คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เรื่อง ‘น่ากลัว’ แต่เป็นเรื่อง ‘น่าเตรียม’
logo ข่าวอัพเดท

คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เรื่อง ‘น่ากลัว’ แต่เป็นเรื่อง ‘น่าเตรียม’

ข่าวอัพเดท : อินโฟกราฟิกชิ้นนี้ เราเพียงอยากบอกทุกท่านว่า ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นเรื่องน่าเตรียม แม้ว่า ความตายจะถูกมองว่าเป็ ความตาย,แจ้งตาย,ฌาปนกิจ,งานศพ,ค่าใช้จ่ายงานศพ,การตาย,ตาย,ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวสด,ข่าวเด็ด,ข่าวด่วน,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ดูย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ฝนฟ้าอากาศ,ทิน โชคกมลกิจ

15,271 ครั้ง
|
13 ก.ย. 2567
         อินโฟกราฟิกชิ้นนี้ เราเพียงอยากบอกทุกท่านว่า “ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นเรื่องน่าเตรียม” แม้ว่า ความตายจะถูกมองว่าเป็นเรื่องอัปมงคลในหลายๆ บ้าน แต่การเตรียมใจทั้งคนที่อยู่และคนที่จากไปนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้วันที่ต้องจากไปจะได้ไม่มีใครต้องเป็นทุกข์
 
-1-
 
         บางเหตุการณ์ก็อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้คาดคิด เมื่อจู่ๆ ความตายคลืบคลานมาหาเราในแบบที่ไม่ทันได้ตั้งตัว หากวันหนึ่งคนที่คุณรักต้องลาจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ สิ่งแรกที่เราต้องทำคืออะไร ? วินาทีแรกคุณอาจจะช็อก ตั้งคำถามกับตัวเองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือฝันไป ถกไม่เถียง Scoop ขอพาคุณไปดูคู่มือก่อนตายฉบับเร่งรัด เพื่อให้คุณเข้าใจและรับมือกับ ‘ความตาย’ ได้ง่ายขึ้น เมื่อคนในครอบครัวของคุณเสียชีวิตลง ขอแนะนำว่าสิ่งแรกที่คุณควรทำคือ ‘การแจ้งตาย’ เพราะถ้าหากไม่มีการแจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชม. หลังจากเสียชีวิต คุณจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย ไม่เกิน  1,000 บาท ขั้นตอนง่ายมาก เพียงแค่นำเอกสารเหล่านี้ไปติดต่อกับนายทะเบียนในท้องที่ของคุณ
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
         อย่างไรก็ดี ถ้าพื้นที่ที่พบผู้เสียชีวิตมีความยากลำบากต่อการเดินทางหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทางการจะยืดหยุ่นระยะเวลาการแจ้งตายให้ภายใน 7 วัน แต่ถ้าเกินกว่าที่แจ้งไว้จะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท เช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นการตายผิดธรรมชาติ จะต้องมีหลักฐานการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนยื่นต่อนายทะเบียน โดยเมื่อได้ทำการยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะนำชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน และดำเนินการออกใบมรณบัตรให้กับผู้แจ้งตาย เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน ‘การแจ้งตาย’
 
-2-
 
         เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนตามกฎหมายข้างต้นแล้ว ต่อไปก็เข้าสู่ช่วงขั้นตอนพิธีกรรมทางศาสนา โดยในที่นี้จะขอพูดถึงพิธีกรรมหลังความตาย หรือ การจัดงานศพในศาสนาพุทธ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยก็มีรูปแบบการจัดงานที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างกันไปในบางขั้นตอน แต่ไม่ว่าจะเป็นงานศพในพื้นที่ไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายด้วยกันทั้งสิ้น คู่มือฉบับนี้จึงได้รวบรวมค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ของการจัดงานศพอย่างละเอียด ผ่านการค้นหาข้อมูลและเก็บรวบรวมจากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยมีประสบการณ์การจัดงานศพ รวมถึงจากคำสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน เพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นอินโฟกราฟิก โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการเดินเอกสารไปจนถึงพิธีลอยอังคาร เป็นอันสิ้นสุดพิธีกรรมงานศพ 
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
         จากอินโฟกราฟิกข้างต้น พบว่าการจัดงานศพ 1 คืน เริ่มต้นที่ราวๆ 43,290 บาท ไปจนถึง 185,690 บาท อย่างไรก็ตามแต่ จำนวนเงินดังกล่าวนี้เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น อาจมีรายละเอียดค่าใช้บางอย่างที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมประเพณี และการที่เจ้าภาพจะจัดงาน 3 คืน 5 คืน หรือ 7 คืน นั่นก็ขึ้นกับสถานะทางการเงินและความสมัครใจของครอบครัวด้วย
 
         หากดูค่าใช้จ่ายงานศพที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น อาจสะท้อนให้เห็นค่านิยมบางอย่างในสังคมไทย ที่นำมาสู่คำว่า “คนตายขายคนเป็น” เพราะหากสุดท้ายแล้วลูกหลานไม่ได้มีเงินมากพอที่จะจัดงานศพอย่างใหญ่โต แต่ยังดันทุรังจะแบกรับความหน้าใหญ่ใจโตของครอบครัวเอาไว้ ก็อาจกลายเป็นว่าแม้งานศพจะจบลงไป แต่ ‘คนเป็น’ ต้องกลับกลายเป็นหนี้สินจากการจัดงานศพให้ ‘คนตาย’ เพียงครั้งเดียว แต่ในสถานการณ์บางอย่างก็อาจเร่งเร้าให้พิธีงานศพต้องถูกจัดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้บางครอบครัวไม่สามารถที่จะจัดงานศพให้กับผู้เสียชีวิตที่ติดโควิดได้ ไม่มีแม้การแต่เปิดโลงครั้งสุดท้ายเพื่อบอกลากัน ทำได้เพียงให้เจ้าหน้าที่ยกศพขึ้นเมรุเผาเท่านั้น 
 
         ทั้งนี้ทั้งนั้น การจัดงานศพให้กับผู้ที่จากโลกนี้ไป ไม่ว่าจะคืนเดียวจบ หรือ 7 วัน 7 คืน สิ่งเหล่านี้คือวิธีสุดท้ายที่ ‘คนเป็น’ จะทำได้ เพื่อแสดงความรักและอาลัยต่อผู้ที่จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ 
 
-3-
 
        เมื่อถึงคราวที่คนในครอบครัวหรือตัวคุณเองต้องเสียชีวิตลง แต่คนที่อยู่ข้างหลังก็ยังต้องดำเนินชีวิตต่อไป สิ่งที่ ‘คนตาย’ อาจจะพอทิ้งไว้ให้ ‘คนเป็น’ ได้ คงเป็นข้าวของและสมบัติต่างๆ ที่สร้างไว้ก่อนจากไป ในขั้นตอนนี้จึงขอพูดถึง ‘มรดก’ สิ่งเจ้าปัญหาที่มักสร้างความร้าวฉานให้ครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง ยิ่งถ้าหากไม่มีการทำพินัยกรรม ความอลวนอาจจะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นไปอีก แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมาย ผู้ที่จะได้รับทรัพย์สินมรดกของผู้ตายคือใครบ้าง ถกไม่เถียง Scoop จะมากาง Family Tree ให้ทุกท่านได้ดูกัน 
 
         ผู้ที่มีสิทธิใน ‘มรดก’ ของผู้ตายมีอยู่ 2 ประเภท คือ ทายาทโดยพินัยกรรม และ ทายาทโดยธรรม กรณีที่ผู้ตายมีการทำพินัยกรรมเอาไว้ล่วงหน้า การจัดการมรดกจะไม่เป็นปัญหายุ่งยากอีกต่อไป เพราะข้อความในพินัยกรรมจะเป็นตัวชี้ขาดว่าทรัพย์สินนั้นจะถูกยกให้แก่ใคร และผู้ตายสามารถยกมรดกนั้นให้แก่ใครก็ได้ และถึงแม้จะมีการเขียนพินัยกรรมเพื่อพยายามลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัว แต่บางครั้งก็นำไปสู่การก่อก่อสงครามในกลุ่มเครือญาติเพื่อแย่งชิงมรดกกัน แต่กรณีที่เป็นปัญหาจริงๆ คือการที่ไม่ได้มีการเขียนพินัยกรรมนั่นเอง เนื่องจากไม่มีคำสั่งที่จะช่วยชี้ขาดว่ามรดกทรัพย์สินทั้งหมดจะตกไปอยู่ที่ใครบ้าง ดังนั้น จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมาย ซึ่งเราเรียกผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกกรณีนี้ว่า ‘ทายาทโดยธรรม’ แบ่งเป็น 6 ลำดับขั้น ดังนี้
 
1. ผู้สืบสันดาน อันได้แก่ บุตรตามกฎหมาย บุตรนอกกฎหมาย (ที่มีการเซ็นรับรองบุตร) และบุตรบุญธรรม
2. บิดา มารดา (ที่ชอบด้วยกฎหมาย)
3. พี่น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้อง ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
 
         ส่วนคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเทียบเท่ากับทายาทลำดับที่ 1 โดยคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะแต่งงานอยู่กินกันมา 10 ปี แต่หากไม่มีการจดทะเบียนสมรส มรดกก็จะตกไปอยู่ที่ทายาทตามกฎหมายทันที

ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร

โดยการแบ่งมรดกนั้น จะถูกแบ่งให้กับทายาทลำดับที่ 1 และ 2 ในจำนวนเท่าๆ กัน ส่วนทายาทลำดับที่ 3-6 จะไม่มีสิทธิได้รับมรดกนั้น เว้นเสียแต่ว่าทายาทลำดับก่อนหน้าเสียชีวิตไปหมดแล้ว เหล่าทายาทสามารถจัดการมรดกได้ ด้วยการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกกับพนักงานอัยการเพื่อจัดการกองมรดกแทนผู้ตาย ซึ่งเมื่อไม่มีการทำพินัยกรรมเอาไว้ แล้วอะไรคือทรัพย์สินที่เหล่าทายาทจะได้รับ ? ถกไม่เถียง Scoop ขอพาทุกท่านมาดูรายละเอียดสินทรัพย์ ‘มรดก’ ที่สักวันหนึ่งอาจตกเป็นของท่านในอนาคต !
 
1. สินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด เงินฝาก ทองคำ เป็นต้น
2. สินทรัพย์เพื่อการลงทุน เช่น ของสะสมที่มีมูลค่า ตราสารหนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมต่างๆ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
3. สินทรัพย์ส่วนตัว เช่น บ้าน คอนโด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ประกันชีวิต ประกันกลุ่ม ประกันสังคม สิ่งของทุกอย่างของเจ้าของมรดก เป็นต้น
 
ข่าวอัพเดท : คู่มือก่อนตาย: เพราะความตายไม่ใช่เร
 
         ในกรณีของสินทรัพย์ประเภทประกัน หากญาติของผู้เสียชีวิตไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตทำประกันที่ไหน ประเภทอะไร เอาไว้บ้าง สามารถไปตรวจสอบข้อมูลได้ที่ สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. เพื่อตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยหมด ส่วนกรณีสินทรัพย์ประเภทเงินฝากบัญชีธนาคาร ถ้าหากบัญชีนั้นๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 1 ปี ธนาคารจะส่งจดหมายมาแจ้งเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝาก หรือถ้าต้องการทราบในทันที ทายาทสามารถแต่งตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อขอตรวจสอบกับธนาคารที่คาดว่าผู้เสียชีวิตได้ทำธุรกรรมการเงินเอาไว้
 
         ในทางกลับกัน ถ้าเราอยากวางแผนชีวิตเผื่อไว้สำหรับคนในครอบครัว หากวันหนึ่งเราจากไปอย่างกะทันหัน เราจะทำอย่างไรให้คนในครอบครัวรู้ว่าเรามีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง ?  โค้ชหนุ่ม - จักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ โค้ชหนุ่ม Money Coach ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน ได้ให้สัมภาษณ์กับ ถกไม่เถียง Scoop ว่า คนเราควรจัดทำ ‘บัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน’ ของตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการเช็กสถานะทางการเงินของตนเอง และยังทำให้ตนเองสามารถจัดการเสถียรภาพทางการเงินให้คงสภาพคล่องไปได้ทุกปี โดยแบ่งตารางบัญชีออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สิน และ หนี้สิน และเพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพมากที่สุด ถกไม่เถียง Scoop ได้จัดทำตาราง ‘บัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน’ โดยสามารถดูตัวอย่างและดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้ได้ที่นี่ ตารางบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
 
-4-
 
         คู่มือก่อนตายเล่มนี้ มีหน้าที่เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับคุณผู้อ่านเพื่อหวังว่าคุณจะเข้าใจและรับมือกับ ‘ความตาย’ ได้ง่ายมากขึ้น แม้ว่าการเตรียมใจจะเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่คู่มือเล่มนี้ไม่สามารถช่วยได้โดยตรง แต่การเตรียมพร้อมในด้านอื่นๆ ก็อาจที่จะช่วยลดความกังวลและทำให้คุณก้าวต่อไปได้ง่ายขึ้น และอย่างที่บอกไว้ในชื่อตอน เพราะความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นสิ่งที่เราควรเตรียมพร้อมรับมือ ผ่านการทำความเข้าใจและวางแผนล่วงหน้า เพื่อที่จะสามารถเผชิญหน้ากับความตายได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น.

 

ทีมถกไม่เถียง Scoop