บังคับใช้แล้ว ! กม.ป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ บัญชีม้า-ซิมม้า โทษหนัก คุก 3 ปี ปรับ 3 แสน
logo ข่าวอัพเดท

บังคับใช้แล้ว ! กม.ป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ บัญชีม้า-ซิมม้า โทษหนัก คุก 3 ปี ปรับ 3 แสน

ข่าวอัพเดท : บังคับใช้แล้ว กฎหมายป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ บัญชีม้า-ซิมม้า คุก 3 ปี ปรับ 3 แสน ให้อำนาจหน่วยงานรัฐ-สถาบันการเงินแลกเปลี่ยนข้อม บัญชีม้า,ซิมม้า,ซิมผี,โทษหนัก,คุก3ปี,ปรับ3แสน,กฎหมายป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์,ฟอกเงิน,ฉ้อโกง

761 ครั้ง
|
17 มี.ค. 2566
         บังคับใช้แล้ว กฎหมายป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ "บัญชีม้า-ซิมม้า" คุก 3 ปี ปรับ 3 แสน ให้อำนาจหน่วยงานรัฐ-สถาบันการเงินแลกเปลี่ยนข้อมูล ยับยั้งการโอนเงินเป็นทอดๆ
 
       กฎหมายป้องกันภัยไซเบอร์ บังคับใช้แล้ว บัญชีม้า-ซิมม้า โทษหนัก วานนี้ (16 มี.ค.66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ “พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566” ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา “บัญชีม้า” รวมไปถึง “ซิมม้า” และ ระงับยังยั้งการโอนเงินของคนร้ายต่อเป็นทอด ๆ เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินคืนให้กับผู้เสียหายได้ทันเป็นสำคัญ โดยมีการกำหนดบทลงโทษผู้ที่เปิดหรือใช้ บัญชีม้า หรือ ซิมม้า มีโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยกฎหมายนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (17 มี.ค.66)
 
       สาระสำคัญของกฎหมายนี้ ได้แก่
 
        บัญชีม้า-ซิมม้า “มาตรา 9 ผู้ใดเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก  บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้ โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10 และ 11 ผู้ใดโฆษณาเกี่ยวกับบัญชีม้า ซิมม้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 5 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 2-5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
         ระงับยับยั้งการโอนเงินเป็นทอดๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้โอนทรัพย์สินผ่านบัญชีเงินฝากอย่างรวดเร็ว
มาตรา 4 ให้อำนาจธนาคารและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ สามารถเปิดเผย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ โดยได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
 
        มาตรา 5 ให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เปิดเผยข้อมูลการลงทะเบียน หรือ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้
 
          มาตรา 6 และมาตรา 7 กรณีที่สถาบันการเงินธนาคารพบเหตุอันควรสงสัย หรือได้รับแจ้งจากผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก ให้ระงับการทำธุรกรรมนั้น และแจ้งทุกธนาคารที่รับโอนต่อทุกทอด ระงับการทำธุรกรรมที่รับโอนไว้ทันที เป็นการชั่วคราว ไม่เกิน 7 วัน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ดำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตรวจสอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง