี่เดิม ขณะเดียวกันต้องกระตุ้นรถแท็กซี่ให้ปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นด้วย โดยผลการศึกษาได้เสนอแนวทางดำเนินการที่เหมาะสม 4 ด้าน ได้แก่ 
 
1. ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นไรด์แชริ่งจะต้องขึ้นทะเบียนกับภาครัฐ เพื่อให้กำกับดูแลในด้านต่างๆ เช่น อัตราค่าใช้จ่ายและค่าโดยสาร การจัดการ กับข้อร้องเรียน เป็นต้น 
2. ผู้ขับรถไรด์แชริ่งต้องมีใบขับขี่สาธารณะ เพราะไม่ได้ขับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถป้ายดำเพียงอย่างเดียว 
3. รถป้ายดำที่ให้บริการไรด์แชริ่งต้องจดทะเบียนแจ้งกับกรมการขนส่งทางบกและต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากปกติ
4. แอพพลิเคชั่นไรด์แชริ่งต่างๆ ต้องเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัย เช่น ทำประกันภัยความเสี่ยงจากการเดินทาง หรือเพิ่มปุ่มฉุกเฉินในแอพพลิเคชั่น คล้ายกับโครงการรถแท็กซี่โอเค/วีไอพีของกรมการขนส่งฯ ที่กำหนดให้แท็กซี่ทุกคันต้องติดตั้งปุ่มฉุกเฉินภายในตัวรถ เป็นต้น นอกจากนี้รถป้ายดำที่ให้บริการ รด์แชริ่งจะต้องตรวจสภาพถี่ขึ้น จากเดิม 7 ปีต่อครั้ง เป็นตรวจสอบสภาพทุกปี
 
ขั้นตอนหลังจากนี้ ทีดีอาร์ไอจะต้องหารือกับกรมการขนส่งฯ ว่ามีความคิดเห็นเพิ่มเติมอย่างไร จากนั้นจะนำผลการศึกษาไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งประชาชน, ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นไรด์แชริ่งและกลุ่มรถแท็กซี่ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนและเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาได้ประมาณเดือน พ.ค. นี้ ว่าจะตัดสินใจดำเนินการหรือปรับแก้กฎหมายอย่างไร
 
ถ้าหากภาครัฐดำเนินการตามผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอทั้งหมด ก็ต้องแก้ไขกฎกระทรวง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน หรือภาครัฐอาจตัดสินใจใช้ทางเลือกอื่นๆ ตามความเหมาะสม แต่เบื้องต้นจะหลีกเลี่ยงการแก้กฎหมายในชั้น พ.ร.บ. เพราะต้อง ใช้เวลาขั้นต่ำ 6 เดือนหรืออาจจะมากกว่า 1 ปี กว่าจะประกาศใช้ได้จริง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง