1. ภัยพิบัติเขย่าโลกตลอดปี 2017
ยังคงเป็นปีที่โลกเผชิญกับภัยพิบัติหลากหลายรูปแบบ ประเดิมต้นปีด้วยเหตุแผ่นดินไหวที่ฟิจิ-ปาปัวนิวกินี เดือนกันยายนเม็กซิโกก็เจอแผ่นดินไหวสองหนซ้อน ทั้งขนาด 8.1 ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี (อ่านข่าว คลิก) และขนาด 7.1 ในเวลาห่างกันไม่ถึง 2 สัปดาห์ (อ่านข่าว คลิก) กลางปีกรีนแลนด์ก็พบกับสึนามิ (อ่านข่าว คลิก) ขณะรัสเซียก็เจอแผ่นดินไหวขนาด 7.8 (อ่านข่าว คลิก) ส่วนเดือนพฤศจิกายนก็มีแผ่นดินไหวหลายครั้ง ทั้งที่อิรักก็มีแผ่นดินไหวขนาด 7.2 คร่าเหยื่อมหาศาล (อ่านข่าว คลิก) ที่คอสตาริกา ที่เกาหลีใต้ และที่นิวแคลิโดเนีย ส่งท้านปีด้วยแผ่นดินไหวที่ 6.5 ที่อินโดนีเซีย
ข้ามมาที่เหตุพายุ-น้ำท่วมก็โหดร้ายไม่แพ้กัน สหรัฐฯต้องประสบกับทอร์นาโดพัดถล่มตั้งแต่เดือนมกราคม (อ่านข่าว คลิก) มาถึงเดือนพฤษภาคม (อ่านข่าว คลิก) สิงหาคม (อ่านข่าว คลิก) และที่โหดที่สุดของปีคงหนีไม่พ้น "เฮอร์ริเคนเออร์มา" ในเดือนกันยายนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องให้รัฐบาลกลางยื่นมือมาช่วยเหลือ (อ่านข่าว คลิก)
ข้ามฝั่งมาที่เอเชียเจอพายุหลายระลอก ทั้งไต้ฝุ่นตาลัส (อ่านข่าว คลิก), ไต้ฝุ่นไคโรกี (อ่านข่าว คลิก) และปิดท้ายปลายปีกับพายุโซนร้อนเทมบิน (อ่านข่าว คลิก) และไคตั๊ก (อ่านข่าว คลิก) ขณะที่ชิลีก็มีเหตุดินถล่มทับหมู่บ้านเช่นกัน (อ่านข่าว คลิก)
ส่วนเหตุภูเขาไฟตลอดปีนี้ก็อย่างเช่น "ภูเขาไฟอากุง" ที่เกิดปะทุจนนักท่องเที่ยวตกค้างที่บาหลี (อ่านข่าว คลิก) หรือที่ญี่ปุ่นที่ ภูเขาไฟ 'ชินโมเอดาเกะ' ปะทุครั้งแรกในรอบ 6 ปี (อ่านข่าว คลิก)
ด้านไฟป่าและคลื่นความร้อนก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน วิกฤติครั้งใหญ่สุดของปีนี้คือไฟป่าที่แคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ที่สร้างความเสียหายมหาศาล และไฟป่าที่โปรตุเกสที่คร่าชีวิตผู้คนไม่ต่ำกว่า 62 ราย (อ่านข่าว คลิก) หรือคลื่นความร้อนที่ทำให้ยุโรปต้องเตือนภัยในระดับสีแดง (คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมทั่วยุโรป อุณหภูมิพุ่งกว่า 40 องศาฯ เตือนภัยระดับสีแดง (อ่านข่าว คลิก)
แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ความร้อน เพราะพายุหิมะก็สร้างความเสียหายได้ อย่างที่ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ที่เจอพายุพัดถล่ม (อ่านข่าว คลิก) ส่วนช่วงปลายปีพายุหิมะก็ไปออกฤทธิ์ที่อังกฤษ (อ่านข่าว คลิก)
และปิดท้ายกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ กับเหตุไฟไหม้อาคารสูงในกรุงลอนดอน "เกร็นเฟลล์ ทาวเวอร์" ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างต่ำถึง 79 ราย และผลการตรวจสอบก็พบว่าวัสดุหุ่มอาคารไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย บรรดาชาวลอนดอนและศิลปินดังต่างออกมาส่งธารน้ำใจช่วยผู้ประสบเหตุ ขณะนักดับเพลิงถึึงกับต้องกล่าวคำไว้อาลัยด้วยการขอโทษ ที่ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว แต่ยังมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นับเป็นโศกนาฏกรรมไฟไหม้ครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของอังกฤษ (อ่านข่าว คลิก)
2. วิกฤตการณ์คาบสมุทรเกาหลียังคงระอุต่อเนื่อง
มีเรื่องให้อกสั่นขวัญแขวนตลอดทั้งปี กับความขัดแย้งบนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งนับแต่คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือขึ้นครองอำนาจ และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งปธน.สหรัฐฯ สถานการณ์ก็ดูไม่ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นสักเท่าไรนัก เมื่อเกาหลีเหนือเปิดฉากทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนเมษายน (อ่านข่าว คลิก) เรื่อยมาอีกนับสิบครั้ง จนมาสู่การทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (อ่านข่าว คลิก) และการฉลองความสำเร็จที่อ้างว่าทดสอบระเบิดไฮโดรเจนได้สำเร็จ (อ่านข่าว คลิก) ที่ทำให้สหประชาชาติต้องออกมาตรการคว่ำบาตรถึงสองครั้งสองครา (อ่านข่าว คลิก,
คลิก) แต่ก็ดูเหมือนเกาหลีเหนือจะไม่ได้สนใจและยังคงทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป และนับเป็นยุคที่เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ถี่มากที่สุด
อีกด้าน โสมแดงก็ยังมีเหตุวิวาทกับสหรัฐฯ อยู่เนืองๆ เริ่มจากการที่ทรัมป์ประกาศว่าจีนกับสหรัฐฯจะจับมือยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ (อ่านข่าว คลิก) มาสู่การจับกุมพลเมืองอเมริกัน (อ่านข่าว คลิก) รวมถึงการทำสงครามน้ำลาย ที่ทรัมป์บอกว่าคิม จอง อึน เป็น "มนุษย์จรวด" (อ่านข่าว คลิก) ขณะโสมแดงก็เคยระบุว่าทรัมป์ "เลอะเลือน" (อ่านข่าว คลิก) งานนี้ฝั่งโสมแดงถึงกับเคยประกาศว่าสหรัฐฯ ประกาศสงครามก็มีมาแล้ว
นอกจากอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งกลายเป็นความขัดแย้ง ยังมีเรื่องของนาย "คิม จอง นัม" พี่ชายต่างมารดาของคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน ซึ่งถูกลอบสังหารกลางสนามบินมาเลเซีย (อ่านข่าว คลิก) ทำเอาความสัมพันธ์สองชาติระอุไปพักหนึ่ง
คงต้องรอดูว่าสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีปีหน้า จะทวีความดุเดือดขึ้นกว่านี้หรือไม่ ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และชาติมหาอำนาจอื่นๆ จะเดินหมากอย่างไร และจะมีทางใดที่ทำให้สันติภาพคืนสู่ดินแดนแถบนี้ได้บ้าง
3. "โดนัลด์ ทรัมป์" สีสัน ความหวาดหวั่น และการเปลี่ยนแปลงในฐานะประธานาธิบดี
นับแต่ "โดนัลด์ ทรัมป์" ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แบบพลิกความคาดหมาย และเข้าสาบานตนรับตำแหน่งเมื่อต้นปีนี้ ภายใต้คำขวัญ "อเมริกาต้องมาก่อน" ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งในสหรัฐฯ และที่ส่งกระทบถึงโลกใบนี้
เริ่มต้นจากการทำตามสัญญาที่ให้ไว้ระหว่างการหาเสียง ด้วยการถอนตัวจากข้อตกลงความร่วมมือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) อย่างเป็นทางการ โดยให้เหตุผลว่าข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลเสียหลายประการต่อภาคการผลิตของสหรัฐฯ (อ่านข่าว คลิก)
จากนั้น ทรัมป์ตวัดปากกาเซ็นคำสั่งทางบริหาร (Execuive Order) หลายฉบับตลอดปีนี้ เพื่อแบนพลเมืองจากชาติมุสลิมรวม 8 ชาติ ซึ่งทำเอามีการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ปรับแก้ไขจนสามารถบังคับใช้ได้ในที่สุด (อ่านข่าว คลิก, คลิก, คลิก) ตลอดมีรักษาการรมว.ยุติธรรมต้องถูกไล่ออกเซ่นต่อการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ด้วย (อ่านข่าว คลิก)
และเมื่อถึงกลางปี ทรัมป์ผู้เคยประกาศว่าไม่เชื่อในภาวะ "โลกร้อน" ก็ประกาศนำสหรัฐฯถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิของโลกที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยให้เหตุผลว่าข้อตกลงนี้จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ต่างชาติควบคุมการใช้พลังงานของสหรัฐฯ ได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อธุรกิจของสหรัฐฯ เอง (อ่านข่าว คลิก)
และปลายปีทรัมป์ก็จุดไฟการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางให้ร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยการประกาศยอมรับกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ทั้งที่ยังมีข้อพิพาทกับปาเลสไตน์เรื่องที่ต่างฝ่ายต่างอยากให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของฝ่ายตนอยู่ (อ่านข่าว คลิก)
และนโยบายอื่นๆ ของทรัมป์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกในปีนี้ก็เช่นการเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน (อ่านข่าว คลิก) นโยบายต่อซีเรีย (อ่านข่าว คลิก) เป็นต้น
ส่วนเรื่องในบ้านของสหรัฐฯเองก็ดุเดือดไม่แพ้กัน กรณีใหญ่สุดคงเป็นเรื่องการสอบสวนกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่เขาเป็นฝ่ายชนะ และรัสเซียถูกกล่าวหาว่ามีเบื้องหลังพัวพันการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยทรัมป์เคยออกมาปกป้องลูกชายของตนหลังยอมรับว่าเคยคุยกับทนายชาวรัสเซียช่วงการเลือกตั้ง (อ่านข่าว คลิก) หรือที่เป็นสีสันก็เช่นกรณีทรัมป์สั่งแบนผู้สื่อข่าวหลายสำนักโดยอ้างว่านำเสนอข่าวที่เป็นเท็จ (อ่านข่าว คลิก) ซึ่งทรัมป์ดูจะมีปัญหากับสื่อที่เขามองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามหลายสำนัก เช่น ยักษ์ใหญ่อย่าง CNN หรือ New York Times เป็นต้น หรือการผลักดันร่างกฎหมายประกันสุขภาพฉบับ "ทรัมป์แคร์" ที่มาแทนที่ "โอบามาแคร์" ของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าอาจลดทอนการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน (อ่านข่าว คลิก) หรือนโยบายห้ามคนข้ามเพศทำงานในกองทัพ (อ่านข่าว คลิก) และกรณีทรัมป์โดนวิจารณ์หลังถูกมองว่าจำใจประณามกลุ่มคนผิวขาวที่เหยียดผิว (อ่านข่าว คลิก) เป็นต้น
ทั้งหมดนี้อาจเป็นทั้งสีสันและความเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้ 1 ปีของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของชายที่ชื่อ "โดนัลด์ ทรัมป์" ยังเหลืออีก 3 ปีในวาระของเขา คงต้องรอดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นภายใต้ยุคทำเนียบขาวของ "ทรัมป์" อีก
4. วิกฤตการณ์โรฮิงญา และฮีโร่ชื่อ "ออง ซาน ซูจี" ที่หายไป
วิกฤติผู้อพยพชาวโรฮิงญาในเมียนมายังเป็นปัญหาต่อเนื่อง ปีนี้เกิดเหตุปะทะในรัฐยะไข่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมระหว่างกองทัพกับกลุ่มติดอาวุธของชาวโรฮิงญา เหตุที่เกิดขึ้นทำให้ชาวโรฮิงญากว่า 5 แสนคนต้องอพยพเข้าสู่บังคลาเทศ และมีผู้เสียชีวิตอีกจำนวนมาก ชาวโรฮิงญาส่วนหนึ่งระบุว่าทหารและชาวเมียนมาบุกเข้ามาฆ่าผู้คนและจุดไฟเผาหมู่บ้าน แต่ทางการเมียนมาเคยออกมายืนยันว่า ชาวโรฮิงญาจุดไฟเผาบ้านตนเอง ขณะที่นานาประเทศออกมาประท้วงรัฐบาลเมียนมาให้หยุดใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญา และกล่าวหาว่านี่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เลยทีเดียว (อ่านข่าว คลิก)
กระแสวิจารณ์จากนานาชาติไม่ได้จบแค่ที่รัฐบาลเมียนมา แต่ยังลามไปถึงนาง "ออง ซาน ซูจี" ในฐานะที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา ซึ่งออกมากล่าวปกป้องการกระทำของรัฐบาลเมียนมาว่าไม่ได้ละเลยสิทธิมนุษยชน (อ่านข่าว คลิก) แม้ว่าต่อมาเธอจะประกาศว่าเมียนมายินดีรับชาวโรฮิงญากลับประเทศ แต่บทบาทของเธอที่มีส่วนในการปกป้องรัฐบาลเมียนมา ทำให้เธอถูกถอดรางวัล "เสรีภาพแห่งออกซ์ฟอร์ด" ที่สภาเมืองออกซ์ฟอร์ดแห่งอังกฤษเคยมอบให้ (อ่านข่าว คลิก) นอกจากนี้ยังมีเสียงวิจารณ์ว่าเธอยังเหมาะสมที่จะครองรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพต่อไปหรือไม่
ในที่สุด รัฐบาลเมียนมาทำข้อตกลงกับรัฐบาลบังคลาเทศในการส่งชาวโรฮิงญากลับเมียนมาท่ามกลางความหวาดหวั่นของชาวโรฮิงญาเอง (อ่านข่าว คลิก) และชาวโลกระดมทุนกว่า 340 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยผู้อพยพเหล่านี้ (อ่านข่าว คลิก) แต่เรื่องราวก็ไม่ได้จบลง เพราะมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวชื่อดังอย่างรอยเตอร์สถูกจับ หลังถือครองเอกสารลับของราชการเมียนมา เกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ทำให้นานาชาติเรียกร้องให้ปล่อยตัว (อ่านข่าว คลิก)
นับเป็นวิกฤตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ทั้งโลกจับตามอง
5. รอยเลือดและคราบน้ำตาไม่เคยจาง กับเหตุก่อการร้ายป่วนโลก
การก่อการร้ายยังคงสร้างความหวาดหวั่นบนโลกใบนี้ต่อไป และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพียงคืนฉลองปีใหม่ โลกก็ต้องพบกับการก่อเหตุร้าย เมื่อคนร้ายบุกกราดยิงไนท์คลับในตุรกี (อ่านข่าว คลิก) และต่อมา อียิปต์ก็พบกับเหตุโจมตีโบสถ์ถึงสองครั้ง ซึ่งกลุ่มไอเอสอ้างความรับผิดชอบ (อ่านข่าว คลิก)
ถึงปลายเดือนพฤษภาคม โลกก็ต้องตกตะลึงกับเหตุระเบิดที่เมืองแมนเชสเตอร์ กลางงานคอนเสิร์ตของศิลปินสาวอาเรียนา กรานเด เหตุครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 22 คน และกลุ่มไอเอสก็ออกมาอ้างความรับผิดชอบเช่นเคย (อ่านข่าว คลิก) ถัดมาไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็มีเหตุก่อการร้ายถึง 2 จุดในกรุงลอนดอน ทั้งการขับรถแวนไล่ชนผู้คน และแทงผู้คนย่านโบโร่มาร์เก็ต (อ่านข่าว คลิก) ต่อเนื่องกับเหตุโจมตีรัฐสภาและสุสานในอิหร่าน (อ่านข่าว คลิก) และการสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอดในซีเรียก็กลายเป็นความเศร้า เมื่อเกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายและคาร์บอมบ์ (อ่านข่าว คลิก)
ครึ่งปีหลังยังมีเหตุต่อเนื่อง ทั้งการขับรถพุ่งชนคนในสเปน (อ่านข่าว คลิก) เหตุกราดยิงและระเบิดฆ่าตัวตายในอิรัก (อ่านข่าว คลิก) ไปจนถึงการระเบิดรถไฟใต้ดินในกรุงลอนดอน (อ่านข่าว คลิก) ตลอดจนเหตุโจมตีสนามบินกรุงคาบูลของอัฟกานิสถาน (อ่านข่าว คลิก)
ย่างเข้าเดือนตุลาคมก็เกิดเหตุช็อกโลกอีกครั้ง กับเหตุกราดยิงครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของสหรัฐฯ เมื่อชายชาวอเมริกัน วัย 50 ปี ก่อเหตุกราดยิงผู้คนแบบไม่เหลือหน้าในงานเทศกาลดนตรีเพลงคันทรี่กลางแจ้ง ซึ่งจัดขึ้นใกล้กับ มัณฑะเลย์ เบย์ โฮเทล แอนด์ คาสิโน่ ในนครลาสเวกัส ของสหรัฐฯ เป็นเหตุให้ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 59 คน ซึ่งไอเอสก็อ้างว่าอยู่เบื้องหลัง (อ่านข่าว คลิก) ต่อมา เดือนพฤศจิกายนมีทั้งเหตุกราดยิงโบสถ์ในรัฐเท็กซัส ซึ่งมือปืนสังหารคนไปไม่ต่ำกว่า 27 ราย (อ่านข่าว คลิก) และเหตุโจมตีมัสยิดในอียิปต์ ซึ่งมียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 235 ราย (อ่านข่าว คลิก)
ปิดท้ายปลายปี ก็มีเหตุใหญ่คือเหตุระเบิดสถานีขนส่งใกล้จัตุรัสไทม์สแควร์ในมหานครนิวยอร์ก (อ่านข่าว คลิก) และเหตุระเบิดฆ่าตัวตายโจมตีชาวมุสลิมในอัฟกานิสถาน มีผู้เสียชีวิต 41 ราย (อ่านข่าว คลิก)
ส่วนความพยายามในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายก็มีให้เห็นทั้งปี ทั้งการทิ้งระเบิดยักษ์ของสหรัฐฯ ถล่มฐานที่มั่นของกลุ่มไอเอสในอัฟกานิสถาน (อ่านข่าว คลิก) ไปจนถึงความสำเร็จของอิรัก ที่สามารถเอาชนะกลุ่มไอเอสได้สำเร็จหลังถูกยึดครองพื้นที่มากว่า 3 ปี (อ่านข่าว คลิก) และเรื่องของการให้การสนับสนุนกลุ่มไอเอส ยังถูกใช้เป็นเหตุผลให้ชาติอาหรับหลายชาติตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ในปีนี้ด้วย (อ่านข่าว คลิก)
6. การเมืองโลกสุดเข้มข้นในปี 2017
แน่นอนว่าโลกนี้ไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ หรือเกาหลีเหนือ ความเคลื่อนไหวของโลกใบนี้ตลอดปีที่ผ่านมายังมีประเด็นในหลากหลายประเทศให้ติดตาม โดยเฉพาะเรื่องของเหล่าผู้นำ
เริ่มต้นกับประเด็นของราชวงศ์ต่างประเทศ ในปีนี้ราชวงศ์อังกฤษดูจะมีข่าวฮือฮามากที่สุด เมื่อเจ้าชายแฮร์รี่ จะเสกสมรสกับ 'เมแกน มาร์เคิล' ในปี 2018 นี้ (อ่านข่าว คลิก) ขณะเจ้าหญิงเคทก็ทรงพระครรภ์ทายาทพระองค์ที่ 3 (อ่านข่าว คลิก) ส่วนราชวงศ์ญี่ปุ่นก็มีข่าวใหญ่ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน 2562 (อ่านข่าว คลิก) และ‘เจ้าหญิงมาโกะ’ แถลงข่าวหมั้นพร้อมหนุ่มสามัญชน (อ่านข่าว คลิก)
มาว่ากันต่อเรื่องการเปลี่ยนตัวผู้นำ ปีนี้มีทั้งที่เปลี่ยนตามวาระปกติและวาระที่ไม่ปกติสักเท่าไหร่ เริ่มจากข่าวใหญ่กับการยึดอำนาจในซิมบับเว จากปธน.มูกาบี้ วัย 93 ปี (อ่านข่าว คลิก) ส่วนผู้นำเกาหลีใต้ก็มีอันกระเด็นออกจากเก้าอี้จากข้อหาคอร์รัปชั่น (อ่านข่าว คลิก) จนได้ผู้นำคนใหม่คือ "มูน แจอิน (อ่านข่าว คลิก)
และที่เลือกผู้นำกันตามวาระปกติก็เช่นในญี่ปุ่น ที่นายชินโสะ อาเบะ กลับมาครองเก้าอี้นายกฯ เป็นสมัยที่ 3 (อ่านข่าว คลิก) ส่วนฝั่งยุโรปก็มีเลือกตั้งกันถ้วนหน้า ทั้ง 'แองเกลา แมร์เคิล' ที่ได้กลับมานั่งเก้าอี้นายกฯเยอรมันเป็นสมัยที่ 4 (อ่านข่าว คลิก) ขณะ "เทเรซา เมย์" ก็ก้าวขึ้นครองบัลลังก์นายกฯหญิงแห่งสหราชอาณาจักร (อ่านข่าว คลิก) และคนหน้าใหม่อีกหนึ่งรายที่ได้เป็นผู้นำประเทศก็คือ "เอมมานูเอล มาครง" ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ชนะการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม (อ่านข่าว คลิก) ส่วนแดนมังกรอย่างจีนก็ยกตำแหน่งผู้นำที่มีอิทธิพลสูงสุดให้กับนายสี จิ้นผิงในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ (อ่านข่าว คลิก) และฮ่องกงก็ได้ผู้นำคนใหม่คือ 'แคร์รี่ แลม' (อ่านข่าว คลิก)
ส่วนประเทศที่ร้อนแรงตั้งแต่ยังไม่เลือกตั้งคือกัมพูชา เมื่อศาลสูงมีมติเอกฉันท์สั่งยุบพรรคฝ่ายค้าน ตัดสิทธิ์ทางการเมืองสมาชิกพรรค 5 ปี นักวิเคราะห์ชี้ทำให้ "ฮุน เซน" น่าจะชนะเลือกตั้งแบบนอนมา (อ่านข่าว คลิก) และซาอุดิอาระเบีย ที่มีการกวาดล้างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น โดยมีเจ้าชายถึง 11 พระองค์ถูกจับกุมด้วย (อ่านข่าว คลิก)
ส่วนเรื่องการขอแยกตัวก็มีถึงสามครั้งใหญ่ๆ ครั้งแรกคือการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นลำดับ ขณะที่แยกต่อมาคือสกอตแลนด์ ที่มีความพยายามขอทำประชามติแยกออกจากสหราชอาณาจักรเป็นหนที่สอง (อ่านข่าว คลิก) และที่เป็นข่าวครึกโครมคือกรณีของแคว้น "กาตาลุญญา" ที่ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวจากสเปน จนถูกรัฐบาลสเปนยึดอำนาจคืนและผู้นำกาตาลุญญาต้องลี้ภัยไปต่างแดน (อ่านข่าว คลิก)
อีกประเทศที่น่าจับตาไม่แพ้กันในเรื่องความเผ็ดร้อนทางบุคลิกของผู้นำ ก็คือฟิลิปปินส์ เมื่อประธานาธิบดี "โรดริโก ดูเตอร์เต" ประกาศกฎอัยการศึกเพื่อปราบกลุ่มไอเอสที่ยึดเมืองมาราวี (อ่านข่าว คลิก) และขู่ว่าจะประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศเพื่่อจัดการปัญหายาเสพติด (อ่านข่าว คลิก) เป็นต้น
ปิดท้ายการเมืองโลก ด้วยเอกสารลับที่ออกมาเปิดตัวให้โลกตะลึง "พาราไดซ์ เปเปอร์ส" ซึ่งระบุว่ามีคนดัง มหาเศรษฐีจากทั่วโลก รวมถึงควีนเอลิซาเบธแห่งอังกฤษซึ่งมีธุรกรรมที่อาจพัวพันกระบวนการเลี่ยงภาษี ต่อเนื่องจาก "ปานามา เปเปอร์ส" ซึ่งเคยแฉการทำงานของบริษัทสัญชาติปานามา ที่ช่วยผู้นำประเทศและนักการเมืองทั่วโลกในการฟอกเงินและเลี่ยงภาษีจนครึกโครมมาก่อนเมื่อปีที่แล้ว (อ่านข่าว คลิก)
เข้าสู่ปีใหม่ โลกยังคงหมุนต่อไปเช่นทุกๆวัน และการรู้เท่าทันโลกจะทำให้คุณเท่าทันโอกาสในทุกสถานการณ์ของชีวิต ทั้งหมดนี้คือความเคลื่อนไหวของโลกทั้งใบในปี 2017 ที่เราสรุปมาไว้ให้คุณติดตามอย่างครบถ้วน และจะเกาะติดต่อไปในปี 2018 นี้แน่นอน!
+ อ่านเพิ่มเติม