กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ป่วยใน9 กลุ่มโรค เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ไม่ควรขับรถเด็ดขาด หนึ่งในนั้นคือโรค ลมชัก
ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขได้มีข้อมูล นอกจากการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน จากกรณีเมาแล้วขับแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพบางอย่างอาจส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่และทำให้เกิดอุบัติเหตุ จากข้อมูลพบว่า โรคและปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการขับขี่และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มีดังนี้
1.โรคที่เกี่ยวกับสายตา ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ขับรถในเวลากลางคืนแล้วมองไม่ชัด ส่วนคนเป็นต้อหินทำให้มุมสายตาแคบลง มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี และมองเห็นแสงไฟบอกทาง หรือไฟหน้ารถพร่าได้
2. โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มาก มีอาการหลงลืม ขับรถหลงทางในบางครั้ง การตัดสินใจช้าและสมาธิไม่ดี
3. โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้แขนขาไม่มีแรงขับรถ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ บางคนมีอาการเกร็งจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรก บางคนประสานงานแขนกับขาไม่ดี หรือสมองสั่งให้แขนขาทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง
4. โรคพาร์กินสัน มีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี
5. โรคลมชัก เมื่อมีอาการชักจะเกร็ง และกระตุกไม่รู้สึกตัว
6. โรคไขข้อ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ ข้อเท้าอักเสบปวดจากโรคเก๊าต์ ทำให้ขยับลำบาก โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบาก หรือมีอาการปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อม ทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน
7. โรคหัวใจ อาจมีอาการแน่นหน้าอก เมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด
8. โรคเบาหวาน ทำให้มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง
9. การกินยา ซึ่งบางคนกินยาหลายชนิด บางชนิดมีผลทำให้ง่วงซึม หรือง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ไม่ดี
ข้อมูลจากทางกรมการขนส่งทางบก สำหรับบุคคลที่จะทำการขออณุญาตยื่นขอใบขับบี่รถส่วนบุคคลนั้นจะต้องไม่เป็นโรคที่ระบุตามนี้ 1.ไม่เป็นบุคคลพิการจนเห็นว่าไม่สามารถขับขี่รถยนต์ได้ , 2.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต และ3.ไม่เป็นโรคที่แพทย์เห็นว่าไม่สามารถขับขี่รถยนต์ได้
เหตุนี้การสอบใบขับขี่รถส่วนบุคคลจึงจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ เพื่อเป็นการยืนยันว่าบุคคลที่ยื่อขอใบอณุญาตขับขี่สามารถขับขี่รถบนท้องถนนได้จริง แต่สำหรับบุคคลที่จะขอใบอณุญาตขับขี่รถสาธารณะจะมีข้อห้ามดังนี้
1.ไม่เป็นโรคติดต่อเป็นที่รังเกียจ
2.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
3.ไม่ติดสุรา ยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
สำหรับประชาชนทั่วไปการให้ความรู้ เรื่องโรคมีผลต่อการขับขี่ ต้องระมัดระวังและให้หลีกเลี่ยงต่อการขับขี่ยานพาหนะ การดื่มสุราและง่วงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ รวมถึงประเด็นผู้สูงอายุ การเสื่อมสภาพของอวัยวะของร่างกายและโรคประจำตัวที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งก็ส่งผลต่อการขับขี่ยานพาหนะของผู้ขับขี่ได้เช่นกัน