ปลัด ศธ.เชื่อระบบเอ็นทรานซ์ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ชี้แอดมิชชั่นไม่ได้ช่วยให้เด็กเก่งขึ้น
logo ข่าวอัพเดท

ปลัด ศธ.เชื่อระบบเอ็นทรานซ์ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ชี้แอดมิชชั่นไม่ได้ช่วยให้เด็กเก่งขึ้น

ข่าวอัพเดท : ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เชื่อ การกลับมาใช้ระบบเอ็นทรานซ์ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการเข้าโรงเรียนกวดวิชา เพราะผลที่ผ่านมาของก ศธ,เอ็นทรานซ์,ข้อสอบ,แอดมิชชั่น,เหลื่อมล้ำ,สอบ

1,818 ครั้ง
|
30 ส.ค. 2559
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เชื่อ การกลับมาใช้ระบบเอ็นทรานซ์ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการเข้าโรงเรียนกวดวิชา เพราะผลที่ผ่านมาของการสอบแอดมิชชั่นไม่ได้ช่วยให้เด็กเก่งขึ้น
 
นายแพทย์กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าสำหรับการสอบเอ็นทรานซ์ใหม่ที่จะมีขึ้นในปีการศึกษา 2561 เมื่อนักเรียนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งจะอยู่ประมาณกลางเดือนมีนาคม หลังจากนั้นจะเปิดสอบทั้งการสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ GAT การสอบวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT และการสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ซึ่งเป็นวิชาที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยจะใช้เวลาในการจัดสอบวิชาต่างๆ ประมาณ 6 สัปดาห์ - 2 เดือน โดยที่จะไม่ยอมให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกห้วงเวลานี้ เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของนักเรียน ทั้งนี้หลังจากเด็กทราบคะแนนของตนเองแล้ว จะเปิดให้เด็กเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียนได้ 4 อันดับ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อแจ้งกลับไปยังเด็กว่าได้รับการคัดเลือกกี่แห่ง และจะเลือกเรียนตามลำดับที่สอบได้หรือไม่ ซึ่งหากเด็กยังไม่พอใจในคณะ/สาขาที่สอบได้ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริ่งเฮาส์รอบที่ 2 ได้ 
 
ทั้งนี้ หากเด็กเลือกเข้าเรียนในคณะที่สอบได้ในรอบแรกแล้วจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการเคลียริ่งเฮาส์รอบที่ 2 ทันที และหากเดินหน้าใช้ระบบรับตรงกลางร่วมกัน จะไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยไปเปิดรับตรงเอง หากจะให้เปิดรับก็ต้องมีเหตุผลมาชี้แจงให้กระทรวงศึกษาธิการรับทราบ  ซึ่งการเอ็นทรานซ์ใหม่นี้จะคล้ายกับระบบเอ็นทรานซ์เดิม แต่ระบบนี้เด็กจะรู้คะแนนล่วงหน้า เมื่อรู้คะแนนของตัวเอง เด็กก็จะสามารถประมาณตนได้ว่าจะไปแข่งกับใคร ในหลักสูตรใด 
 
นายแพทย์กำจร กล่าวด้วยว่า ระบบการสอบแบบนี้เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเดินทางไปสอบตามสถาบันต่าง ๆ และการเข้าโรงเรียนกวดวิชา ที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าระบบเดิมไม่ได้ทำให้เด็กเรียนเก่งขึ้น  ส่วนข้อสอบนั้นก็เป็นไปตามมาตรฐานเพราะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของสาขาต่าง ๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้ร่วมออกข้อสอบ 
 
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์วิษณุ อรรถวานิช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความเห็นว่า ระบบเอ็นทรานซ์ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการจะมีการนำมาใช้ คล้ายกับระบบแอดมิชชั่น แต่จะปิดโอกาสการรับตรงของมหาวิทยาลัย ซึ่งหากมองในมุมของนักเรียนเด็กจะมีโอกาสทางเลือกน้อยลง แต่ก็เป็นข้อดีในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำในการเดินทางไปสอบของนักเรียน แต่ข้อดีของการรับตรงของสถาบันการศึกษาทางคณะหรือภาควิชานั้นๆ สามารถออกแบบข้อสอบให้ตรงกับความถนัดความสามารถที่ภาควิชาหรือคณะนั้นต้องการ แต่ระบบเอ็นทรานซ์ใหม่ข้อสอบภาพรวม อาจไม่ได้สะท้อนความต้องการของภาควิชา เป็นประเด็นสำคัญ แต่การสอบตรงก็มีข้อเสียเนื่องจากเด็กไปสอบไว้หลายที่สุดท้ายก็เลือกที่เรียนที่เดียว ซึ่งเป็นการทำลายโอกาสของเด็กคนอื่น แต่ข้อดีของระบบแอดมินชั่นกลางจะสามารถเลือกที่นั่นที่เดียว 
 
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายต้องชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ภาครัฐอย่างเดียว แต่ก็ต้องดูความต้องการของสถาบันและนักเรียนด้วย รวมถึงงานวิจัยที่ถูกต้องตามหลักการว่าผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นระบบเอ็นทรานซ์กับระบบแอดมิชชั่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผลสัมฤทธิ์ต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากทำได้การขับเคลื่อนระบบการศึกษาที่มันสอดคล้องกับหลักฐานเชิงประจักษ์