คงเคยได้ยินกระแสของร้านบุฟเฟต์ชื่อดังร้านหนึ่งที่นอกจากความร่อยและคุ้มค่ากับอาหารแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนพูดถึงกันนั่น คือ เพลงที่เปิดสร้างบรรยากาศภายในร้านทำให้กลายเป็นกระแส ตั้งข้อสงสัยหยอกล้อกันว่าทางร้านมีแต่เพลย์ลิสต์เพลงเศร้ารึเปล่า
ประเด็นที่สงสัยกันขำ ๆ แท้จริงแล้ว เพลงและบรรยากาศภายในร้านนับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวประกอบสำคัญของตัวร้าน และแบรนด์ของร้าน โดยเพลงที่ใช้สร้างบรรยากาศจะถูกออกแบบอย่างพิถีพิถันตั้งแต่ เพลย์ลิสต์ แนวเพลง ความดังเบา วัสดุที่สะท้อนเสียงล้วนถูกนำมาคิดเพื่อให้เสียงและเพลงในร้านมี ความหมายมากที่สุด
อ้างอิงผลลัพธ์จากงานวิจัยจาก HUI Research ที่มีการไปเก็บข้อมูลของร้านอาหาร 16 แห่ง เพื่อนำมาวิเคราะห์กับยอดธุรกรรมภายในร้านกว่า 2,000,000 รายการ เพื่อหาว่าจริง ๆ แล้ว เพลงมีผลต่อ ยอดขาย ผลสำรวจจาก HUI Research ได้ระบุว่า การใช้เพลงที่เหมาะสมนั้น จะช่วยเพิ่มยอดขายมากถึง 15% กลับกัน ถ้าหากแบรนด์เลือกใช้เพลงแบบผิด ๆ ก็อาจส่งผลให้ยอดขายลดลงได้กว่า 4% เลยทีเดียว
การเลือกใช้เพลงในหน้าร้านนั้นมีอยู่ 3 ประเภท หลัก ๆ ได้แก่
1. เพลง แมส (เพลงที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น)
2. เพลงไม่แมส แต่เข้ากับคอนเซปต์ของร้าน (เพลงนอกกระแส)
3. ไม่เปิดเพลงเลย เพลงแมส มีข้อดี คือ ช่วยดึงดูดลูกค้าให้อยู่ในร้านได้นานมากยิ่งขึ้น แต่ผลเสีย คือ เพลงแมส เป็นเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักและร้องตามได้ ทำให้ลูกค้าสนใจในตัวสินค้าน้อยลงส่งผลให้ ลูกค้าซื้อสิ้นค้าน้อยลง และมีโอกาสที่จะอยู่ในร้านนานมากขึ้น ซึ่งคงไม่มีธุรกิจร้านใดที่อยากจะให้ลูกค้าอยู่นานขึ้นแต่กลับซื้อสินค้าน้อยลง เว้นแต่ “ร้านบุฟเฟต์” เพราะร้านประเภทนี้มักจะกำหนดเวลาการใช้บริการของลูกค้าอยู่แล้ว
ดังนั้นหากมีเพลงที่ทำให้ลูกค้าสั่งอาหารน้อยลงจะยิ่งช่วยให้กำไรเฉลี่ยของร้านเพิ่มได้ง่ายขึ้น อีกทั้งถ้าเพลงแมสนั้นเป็นเพลงเศร้าหรือเพลงอกหักที่มีผลการศึกษาจาก University of Lincoln ระบุว่า “คนที่ฟังเพลงเศร้านั้น จะกินได้น้อยกว่าคนทั่วไป”
เพลงที่ไม่ Mass แต่เข้ากับคอนเซปต์ของร้าน ผลสำรวจบอกว่า ร้านที่เลือกเปิดเพลงแบบนี้จะมียอดขาย “เพิ่มขึ้น” แต่ลูกค้าก็จะลุกออกจากร้าน “เร็วขึ้น” เช่นเดียวกัน ซึ่งมันเหมาะมากกับการนำมาใช้กับธุรกิจที่ต้องอาศัยการใช้ Turnover Rate ลูกค้าสูง ๆ ในการสร้างรายได้ อย่างเช่นร้านอาหารและร้านกาแฟ เพราะลูกค้าจะนั่งในร้านสั้นลง แต่มีโอกาสที่สั่งสินค้ามากขึ้นหรือแพงขึ้น
เป็นเหตุผลว่า เวลาเราไปร้าน Starbucks เราถึงมักได้ยินแต่ “เพลงที่เราไม่รู้จัก” เพราะจริง ๆ แล้ว Starbucks เองตั้งใจให้เป็นแบบนั้น ถึงกับต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสร้างเพลย์ลิสต์เพลงที่จะเอาไว้เปิดในร้านของตัวเองโดยเฉพาะ
และสุดท้าย การไม่เปิดเพลงเลย ซึ่งผลลัพธ์ออกมาว่า ร้านที่ไม่เปิดเพลงเลย สามารถทำยอดขายได้มากกว่าร้านที่เปิดเพลง Mass ได้มากถึง 4% โดยอาจเป็นเพราะลูกค้ามีการโฟกัสไปที่ตัวสินค้ามากขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับแบรนด์เล็ก ที่ยังไม่มีทุนไปซื้อลิขสิทธิ์เพลง โดยอาจจะนำงบประมาณในส่วนนั้น ไปพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้น แล้วค่อยมาใส่ใจเรื่องเพลงทีหลัง
อย่างไรก็ตามคุณอาจจะคิดอีกมุมว่าการเปิดเศร้าจะยิ่งทำให้ความรู้สึกเราดิ่งจนกินอาหารตรงหน้าแบบไม่ยั้งทดแทนความรู้สึกในหัวให้ได้รับการเติมเต็ม แต่การศึกษาพยายามบอกให้เรามีสติหากรู้สึกเศร้าเราเองอาจเกิดพฤติกรรมการกินแบบฉุดไม่อยู่ ลองเข้าร้านชาบูฟังเพลงเศร้าปล่อยใจเหมือนไปนั่งร้านเหล้าบางทีเราอาจหยุดจุ่มเนื้อตรงหน้าลงก็เป็นได้