ฝีดาษลิง ระบาดเพิ่ม ล่าสุด อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย พบผู้ป่วยแล้ว WHO คาดจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก
logo ข่าวอัพเดท

ฝีดาษลิง ระบาดเพิ่ม ล่าสุด อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย พบผู้ป่วยแล้ว WHO คาดจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก

ข่าวอัพเดท : ฝีดาษลิง แพร่เชื้อต่อเนื่อง ล่าสุด อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย พบผู้ป่วย ตอนนี้พบเชื้อแล้ว 15 ประเทศ WHO คาดจะพบผู้ติดเชื้อเ ฝีดาษลิง,อิสราเอล,who,ระบาด,ผู้ติดเชื้อ,สวิตเซอร์แลนด์,ออสเตรีย

1,222 ครั้ง
|
23 พ.ค. 2565
        ฝีดาษลิง แพร่เชื้อต่อเนื่อง ล่าสุด อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย พบผู้ป่วย ตอนนี้พบเชื้อแล้ว 15 ประเทศ WHO คาดจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก
 
           วันที่ 23 พ.ค. 65 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ประเทศอิสราเอล, สวิตเซอร์แลนด์, และออสเตรีย เป็นประเทศล่าสุดที่มีการยืนยันว่าพบผู้ป่วย “โรคฝีในลิง” ทำให้จำนวนประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรค “ฝีดาษลิง” เพิ่มเป็น 15 ประเทศ
 
          โดยประเทศอิสราเอลและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่างก็ระบุว่า พบผู้ติดเชื้อ 1 คน ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีผู้ป่วยมากกว่า 80 คน ที่ได้รับการยืนยันจากการระบาดครั้งล่าสุดในยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย
 
          ด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า มีผู้ป่วยที่เสี่ยงจะติดโรคอีกหลายคนที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบ และมีแนวโน้มว่าจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
 
          ด้าน National Health Service ของสหราชอาณาจักร เผยว่า การระบาดครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจ แต่การแพร่เชื้อต่อสาธารณะในวงกว้างนั้นถือว่าอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะฟื้นตัวภายในไม่กี่สัปดาห์ ตอนนี้สหราชอาณาจักร เผยว่า พบผู้ป่วย 20 คน
 
          หลังจากการตรวจพบการระบาดครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ไวรัสเริ่มตรวจพบทั่วยุโรป โดยหน่วยงานสาธารณสุขในสเปน โปรตุเกส เยอรมนี เบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และสวีเดน ทุกที่ยืนยันว่าพบโรค “ฝีดาษลิง”
 
          หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ ดร.ซูซาน ฮอปกินส์ เผยว่า เราตรวจพบเคสมากขึ้นทุกวัน ขณะนี้ไวรัสกำลังแพร่กระจายในชุมชน โดยมีผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อ ซึ่งไม่มีการติดต่อกับใครก็ตามที่ไปเยือนแอฟริกาตะวันตกที่เป็นโรคประจำถิ่น แต่ความเสี่ยงต่อประชากรทั่วไปยังคงต่ำมาก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่พบได้ในเขตเมืองบางแห่ง และในหมู่ชายรักชาย
 
          แม้ว่าจะไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับโรค “ฝีดาษลิง” แต่หลายประเทศกำลังจำหน่ายวัคซีนฝีดาษซึ่งมีประสิทธิภาพประมาณ 85% ในการป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากไวรัสทั้งสองค่อนข้างคล้ายกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง