logo เช้านี้ที่หมอชิต

30 มี.ค. วันไบโพลาร์โลก โรคอารมณ์สองขั้ว | วันนี้มีอะไร กับ บี กมลาสน์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - ไบโพลาร์ โรคความผิดปกติทางอารมณ์ มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายมากกว่าโรคจิตเวชอื่น ๆ หากไม่รักษาแต่เนิ่น ๆ ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

668 ครั้ง
|
30 มี.ค. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - ไบโพลาร์ โรคความผิดปกติทางอารมณ์ มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายมากกว่าโรคจิตเวชอื่น ๆ หากไม่รักษาแต่เนิ่น ๆ ปล่อยให้อาการป่วยเรื้อรัง สุดท้ายแล้วชีวิตก็ต้องพบกับความสูญเสียที่น่าเศร้า เครือข่ายโรคไบโพลาร์จึงได้ถือให้วันที่30 มีนาคมเป็นวันไบโพลาร์ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจให้สังคมเกิดความตระหนัก  
 
ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุ โรคไบโพลาร์ หรือ อารมณ์สองขั้ว มีดัชนีการสูญเสียสุขภาวะด้านความพิการสูงเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มจิตเวช การพยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ร้อยละ 25.6-42 และร้อยละ 10-20 เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย โดยพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า และจำเป็นต้องได้รับการรักษาและการบำบัดที่ถูกต้อง 
 
ทั้งนี้ ประมาณ 5 ของประชากรโลก ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ขณะที่มีผู้ป่วยเพียง 1-2 เท่านั้นที่ได้รับรักษา ซึ่งอายุเฉลี่ยของการเกิดโรคไบโพลาร์ คือ อายุ 20 ปี มักเกิดขึ้นในผู้หญิง 3.3 มากกว่าในผู้ชาย 2.6 เป็นปัญหาของสังคมไทยที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งหาทางแก้ไข ทุกวันที่ 30 มีนาคมของทุกปี จึงกำหนดให้เป็นวันไบโพลาร์โลก ซึ่งตรงกับวันแพทย์แห่งชาติเช่นกัน ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้จัดกิจกรรมกระตุ้นให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของโรคมาอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับอาการของโรคไบโพลาร์มี 2 ช่วง ช่วงแรก คือ ระยะแมเนีย อาการยังไม่รุนแรง ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีพลังล้นเหลือ หากปล่อยไว้อาการจะก้าวร้าวและรุนแรงขึ้น ช่วงที่ 2 คือ ระยะซึมเศร้า อารมณ์เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวเศร้า สลับขั้วไปมาอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก จะเข้าสู่ช่วงซึมเศร้า ที่อาการหนักขึ้นอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้
 
ปัจจุบัน ผู้ป่วยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสภาวะความเครียดทั้งพิษเศรษฐกิจและสังคม สวนทางกับจำนวนจิตแพทย์ทั่วประเทศไม่ถึง 1,000 คน คิดเป็นจิตแพทย์ 1.28 คนต่อประชากร 100,000 คน
 
ดังนั้น ขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนัก ขณะที่ คนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่จะพูดในเชิงบวก เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะโรคไบโพลาร์สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการใช้ยาควบคู่กับการใช้จิตบำบัด เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข 
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/JN82lJaEwvA