logo เช้านี้ที่หมอชิต

บังคับใช้ กฎหมาย JSOC ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ | วันนี้มีอะไร กับ บี กมลาสน์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - คุณผู้ชมยังจำคดีของ นายสมคิด พุ่มพวง ได้ไหม เขาติดคุกในคดีฆ่าต่อเนื่องผู้หญิง 5 ศพ เมื่อปี 2548 เมื่อออกจาก ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital,วันนี้มีอะไร กับ บี กมลาสน์,กฎหมาย JSOC,ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ,สมคิด พุ่มพวง,ฆ่าข่มขืน

269 ครั้ง
|
23 ม.ค. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - คุณผู้ชมยังจำคดีของ นายสมคิด พุ่มพวง ได้ไหม เขาติดคุกในคดีฆ่าต่อเนื่องผู้หญิง 5 ศพ เมื่อปี 2548 เมื่อออกจากเรือนจำในปี 2562 เขากลับก่อเหตุ ฆ่าผู้หญิงอีก 1 คน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดกฎหมายฉบับหนึ่ง ที่วันนี้มีผลบังคับใช้แล้ว
 
วันนี้กฎหมาย jsoc (เจซ็อค) หรือ พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือ ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้แล้ว เพื่อพยายามควบคุมและป้องกันไม่ ให้นักโทษเหล่านี้ มาก่อคดีซ้ำได้ ซึ่งที่มาของกฎหมายนี้ สืบเนื่องมาจากที่ทางกระทรวงยุติธรรม พบว่า ผู้ทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง อย่างเช่นคดีของ นายสมคิด พุ่มพวง ที่ก่อเหตุฆ่าผู้หญิงตาย 5 ศพ เมื่อปี 2548 ถูกจับติดคุกอยู่หลายปี
 
จนในที่สุดก็พ้นโทษออกมาในปี 2562 แต่กลับก่อคดีแบบเดิมซ้ำอีกด้วยการฆ่าผู้หญิงที่ขอนแก่น ซึ่งเจอกันทางเฟซบุ๊กเป็นที่หวาดกลัวของสังคมอย่างมากในช่วงนั้น และในตอนนั้น กระทรวงยุติธรรมพบว่า เมื่อพ้นโทษมาแล้ว ผู้กระทำผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงจะกระทำความผิดซ้ำในระยะ เวลา 3 ปี มากกว่าร้อยละ 50 นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เกิดกฎหมาย jsoc
 
สาระสำคัญของกฎหมายจะมี มาตรการทางการแพทย์ มาช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ก่อคดีที่พ้นโทษมาแล้วไปทำความผิดซ้ำได้อีก เช่น การใช้ยา การฉีดฮอร์โมนลดความต้องการทางเพศ หรือ ฉีดให้ไข่ฝ่อ เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังมีมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดหลังพ้นโทษ หากมีเหตุให้เชื่อว่าผู้พ้นโทษมีแนวโน้มจะทำความผิดซ้ำได้อีก ศาลจะมีมาตรการต่าง ๆ เช่น ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหายจากการกระทำความผิด ,ห้ามเข้าเขตกำหนด, ให้พักอาศัยในสถานที่ที่กำหนด, ให้มารายงานตัวต่อพนักงานคุม หรือ เจ้าหน้าที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนด และถึงที่สุดหากพบว่านักโทษคดี ร้ายแรงที่พ้นโทษมาแล้วส่อแววว่า จะไปก่อเหตุได้อีก ศาลอาจใช้อำนาจในการคุมขังฉุกเฉิน ผู้ถูกเฝ้าระวังได้ ไม่เกิน 7 วัน
 
โดยกลุ่มผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมี 3 กลุ่ม ว็อทช์ลิสต์ 1 ส่วนใหญ่เป็นผู้ทำผิดคดีทางเพศ เป็นคนที่ออกจากเรือนจำไป แต่กฎหมายนี้ยังไม่บังคับใช้ ไม่สามารถนำกฎหมายนี้ไปบังคับใช้ได้ ให้กรมประพฤติติดตามดูเท่าที่ทำได้ กลุ่มว็อทช์ลิสต์ 2 คือคนที่จะออกจากเรือนจำ เมื่อมีกฎหมายใช้แล้ว และกลุ่มว็อทช์ลิสต์ 3 คือ คนที่กำลังจะเข้าเรือนจำใหม่ กำลังจะถูกพิพากษา ต้องทำเรื่องต่อศาลเพื่อขอให้เฝ้าระวังตามกฎหมายฉบับนี้
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
รับชมผ่าน Youtube ได้ที่ https://youtu.be/CHmsI4QU0Kw

ข่าวที่เกี่ยวข้อง