หนี้ครัวเรือนพุ่ง เงินเราชนะ ม.33 ไม่ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ ซ้ำวัคซีนล่าช้าจนเเม่ค้าบ่น คาดสิ้นปีถึงจะเริ่มมองเห็นอนาคต
logo ข่าวอัพเดท

หนี้ครัวเรือนพุ่ง เงินเราชนะ ม.33 ไม่ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ ซ้ำวัคซีนล่าช้าจนเเม่ค้าบ่น คาดสิ้นปีถึงจะเริ่มมองเห็นอนาคต

6,846 ครั้ง
|
31 พ.ค. 2564

หลังจากที่รัฐบาลได้ลงมัตติเห็นชอบถึงการเพิ่มจำนวนเงินในโครงการเราชนะและม33 เพื่อช่วยเหลือประชาชน ทำให้มีหลายๆคนเริ่มออกไปใช้จ่ายในร้านค้าต่างๆที่ร่วมโครงการนี้ โดยทางเราได้ไปสัมภาษณ์ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เราชนะและม.33 เพื่อสอบถามถึงยอดขายว่าดีขึ้นไหม

ทีมข่าวสัมภาษณ์ คุณจันทร์เจ้า ที่ร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในห้าง ชื่อร้าน “Samol” เนื่องจากห้างก็เป็นสถานที่สามารถใช้ แอพพลิเคชั่นเป๋าตังได้เช่นกัน ซึ่งทางร้านได้เข้าร่วมโครงการที่ทางรัฐบาลได้เปิดให้ อย่างเช่น เราชนะ ม33 และ คนละครึ่ง

ทำไมถึงเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการนี้:
“ตั้งแต่มีเราชนะ ครั้งแรกที่รัฐบาลจ่ายให้คนละ 7,000 มีหลายๆร้านเปิดแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น ทางร้านก็คิดอยู่นานนะว่าจะเข้าร่วมโครงการนี้ดีไหม แต่พอได้เข้าร่วมก็มีคนเข้ามาใช้จ่ายมากขึ้นทำให้คนกล้าที่จะใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากเป็นของทางรัฐ บางคนจึงใช้โดยไม่ค่อยคิดอะไรมาก”

 

แอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ใช้ยากไหม:
“ในส่วนตัวคิดว่าไม่ยากค่ะ แต่บางคนที่เป็นแม่ค้ากันเองก็จะมีปัญหากับการใช้เทคโนโลยีนิดๆหน่อยๆ ถ้ามีปัญหา ก็จะถามๆกันระหว่างร้าน”

ตั้งแต่มี เราชนะกับม33 เข้ามา มีคนเข้ามาซื้อของเยอะไหม:
“ถ้าเป็นเราชนะรอบแรกที่ได้ 7,000 คนเข้ามาใช้จ่ายเยอะมาก บางคนซื้อเสื้อผ้าที เป็น 4,000 - 5,000 เลยก็มี โดยเฉพาะเสื้อผ้าทำงาน เพราะว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ถามรอบสอง ที่ได้ 2,000 บาท ก็ไม่ค่อยมีเข้ามามากไม่เหมือนตอนแรก ส่วน ม33 นั้นไม่ค่อยมีคนเข้ามาใช้ ส่วนใหญ่ จะไปใช้ซื้อจ่ายของในตลาดมากกว่า”

 

อยากให้รัฐบาลออกมาช่วยอะไรบ้าง:

“อย่างแรกเลยคือ อยากให้รัฐบาล มีการแจกจ่ายเงินเพิ่มอีก เพราะนั้นเป็นอีกวิธีที่คนออกมาใช้สิทธิและเพิ่มรายได้ให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการนี้ แต่สถานการณ์ตอนนี้ อยากให้รัฐบาลประกาศ lock down รอบ2 นั่นก็เพราะว่า ตอนที่โควิดเข้ามาช่วงแรก เป็นแค่ 200-300 คนก็มี lock downแล้ว แต่นี่ ติด2,000-3,000 คน ทำไม่ถึงไม่ lock down เพราะว่าเราเป็นแม่ค้าเราก็กลัวนะว่าแบบ คนที่มาซื้อของนั้นจะติดโควิดหรือไม่ เราไม่มีทางรู้ได้เลย อย่างที่ ข่าวออกมาว่าโรงงานแห่งหนึ่งติดเป็น 1,000 คือ เราอยากรัฐบาลมีการควบคุมที่ดีกว่านี้”

 


ด้านแม่ค้าในตลาดได้พูดถึงกรณีเรื่องวัคซีนกับเเนวทางเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคัก โดยนาง สมใจ ฟักนิกร เเม่ค้าขายหมูสะเต๊ะในตลาดนัดวัดประดู่ วัย 54 ปี เผยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด อย่าง Sinovac หรือ Astra ไว้ว่า ตนเองนั้นได้ทำการลงทะเบียนฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถลงได้เพราะ ทางแอปพลิเคชั่นที่สมัครลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนแจ้งขึ้นมาว่า “ประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถจองได้ในระยะเวลานี้” ซึ่งนางสมใจยังได้พูดถึงว่า “ทำไมการรับวัคซีนที่จำเป็นแบบนี้เข้าถึงไม่ได้ทุกคน โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านและเผชิญกับความเสี่ยง ก็ต้องการฉีดเพื่อป้องกันตัวเองจากไวรัสร้ายแรงนี้เช่นกัน จริงๆไม่ควรมีการลงทะเบียน น่าจะให้สิทธ์ ใครมาก่อนได้ก่อนมากกว่า ซึ่งมันทำให้เห็นถึงความเลื่อมล้ำอย่างเห็นได้ชัดว่าใครมีตังก็สามารถได้รับวัคซีนก่อน”

และเราได้สอบถามเรื่องความกลัวไหมที่จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิดหลังจากมีหลายๆเคสที่แสดงให้เห็นถึงผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน “ถามว่ากลัวไหม กลัวเพราะว่าถ้าเกิดฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกายกลัวว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพหลายๆอย่าง ก็ได้เห็นข่าวถึงผลข้างเคียงของวัคซีน แต่ทำยังไงได้ ประเทศเราไม่มีวัคซีนตัวอื่นให้เลือกแล้ว” หลังจากที่ได้สอบถามถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว เราจึงถามถึงเรื่องเศรษฐกิจที่ว่าถ้าฉีดวัคซีนแล้วอีกนานไหมกว่าเศรษฐกิจจะกลับมาคึกคัก? “อีกนานนะเพราะว่า เราก็ไม่รู้ว่าใครฉีดหรือยังไม่ฉีดแล้วบ้าง และไวรัสนี้ก็มีหลายสายพันธุ์ซึ่งเราไม่รู้เลยว่า วัคซีนที่เราได้นั้นป้องกันสายพันธุ์ใดได้บ้าง การที่เศรษฐกิจจะกลับมาคึกคักอีกครั้งอาจจะเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะกลับมาดีขึ้นเพราะว่าคนก็ต้องทำมาหากิน ไม่งั้นก็ไม่มีเงิน คิดว่าตอนนี้หลายๆคนคงปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดีขึ้น เพราะว่าเราก็อยู่กับโควิดนี้มานานพอสมควร”

 


อยากให้รัฐบาลรีบแก้ไข้ปัญหาอะไรก่อน ?
“เรื่องวัคซีนป้องกันโควิดที่ทุกคนเข้าถึงยาก ทุกคนควรมีสิทธิ์เท่าเทียมที่จะได้รับวัคซีนนั้นๆ และรัฐบาลควรจัดหาวัคซีนหลายๆยี่ห้อเพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการฉีด เพราะว่าเราก็อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง”



ด้านนาย บุรินทร์ อดุลวัฒนะ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ได้ทำการคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตระดับ 1-2% หรือ อาจจะน้อยกว่าเนื่องจากภายใต้สถานการณ์โควิดระลอก3 หากรัฐไม่สามารถกระจายวัคซีนได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ ในสถานการณ์ดังกล่าว อาจเป็นการซ้ำเติมประชาชาที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินอยู่แล้วให้เพิ่มมากขึ้น หนี้ครัวเรือนของไทยในปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง และ มีการคาดเดาว่าช่วงไตรมาสที่1ของปี2564 ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยจะขึ้นถึง 92 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากหนี้ครัวเรือนในไตรมาสที่4ปี 2563 สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ อยู่ร้อยละ 89.3ของ GDP

ณ ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยสูงถึง 90 ของGDP ซึ่งเพิ่มเป็น2เท่าจากปี 2549 ที่อยู่เพียงร้อยละ 44.4 จากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้รู้ว่า ในช่วง10ปีที่ผ่านมา คนไทยเป็นหนี้ในวงกว้าง และมีค่ากลางมูลหนี้เพิ่มจาก7หมื่นบาท เป็น 1.28 แสนบาทต่อราย และส่วนมากคนไทยจะเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยโดยร้อยละ 60 ของกลุ่มคนอายุประมาน28-30 ปีจะเป็นหนี้ ในกลุ่มคนอายุน้อยมีหนี้เสียถึง1ใน4 และยังมีคนไทยที่เป็นหนี้นาน เนื่องจากรัฐมีการดำเนินนโยบายที่ทำให้เกิดการกู้ยืม นั้นก็คือ นโยบายรถคันแรก นั้นทำให้คนที่ยังไม่พร้อมก่อหนี้ ให้เกิดหนี้เสีย นอกจากนั้น ผู้ประกอบธุรกิจ SME บางส่วนไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินเพื่อทำการกู้ได้ จึงต้องยอมหันไปใช้เงินกู้ทางบัตรเครดิตเพื่อมาลดปัญหาเบื้องต้น แม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงกว่ามาก แต่จะมีคนไทยบางกลุ่ม ที่ต้องก่อหนี้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น คนส่งอาหาร และ คนขับรถแท็กซี่