ครม.ไฟเขียว เวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา
logo ข่าวอัพเดท

ครม.ไฟเขียว เวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา

ข่าวอัพเดท : ครม. ผ่านร่าง พ.ร.ฎ เวนคืนที่ดิน สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ครม,ไฟเขียว,รถไฟความเร็วสูง,ไทยจีน,ที่ดิน,5จังหวัด,เวนคืนที่ดิน

1,633 ครั้ง
|
24 มี.ค. 2565
            ครม. ผ่านร่าง พ.ร.ฎ เวนคืนที่ดิน สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา
 
            วันที่ 22 มี.ค.65 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่  เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี  อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย  อำเภอภาชี  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และ อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนิน
 
            โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร- หนองคาย (ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา)  พ.ศ. ....   สาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่น ตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์เข้าไปทำการสำรวจ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
 
             ทั้งนี้  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 และ วันที่ 22 ธันวาคม 2560  อนุมัติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1ช่วงกรุงเทพมหานคร- นครราชสีมา) เพื่อก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ ขนาดทาง 1.435 เมตร จำนวน 2 ทาง ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปีพ.ศ. 2558 -  2565 เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางราง สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสาร และเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกจากไทยสู่ สปป.ลาว และจีน  โดยพื้นที่โครงการส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรรมสิทธิ์ที่ของ รฟท. และจะเวนคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ 3,667 ไร่และอาคาร 1,130 หลัง มีการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 4 สถานี และศูนย์ควบคุมการเดินรถและซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ 1 แห่ง ซึ่ง รฟท. ได้ประเมินมูลค่าโครงการฯ แล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 179,412.21 ล้านบาท ประกอบด้วยค่ารื้อย้ายและเวนคืน สัญญาและงานโยธา โดยในที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งที่ 6/ 2563 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว
 
           โดยร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี และให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้แนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
 
          ทั้งนี้ เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงคำการแล้วเสร็จ ถือเป็นการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย ให้มีความเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง