ชาวสวนยางหนองคาย วอนรัฐช่วยแก้ปัญหาบริษัทใหญ่ไม่รับซื้อยาง
logo ข่าวอัพเดท

ชาวสวนยางหนองคาย วอนรัฐช่วยแก้ปัญหาบริษัทใหญ่ไม่รับซื้อยาง

ข่าวอัพเดท : เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ จ. หนองคาย วอนหน่วยงานรัฐหารือกับโรงงานแก้ปัญหาบริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศไม่รับซื้อยางก้อนถ้วยจากภาคอีสาน พร้อมหั ยางพารา,กรดซัลฟิวริก,หนองคาย,รัฐบาล,รับซื้อ

9,702 ครั้ง
|
31 ส.ค. 2559
เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ จ. หนองคาย วอนหน่วยงานรัฐหารือกับโรงงานแก้ปัญหาบริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศไม่รับซื้อยางก้อนถ้วยจากภาคอีสาน พร้อมหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทนกรดซัลฟิวริก
 
นายวิทยา กลางรักษ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา อ.สระใคร จ.หนองคาย กล่าวถึง การประกาศไม่รับซื้อยางก้อนถ้วยจากภาคอีสานของบริษัทผู้ผลิตยางยักษ์ใหญ่ ว่าจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรอย่างแน่นอน เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราภาคอีสานส่วนใหญ่ใช้กรดซัลฟิวริกหยดให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน เนื่องจากเป็นความต้องการของทางโรงงานผู้รับซื้อ ซึ่งก่อนหน้านั้นทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้แนะนำให้เกษตรกรใช้กรดฟอร์มิก เกษตรกรก็ใช้ตามแต่เมื่อนำไปขายโรงงานกลับไม่รับซื้ออ้างว่ายางนิ่มเกินไป ทำให้เกษตรกรต้องหันมาใช้กรดซัลฟิวริกแทน ซึ่งเมื่อหยดกรดซัลฟิวริกลงในถ้วยยางก็จะจับตัวเป็นก้อนได้ทันทีภายใน 1 นาที โรงงานก็ชอบใจและรับซื้อเรื่อยมา แต่พอเกิดปัญหาบริษัทยางยักษ์ใหญ่ปฏิเสธการซื้อสาเหตุหลักจากการใช้กรดซัลฟิวริก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางแก้ไขให้เกษตรกร ที่พร้อมจะทำตามเพื่อให้สามารถขายผลผลิตได้ และเชื่อว่าจะมีแนวทางแก้ปัญหาที่ดีได้
 
ขณะเดียวกัน นายวิทยา ก็ยังใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักเองจากการนำเปลือกสับปะรด ผสมกากน้ำตาล น้ำ และขี้เถ้า หมัก 2 สัปดาห์ จะได้น้ำหมักที่นำไปหยอดในถ้วยยางหลังการกรีด ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที ก็จะจับตัวแข็งเป็นก้อน คุณภาพของยางไม่แตกต่างจากการใช้กรดซัลฟิวริก โรงงานก็รับซื้อ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร และยังช่วยให้หน้ายางไม่เสียเร็ว ต้นยางมีอายุตามรอบคือ 20-25 ปี ไม่เสื่อมสภาพเร็วเหมือนกับการใช้กรดซัลฟิวริก ซึ่งจากการใช้น้ำหมักชีวภาพกับสวนยางพาราขนาดกว่าร้อยไร่แล้วได้ผลดี จึงได้แนะนำให้ชาวสวนยางเพื่อนบ้านได้ทดลองใช้เช่นเดียวกัน และขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางพารา อ.สระใคร ส่วนใหญ่หันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทนกรดซัลฟิวริกมากขึ้นเท่าตัว.
 
 
 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง