บีทีเอสสุดทน ! ปล่อยคลิปทวงหนี้กทม. 4 หมื่นล้าน ด้าน “ชัชชาติ” แจงพร้อมจ่าย
logo ข่าวอัพเดท

บีทีเอสสุดทน ! ปล่อยคลิปทวงหนี้กทม. 4 หมื่นล้าน ด้าน “ชัชชาติ” แจงพร้อมจ่าย

ข่าวอัพเดท : บีทีเอสสุดทน ปล่อยคลิปทวงหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้าน ด้าน ชัชชาติ ผู้ว่า กทมฯ แจง พร้อมจ่ายเงิน ตามกระบวนการทางกฎหมาย ชัชชาติ,ผู้ว่ากทม,บีทีเอส,BTS,รถไฟฟ้า,รถไฟฟ้าสายสีเขียว,สายสีเขียว,ทวงหนี้,บีทีเอสทวงหนี้,ข่าว,การเมือง,กฎหมาย,ฺBTSสายสีเขียว,พร้อมจ่าย,กทมจ่ายหนี้,เป็นหนี้BTS,นักการเมือง,จ่ายหนี้,ทวงถามหนี้,ปล่อยคลิปทวงหนี้,ปล่อยคลิป

526 ครั้ง
|
22 พ.ย. 2565
บีทีเอสสุดทน ปล่อยคลิปทวงหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้าน ด้าน "ชัชชาติ" ผู้ว่า กทมฯ แจง พร้อมจ่ายเงิน ตามกระบวนการทางกฎหมาย
 
จากกรณีบีทีเอสปล่อยคลิปทวงหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว “คนเราจะอดทนกับการแบกหนี้ได้นานแค่ไหน ทำงานแต่ไม่ได้เงิน ต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกวัน ผู้มีอำนาจโยนไปโยนมา ไร้การตัดสินใจ ถึงเวลาเข้ามาจัดการปัญหา อย่าหนีปัญหา อย่าปล่อยให้เอกชนสู้เพียงลำพัง ถึงเวลาจ่ายหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 40,000 ล้าน”
 
เมื่อวานนี้ (21 พ.ย.65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  (กทม.) เปิดเผยว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีประเด็นทางกฎหมายอยู่เพียงประเด็นเดียว จากที่ข้อบัญญัติงบประมาณกรุงเทพมหานคร บัญญัติว่า กรณีกรุงเทพมหานครไปสร้างภาระหนี้ผูกพันจะต้องผ่านสภากรุงเทพมหานครก่อน ซึ่งการทำสัญญาทั้งในส่วนการจ้างเดินรถและติดตั้งงานระบบในส่วนต่อขยายที่ 2 ที่เป็นภาระหนี้ผูกพัน เพราะกรุงเทพมหานครจะต้องชำระหนี้ทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่า ส่วนนี้ผ่านสภากรุงเทพมหานครแล้วหรือไม่ จึงทำหนังสือเพื่อสอบถามทางสภากรุงเทพมหานครว่า ส่วนนี้ผ่านการอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานครแล้วหรือไม่ เข้าใจว่าได้ส่งหนังสือไปแล้ว  ในส่วนของมูลหนี้จากส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 นั้น มีการผ่านสภาอย่างถูกต้อง หากการดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2562 จบกระบวนการ ก็สามารถจ่ายได้ทันที
 
นายชัชชาติ กล่าวต่ออีกว่า กรุงเทพมหานครเป็นหนี้ต้องจ่าย แต่ต้องเป็นหนี้ที่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการรับโอนทรัพย์สินในส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพันเช่นเดียวกัน เนื่องจากกรุงเทพมหานคร จะต้องมีการชำระค่าตอบแทนในอนาคตซึ่งต้องใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานครมาจ่าย หากไม่ผ่านสภากรุงเทพมหานคร จะต้องทำสัญญาให้ถูกต้องกฎหมายก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง