เปิดประมูลงาช้างพลายบุญชัย อายุ 51 ปี เริ่มต้นที่ 25 ล้านบาท หารายได้เข้าศูนย์อนุรักษ์ช้าง
logo ข่าวอัพเดท

เปิดประมูลงาช้างพลายบุญชัย อายุ 51 ปี เริ่มต้นที่ 25 ล้านบาท หารายได้เข้าศูนย์อนุรักษ์ช้าง

ข่าวอัพเดท : วันที่ 15 ธ.ค.64 นายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการ บริษัท ช้างทองคำ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์อนุรักษ์ช้าง ช้างทองคำ เลขที่ 212 ม.1 ต.นาข ประมูล,งาช้าง,พลายบุญชัย,25ล้านบาท,ศูนย์อนุรักษ์ช้าง

697 ครั้ง
|
16 ธ.ค. 2564
        วันที่ 15 ธ.ค.64 นายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการ บริษัท ช้างทองคำ (ประเทศไทย) จำกัด  ศูนย์อนุรักษ์ช้าง ช้างทองคำ เลขที่ 212 ม.1 ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ในวันที่ 17-20 ธ.ค. นี้
 
       ทางศูนย์ฯ จะมีการประมูลงาช้างออนไลน์ จำนวน 1 คู่ เป็นงาของพลายบุญชัย อายุ 51 ปี ซึ่งได้ซื้อมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่ปี 2554 หลังไถ่ชีวิตจากช้างลากซุงทางภาคใต้ ราคาตัวละ 3 ล้านบาท เป็นช้างสูงใหญ่ น้ำหนักประมาณ 4.5 ตัน ลักษณะงา เส้นรอบวง 37 ซม. ความยาว 189 ซม งาช้างด้านขวามีตำหนิ มาจากเจ้าของเดิมเมื่อ 10 ปี ที่แล้ว  ช้างเล่นโซ่ตอนตกมันจากเจ้าของเดิม ช้างพลายบุญชัยได้มีอาการตกมันก่อนจะป่วยประมาณ 6 เดือน มีอาการดุเกรี้ยวกราด ควาญช้างและผู้ดูแลไม่สามารถ ดูแลไกล้ชิดได้ ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้ควาญช้างไม่สามารถดูแลใกล้ชิด หลังจากหายตกมันควาญช้างและผู้ดูแล ได้ทำการตรวจเช็คสภาพร่างกายทุกอย่าง ปรากฎว่า เท้าช้าง ฝาเท้าติดเชื้อที่เล็บเท้าทั้ง 4 เท้า ได้ทำการรักษาเป็นเวลา 2 เดือนอย่างเต็มที่ทุกๆ หน่วยงาน ก่อนล้มลงวันที่ 9 พ.ย.64 ที่ผ่านมา    
นายธนบดี  กล่าวว่า ศูนย์อนุรักษ์ช้าง ช้างทองคำ จ.มหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อปี 2550 โดยหลวงปู่ครูบาธรรมมุนี ปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 60 ไร่  เป็นสถานที่ซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นสถานที่อยู่ของช้างแบบถาวร ดูแลช้างทุกรูปแบบ หรือผ่านการทำงานมาอย่างหนัก โดยรับซื้อ ไถ่ชีวิตมาจากสถานที่ต่างๆ ปัจจุบันมีช้างในความดูแล 22 เชือก และอยู่ภายในภายในศูนย์ฯ กว่า 10 เชือก และช้างไม่ต้องทำงาน ไม่มีการฝึก แสดง หรือการโชว์ใดๆ เพียงใช้ชีวิตตามปกติ ทานอาหารออกกำลังกาย ปรับสภาพจิตใจของช้างทั้งหมด ปณิธานที่ตั้งไว้ ไถ่ช้าง 1,000 เชือก โดยเน้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชมช้าง เรียนรู้เรื่องช้างทุกๆ มิติ
 
        ทั้งนี้ รายได้ที่ได้จากการประมูลจะนำมาสร้างสถานพยาบาลช้าง  พร้อมขยายพื้นที่สร้างโรงเรือน เพื่อจะนำช้างที่ฝากไว้อีก 16 เชือกเข้ามาปี 2565  ขยายพื้นที่ ปลูกหญ้าช้าง และไถ่ชีวิตช้างที่เจ้าของประสงค์จะขายให้ 
 
       นอกจากนั้นยังนำไปเป็นค่าใช้จ่ายค่าเลี้ยงดูช้างที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ช้างเจ็บป่วย หรือชราภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง