การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร ?
การอํานวยความสะดวกให้คนไทยที่พํานักอยู่นอกราชอาณาจักร หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะเดินทางไปนอกราชอาณาจักรได้มีโอกาสใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้ง ส.ส. ได้ โดยให้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง
ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง ให้คนไทยทุกคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทยสามารถไปใช้สิทธิ เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ตามสถานที่และวิธีการ ที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่กําหนด
การลงทะเบียน ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
กรณีอยู่นอกราชอาณาจักร
ต้องยื่นแบบคําร้องขอใช้สิทธิเลือกตั้งฯ พร้อมเอกสารแสดงตน เพื่อลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ในวันและเวลาราชการ ณ สถานเอกอัครราชฑูตแห่งเขตรับผิดชอบที่ตนมีถิ่นที่อยู่
สิ่งที่ต้องเตรียมในการยื่นคําขอ
1. หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้และมีเลขประจําตัวประชาชน
2. แบบคําร้องขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
โดยสามารถยื่นขอลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง คือ ยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่นยื่นแทน, ยื่นทางไปรษณีย์ถึงสถานเอกอัครราชฑูต, ยื่นคําขอทางอินเทอร์เน็ต
กรณีอยู่ในประเทศไทยแต่จะเดินทาง ไปต่างประเทศในช่วงการเลือกตั้ง
สามารถยื่นขอลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง คือ ยื่นที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น, ยื่นทางไปรษณีย์ถึงสถานเอกอัครราชฑูต, ยื่นคําขอทางอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนและวิธีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้านอกราชอาณาจักรทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ที่ประสงค์ยื่นคําขอลงทะเบียนฯ เลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักรทางอินเทอร์เน็ตสามารถดําเนินการยื่นคําขอลงทะเบียนด้วยตนเองได้ทางเว็บไซต์
https://www.bora.dopa.go.th/all-election หรือทางแอปพลิเคชัน Smart Vote
โดยสามารถลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องนําส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการลงทะเบียน
โดยบันทึกข้อมูล ดังนี้
1. เลขประจําตัวประชาชน
2. ชื่อตัว-ชื่อสกุล
3. วันเดือนปีเกิด
4. หมายเลขหลังบัตรประจําตัวประชาชน
5. เลขรหัสประจําบ้าน (11 หลัก)
6. สถานที่ที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง
วิธีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้านอกราชอาณาจักรทางอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนที่ 1
เข้าสู่ระบบ บันทึกข้อมูลข้างต้นให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วให้เลือกรายการ “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง”
ขั้นตอนที่ 2
ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏว่าถูกต้องหรือไม่
กรณีผู้ที่เคยลงทะเบียนแล้ว : ถ้าประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ลงคะแนน ให้ระบุสถานที่ที่ประสงค์จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ถ้าประสงค์จะขอยกเลิกการลงทะเบียน ให้เลือกรายการขอยกเลิกการลงทะเบียน
แล้วเลือก “บันทึกข้อมูล”
ขั้นตอนที่ 3
เข้าสู่หน้าการยืนยันการบันทึกข้อมูล ให้ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ปรากฏอยู่นั้น ถูกต้องหรือไม่
ถ้าประสงค์จะกลับไปแก้ไขข้อมูล เลือกรายการ “กลับไปแก้ไขข้อมูล”
หากถูกต้องครบถ้วนแล้ว เลือกรายการ “ยืนยันการบันทึกข้อมูล”
ขั้นตอนที่ 4
เมื่อยืนยันการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ระบบจะแสดงแบบตอบรับเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิ ออกเสียงลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง