สธ.แจง "ห้ามชาร์จมือถือในที่ราชการ" และอีก 5 มาตรการเพื่อป้องปราม หลังพบใช้ส่วนตัวไม่เกี่ยวงานเพียบ!
logo ข่าวอัพเดท

สธ.แจง "ห้ามชาร์จมือถือในที่ราชการ" และอีก 5 มาตรการเพื่อป้องปราม หลังพบใช้ส่วนตัวไม่เกี่ยวงานเพียบ!

ข่าวอัพเดท : สธ.ออกหนังสือแจง 6 มาตรการเข้ม ซึ่งรวมถึงการห้ามชาร์จมือถือในที่ทำงาน เป็นไปตามร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประ กระทรวงสาธารณสุข,ชาร์จมือถือ,ล้างรถ,จอดรถ,มาตรการ

17,187 ครั้ง
|
05 ม.ค. 2561
สธ.ออกหนังสือแจง 6 มาตรการเข้ม ซึ่งรวมถึงการห้ามชาร์จมือถือในที่ทำงาน เป็นไปตามร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งผ่านครม. และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก สนช. ด้านสารนิเทศกระทรวงสาธารณสุขระบุ เป็นเพียงการป้องปราม ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
 
หลังจากเกิดกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ แชร์ประกาศสำนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการป้องกันกรณีการใช้ทรัพย์สินของทางราชการ 6 ข้อ โดยมีมาตรการที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ที่สุด คือ การห้ามเจ้าหน้าที่รัฐในสังกัดชาร์จโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสถานที่ราชการ และมีมาตรการอื่นๆ อาทิ การห้ามเจ้าหน้าที่รัฐในสังกัดล้างรถส่วนตัวในสถานที่ราชการ, ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐในสังกัดห้ามนำรถไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวนั้น
 
ข่าวอัพเดท : สธ.แจง ห้ามชาร์จมือถือในที่ราชการ แ
 
ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขออกจดหมายข่าวระบุว่า 
 
"นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมป้องกัน ในฐานะรักษาราชการแทนหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข (ศปท.) ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรการป้องกันการใช้ทรัพย์สินทางราชการ เพื่อแสดงเจตจำนงสุจริตในการบริหารราชการและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในตำแหน่งหน้าที่อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นแบบอย่างที่ดี ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อความเชื่อมั่นศรัทธาต่อประชาชน โดยมุ่งหวังที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดของคนในหน่วยงานให้สามารถคิดแยกแยะว่า "เรื่องใดเป็นประโยชน์ส่วนตนและเรื่องใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม" 
 
ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ที่รับทราบร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. .... พร้อมมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำระเบียบว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับดูแล โดยให้พิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่สร้างภาระให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขที่มีกว่า 4 แสนคน"
 
จดหมายข่าวดังกล่าวยังอ้างคำให้สัมภาษณ์จากนายแพทย์ยงยศ โดยกล่าวว่า "รายละเอียดในประกาศที่ได้แจ้งไป บางข้ออาจทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เช่นการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ใช้ทั้งติดต่อราชการและเรื่องส่วนตัว ซึ่งอยู่ในวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ถึงความเหมาะสม"
 
ผู้สื่อข่าวติดต่อไปยังนางศิริมา ธีรศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งระบุว่าประกาศดังกล่าวออกมาเป็นการป้องปราม เพราะที่ผ่านมาพบพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของทางราชการโดยไม่เกี่ยวกับงานเป็นจำนวนมาก เช่น การนำรถยนต์ส่วนตัวมาล้าง การชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงวันศุกร์เพื่อไปใช้ช่วงสุดสัปดาห์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ทรัพยากรของรัฐก็ขอให้พิจารณาตามความเหมาะสมและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
 
อนึ่ง ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. .... มีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุให้ "การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานที่ตนสังกัดหรือปฏิบัติหน้าที่อยู่ ไปเพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎ หรือทรัพย์สินนั้นมีราคาเล็กน้อย" เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งหากเจ้าหน้าที่รัฐ คู่สมรสและบุตรของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นๆที่เป็นผู้ใช้ ผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทำโดยอาศัยอิทธิพลของเจ้าหน้าที่รัฐเกิดฝ่าฝืน จะระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, หากผู้กระทำผิดเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องระวางโทษเป็นสองเท่า และผู้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว โดยรู้เห็นเป็นใจด้วยต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งจากของโทษข้างต้น
 
อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของ สนช. โดยก่อนหน้านี้ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2560 และเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเวลาต่อมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง