logo เงินทองของจริง

ทรัพย์สิน-หนี้สิน ก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส ต้องแบ่งกันอย่างไร ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ไขคำตอบเรื่อง ทรัพย์สิน-หนี้สิน ก่อนและหลังจดทะเบียนสมรสที่เรียกว่า สินส่วนตัว สินสมรส-หนี้ส่วนตัว หนี้สมรส หากจดทะเบียนสมรสกันแ ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,แต่งงาน,สินส่วนตัว,สินสมรส,หนี้ส่วนตัว,หนี้สมรส,แก้หนี้,วิธีแก้หนี้,วางแผนเรื่องเงิน,วิธีวางแผนเรื่องเงิน,วางแผนการเงิน,วิธีวางแผนการเงิน

11,373 ครั้ง
|
07 ก.ย. 2566
ไขคำตอบเรื่อง ทรัพย์สิน-หนี้สิน ก่อนและหลังจดทะเบียนสมรสที่เรียกว่า สินส่วนตัว สินสมรส-หนี้ส่วนตัว หนี้สมรส หากจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ทรัพย์สินหนี้สินเหล่านี้จะแบ่งสัดส่วนอย่างไร การเงินที่ไม่ดีจะส่งผลอะไรกับคู่สมรสบ้าง
 
ทรัพย์สินและหนี้สินก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส จะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน ซึ่งหากเป็นช่วงก่อนจดทะเบียนสมรสจะเรียกว่า "สินส่วนตัว หนี้ส่วนตัว" พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นของส่วนตัว และหากเป็นช่วงหลังจดทะเบียนสมรสจะเรียกว่า "สินสมรส หนี้สมรส" หรือแบ่งคนละครึ่งไปจนถึงกรณีหย่าร้าง
 
ยกตัวอย่างเคสที่น่าสนใจ ถ้าเกิดว่าก่อนแต่งงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนี้สินอยู่ และหนี้สินก้อนนั้นลุกลามทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ สเต็ปแรกหากยังมีรายได้ จะใช้วิธีอายัดเงินเดือน ค่าล่วงเวลา โบนัส หรือคอมมิชชันต่าง ๆ เพื่อชำระหนี้ แต่หากไม่มีรายได้แล้ว จะใช้วิธีอายัดทรัพย์สินแทน โดยหลักการแล้วจะสืบหาทรัพย์สินส่วนตัวก่อน แต่หากไม่เพียงพอก็จะสืบหาทรัพย์สินหลังจดทะเบียนสมรสเข้ามาเพิ่ม แต่จะไม่ลุกลามไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของอีกฝ่าย เพราะเป็นภาระใครคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ
 
เมื่อจดทะเบียนสมรสไปแล้ว และต้องการเข้าถึงสินเชื่อต่าง ๆ มีปัจจัยที่ทำให้คู่สมรสกู้ไม่ผ่านจากหลายปัจจัยรวมกัน คือ
 
1. "รายได้" เป็นปัจจัยพื้นฐานอันดับแรก ซึ่งต้องเป็นผู้มีรายได้มั่นคง และมีความชัดเจน ยกตัวอย่าง คู่ชีวิตที่มีอาชีพฟรีแลนซ์ รายได้ไม่สม่ำเสมอ แหล่งที่มาไม่ชัดเจน ก็อาจเป็นเรื่องยากในการเข้าถึงสินเชื่อ
 
2. "ขอสินเชื่อที่สูงเกินไป" อีกกรณี หากเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้มั่นคงแน่นอน แต่ขอสินเชื่อก้อนใหญ่เกินไป ต้องผ่อนส่งเกินกำลัง ก็อาจจะขอไม่ได้เช่นกัน
 
3. "ขอสินเชื่อหลายที่ในระยะเวลาใกล้กัน" เช่น การยื่นขอสินเชื่อแบบหว่านแห เมื่อธนาคารแต่ละแห่งเข้าไปตรวจสอบในระบบทำให้เกิดความสงสัยในจุดประสงค์การขอสินเชื่อ จึงทำให้ผู้ขออาจถูกปฏิเสธได้
 
4. "เงื่อนไขพิเศษบางอย่างของธนาคาร" โดยบางธนาคารอาจมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น เป็นสินเชื่อที่อนุมัติสำหรับคนบางกลุ่มบางอาชีพ เป็นต้น เช่น ธุรกิจประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยม มีคนเข้ามาขอสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจเป็นจำนวนมากเกินไปแล้ว ซึ่งหากไปขอโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันก็อาจจะทำไม่ได้
 
สรุปได้ว่า การขอสินเชื่อหลังจากจดทะเบียนสมรสไปแล้ว หากสินเชื่อไม่ได้รับการอนุมัติ อาจไม่ใช่ความผิดของคู่สมรสที่เคยมีหนี้ แต่มาจากปัจจัยหลายอย่างตามที่กล่าวไปนั่นเอง
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/8HeAr10g94g?si=dVTJNO2vAuDwwNVL

ข่าวที่เกี่ยวข้อง