กรณีคนร้ายก่อเหตุข่มขืนชิงทรัพย์นักศึกษาสาวภายในห้องน้ำรวมของเอกชนย่านบางนา ซึ่งเป็นจุดที่ค่อนข้างแคบและทึบ นายไพโรจน์ สันตนิรันดร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. เผยว่า กทม.ไม่มีอำนาจสั่งรื้อห้องน้ำและอาคารดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามจะประสานให้ฝ่ายโยธาสำนักงานเขตบางนาเข้าไปตรวจสอบ เพื่อดูว่าฝ่าฝืนกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารหรือใช้อาคารถูกประเภทและมีการดัดแปลงหรือไม่
สำหรับในพื้นที่ กทม. มีห้องน้ำสาธารณะมากกว่า 4,000 แห่ง แบ่งออกเป็น 12 ประเภทตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ สถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว สถานศึกษา สถานีขนส่ง ศาสนสถาน ตลาดสด สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลง โรงพยาบาล ร้านอาหาร ห้องสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า ส้วมริมทาง และสวนสาธารณะ ซึ่งแต่ละจุดเจ้าของพื้นที่จะเป็นผู้ดูแลเองทั้งเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย ส่วน กทม. มีหน้าที่ตรวจสอบและประเมินตามที่ประชาชนร้องเรียน
ทั้งนี้ กทม. ได้แบ่งการควบคุมสุขลักษณะห้องส้วมสาธรณะเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ลักษณะใดที่มี พ.ร.บ.การสาธาณะสุข พ.ศ. 2535 ควบคุมอยู่ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ 2. กรมอนามัยได้ร่วมกับ กทม. ยกระดับห้องส้วมให้สูงกว่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ติดตั้งแอร์และปรับทัศนียภาพให้สวยงาม ผู้ใช้บริการต้องได้รับความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งห้องน้ำสาธารณะจะต้องไม่เปลี่ยว มีแสงสว่างเพียงพอ มีคนดูแล ส่วนห้องน้ำคนพิการจะมีปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
+ อ่านเพิ่มเติม