logo เงินทองของจริง

ส่งออกสินค้าไทย ไประดับโลก ต้องทำอย่างไร ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ครั้งนี้รายการเงินทองของจริงได้รับเกียรติจาก "คุณ ฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์" ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเก ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,ส่งออก,ส่งออกสินค้า,วิธีส่งออก,ส่งออกอย่างไร,ส่งออกยังไง,เคล็ดลับส่งออก,วิธีส่งออกสินค้า,ส่งออกสินค้าอย่างไร,ส่งออกสินค้ายังไง,เคล็ดลับส่งออกสินค้า

402 ครั้ง
|
28 ก.ค. 2566
ครั้งนี้รายการเงินทองของจริงได้รับเกียรติจาก "คุณ ฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์" ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว หรือ "ฑูตพาณิชย์ญี่ปุ่น" บินตรงมาพูดคุยเจาะลึกเรื่องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เผยเคล็ดลับเพิ่มโอกาสทางการค้า ให้คนไทยได้ลืมตาอ้าปาก และสินค้าไทยได้เฉิดฉายสู่สายตาโลก
 
"พี่แจ็ค ฉันทพัทธ์" เผยว่า การส่งออกของไทยเอง ไม่ต่างจากผู้ส่งออกในหลาย ๆ ประเทศ เพราะก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ทำให้ตลาดส่งออกซบเซาลง แต่ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย การท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ทำให้ประเทศผู้ซื้อพร้อมซื้อสินค้ามากขึ้น การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าบางตัวเลขอาจยังติดลบอยู่ แต่ก็ถือว่าฟื้นฟูได้ดีกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา
 
ในมุมมองเกี่ยวกับ "เทรนด์ตลาดโลก" มองว่า ตัวผู้ซื้อเองไม่ได้สนใจสินค้าเพียงแค่เรื่องคุณภาพและราคา ตัวแปรในสมการที่เพิ่มขึ้นมา คือ "ที่มาของสินค้า" เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ซื้อพิจารณาว่าสินค้านั้นมีการผลิตอย่างไร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ดังนั้น ในยุคนี้จึงต้องดูตลาดด้วยว่าควรผลิตสินค้าประเภทใด และตอบโจทย์ผู้บริโภคหรือไม่ ที่สำคัญอีกเรื่องคือต้องมี "จริยธรรมการค้า" ด้วย
 
ในฐานะที่พี่แจ็คเป็น "ฑูตพาณิชย์ญี่ปุ่น" เล่าเกี่ยวกับ "สินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น" ว่า กลุ่มสินค้าที่ประเทศไทยทำได้ดีมาก คือ กลุ่มอาหาร เพราะประเทศไทยเปรียบเสมือนครัวโลก และอาหารที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมาก คือ เนื้อไก่ ทั้งไก่สด และไก่แปรรูป นอกจากนั้นยังมี ผัก ผลไม้ และอาหารทะเลด้วย
 
อีกหนึ่งสินค้าที่กำลังเจาะตลาดญี่ปุ่น คือ "กล้วย" ด้วยเหตุผลที่ว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานกล้วยเป็นประจำ โดยในแต่ละปีจะนำเข้ากล้วยนับล้านตัน เพราะญี่ปุ่นไม่สามารถปลูกกล้วยเองได้เลย ซึ่งข้อได้เปรียบของกล้วยไทย คือ สามารถนำเข้าได้โดยไม่เสียภาษี 8,000 ตันแรก และไทยยังใช้โควตานี้ไม่ครบ จึงมองว่าสินค้าในกลุ่มกล้วยทุกประเภทยังมีโอกาสอีกมากถึง 5,000 ตัน ซึ่งไทยเองยังคงผลักดันในเรื่องนี้อยู่
 
คำแนะนำสำหรับเกษตรกรเรื่อง "การส่งออกกล้วยไปญี่ปุ่น" อยากให้มองย้อนขั้นตอนจากหลังมาหน้า เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ส่งออกมักเริ่มต้นจากวิธีทั่วไป คือ "ผลิตสินค้า-นำไปแปรรูป-หาช่องทาง" ทำให้สินค้าหลาย ๆ ตัวไม่ได้เป็นที่ต้องการ ดังนั้น การค้ายุคใหม่ด้วยวิธีทำจากหลังมาหน้า คือ "สำรวจลูกค้าก่อนว่าต้องการอะไร-พัฒนาสินค้าไปในแนวทางนั้น-หาช่องทางการขายที่เหมาะสม"
 
ญี่ปุ่นมีความต้องการกล้วย "วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการส่งออก" คือ "ก่อนจะนำสินค้าไปขาย ต้องพบลูกค้าให้ได้เร็วที่สุดก่อน" ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีตัวช่วยให้พร้อมตั้งแต่การอบรมให้ความรู้ การพัฒนาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้พบเจอผู้ซื้อ ซึ่งสิ่งสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม คือ "ต้องเป็นนิติบุคคล" เพราะต่างประเทศจะไม่รับซื้อสินค้าใด ๆ จากบุคคลธรรมดา ดังนั้น เมื่อมีการทำสัญญาซื้อขาย จึงต้องเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ได้ และกฎระเบียบในปัจจุบันยังเอื้ออำนวยให้จดทะเบียนได้ง่ายขึ้นด้วย
 
"ปัญหาและอุปสรรค" ที่มักพบเกี่ยวกับการส่งออก คือ พัฒนาสินค้าไปแล้ว กลับไม่ใช่แนวทางที่ลูกค้าอยากได้ จึงเน้นย้ำว่าต้องทำความเข้าใจลูกค้าก่อนว่าต้องการอะไร เพราะตลาดแต่ละตลาดจะมีความต้องการที่ต่างกัน ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการรวบรวมข้อมูลลูกค้าแต่ละตลาดไว้ให้ในเว็บไซต์ www.ditp.go.th โดยสามารถเรียนรู้เบื้องต้นจากส่วนนี้ได้ก่อนเลย
 
หนังสือ "ตลาดไทยใหญ่ทั้งโลก" ของพี่แจ็คเอง ต้องการสื่อสารออกไปว่าจริง ๆ แล้วสินค้าไทยมีคุณภาพมาก หากคนไทยจับทางได้ถูก จะสามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก นอกจากนั้นในหัวข้อ "จริยธรรมกับการค้าเกี่ยวข้องกันหรือไม่" กล่าวถึงความสำคัญของคำว่าจริยธรรม คือ สินค้าที่ผลิตออกมา ดีต่อเพื่อนมนุษย์หรือไม่ และบ่อยครั้งที่ประเทศไทยมีข้อพิพาทในประเด็นนี้ ทำให้ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ หากคนเราขาดความรู้ในจุดนี้ จึงถือเป็นการปิดกั้นโอกาสครั้งสำคัญของตัวเองลงนั่นเอง
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.15-9.25 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/YWnTP_EUGdA?feature=share