logo เงินทองของจริง

อัปเดตค่าธรรมเนียม พร้อมแจกสูตรคำนวณ “การโอนบ้าน” 2567 | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : สำหรับคนที่กำลังจะซื้อ-ขายบ้าน หรือส่งต่อบ้านให้กับลูก ต้องเสียค่าะรรมเนียมการโอนบ้าน ซึ่งในแต่ละปีก็จะเห้นได้ว่ามีข้อกำหนดที่ต่ ธรรมเนียมการโอนบ้าน,การโอนบ้าน,สูตรคำนวณ การโอนบ้าน

14,356 ครั้ง
|
22 พ.ค. 2567
สำหรับคนที่กำลังจะซื้อ-ขายบ้าน หรือส่งต่อบ้านให้กับลูก ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน ซึ่งในแต่ละปีก็จะเห้นได้ว่ามีข้อกำหนดที่ต่างกันออกไป
 
ในขั้นตอนของการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ และหนึ่งในค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้นั่นคือ ค่าธรรมเนียมในการโอนบ้าน ที่จะมีวิธีคิดแตกต่างกันออกไปตามราคาซื้อ-ขายบ้าน และขึ้นอยู่กับมาตรการที่รัฐกำหนดในแต่ละปีด้วย
 
โดยในปี 2567 มีกำหนดค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 1% ของราคาประเมิน (จากปกติ 2%) โดยอัตรานี้เป็นมาตรการปรับลดเพื่อกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ช่น ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท แต่มีราคาประเมิน 2 ล้านบาท มีค่าธรรมเนียมการโอน 1% จะต้องเตรียมค่าธรรมเนียมในการโอนจำนวน 20,000 บาท โดยปกติแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน จำนวน 40,000 บาท
 
จากการคำนวณ จะเห็นได้ว่ามาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนนี้ ทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงได้ครึ่งหนึ่ง ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
 
แต่สำหรับผู้ที่จะได้ลดค่าธรรมเนียมในปี 2567 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- ซื้อขายที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือมือสอง ได้ทั้งบ้านเดี่ยว ห้องชุด บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์
- ราคาซื้อขาย ราคาประเมิน และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท
- การได้ลดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะต้องทำการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน
 
ค่าธรรมเนียมโอนประเภทจดทะเบียนให้ ในกรณีที่เป็นเครือญาติ
 
สำหรับการโอนบ้านหรืออสังหาต่าง ๆ ถ้าหากเป็นการโอนให้กันในเครือญาติ จะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างจากปกติ และมีการคิดที่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ด้วย
 
ซึ่งการโอนให้บุคคลในครอบครัว จะมีการคิดค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน ได้แก่
 
1. โอนให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บิดา-มารดาจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 
2. โอนให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดา-มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แยกเป็น 2 กรณีดังนี้
2.1  มารดาโอนให้บุตร
2.2 บิดาโอนให้บุตร ต้องจดทะเบียนรับรองบุตรพร้อมแสดงเอกสารประกอบการโอน
 
3. โอนให้คู่สมรสตามกฎหมาย โดยเป็นการโอนระหว่างสามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
 
ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์
ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือ ค่าจดจำนอง จะเรียกเก็บเมื่อ ผู้ซื้อมีการซื้อบ้านหรืออสังหาอื่นๆ ด้วยการขอสินเชื่อจากธนาคาร (สำหรับผู้ที่ซื้อด้วยเงินสดจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมนี้) โดยปกติจะคิดอัตรา 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ในปี 2567 มีการปรับลดเป็น 0.01% ตามเงื่อนไข
 
โดยอัตราที่ปรับลดนี้ จะมีเงื่อนไข คือ
- เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือมือสอง ได้ทั้งบ้านเดี่ยว ห้องชุด บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์
- วงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ต้องทำการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน เช่น ได้รับอนุมัติสินเชื่อบ้านวงเงิน 2 ล้านบาท เสียค่าจดจำนอง 200 บาท (คิดอัตราปรับลด 0.01% ของวงเงินอนุมัติสินเชื่อ) ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องเสียค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินอนุมัติสินเชื่อ จำนวน 20,000 บาท
 
ค่าอากรแสตมป์
ร้อยละ 0.5% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมิน (คิดจากราคาที่สูงกว่า) ในกรณีที่ผู้ขายต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ต้องชำระค่าอากรแสตมป์อีก
 
ตัวอย่างการคำนวณ ค่าอากรแสตมป์ 
บ้านมีราคาประเมิน 2.5 ล้านบาท แต่ราคาขาย 3.5 ล้านบาท จะยึดจากราคาขาย เพราะราคาสูงกว่า ค่าอากรแสตมป์ ที่ต้องจ่ายจะมียอด 3,500,000 x 0.5% = 17,500 บาท
 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เรียกเก็บตามหลักเกณฑ์ของกรมที่ดิน ขึ้นอยู่กับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นและจำนวนปีที่ถือครองง
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 

รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/zT4G00UGx4M?feature=shared