สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป็นฝ่ายถูก ต้องส่งซ่อม ไม่มีรถใช้ ยื่นเรื่องให้เป็น ได้เงินชดเชยก้อนใหญ่
logo TERO HOT SCOOP

สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป็นฝ่ายถูก ต้องส่งซ่อม ไม่มีรถใช้ ยื่นเรื่องให้เป็น ได้เงินชดเชยก้อนใหญ่

TERO HOT SCOOP : เมื่อรถของคุณเกิดอุบัติเหตุ และคุณคือฝ่ายถูก แต่รถของคุณเสียหาย จนต้องนำรถไปซ่อมอยู่หลายเดือน ซึ่งระหว่างนั้น คุณไม่มีรถใช้งาน ค ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ,ค่าขาดประโยชน์,รถชน,อุบัติเหตุ,รถเฉี่ยว,ซ่อมรถ,ค่าชดเชย,เรียกร้องค่าเสียหาย,รถโดนชน,ค่าเสียโอกาส,อุบัติเหตุอุบัติเหตุรถชน,รถชนทำอย่างไร,รถชนทำยังไง

10,688 ครั้ง
|
03 ก.พ. 2564
เมื่อรถของคุณเกิดอุบัติเหตุ และคุณคือฝ่ายถูก แต่รถของคุณเสียหาย จนต้องนำรถไปซ่อมอยู่หลายเดือน ซึ่งระหว่างนั้น คุณไม่มีรถใช้งาน คุณต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางด้วยรถสาธารณะ หรืออาจจะเสียค่าใช้จ่ายยุบยิบหยุมหยิมไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ทั้งๆ ที่คุณเป็นฝ่ายถูก และเป็นฝ่ายขับขี่อย่างปลอดภัย แต่คุณกลับโชคร้าย รถถูกชน จนต้องตกอยู่ในสภาพที่รถก็ต้องซ่อม เสียเวลาทำมาหากิน รถไม่มีขับ แต่คุณรู้หรือไม่ คุณมีสิทธิ์ได้เงินมากสุดถึงหลักแสน!
 
Tero news มีโอกาสพูดคุยกับ นายชัยยุทธ มังศรี ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ถึงรายละเอียดอันเป็นข้อควรรู้ในเรื่องของ “การเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ และเรียกร้องอย่างไรให้ได้ 100%”
 
TERO HOT SCOOP : สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป
 

- ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร?

 
นายชัยยุทธ เปิดเผยกับทีมข่าวว่า ประชาชนทั่วไปอาจจะไม่ทราบ และไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร และมีกระบวนการขั้นตอนอย่างไรบ้าง ซึ่งที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า น้อยคนนักจะรู้ว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเราเป็นฝ่ายถูก และรถเราทำประกันรถยนต์ไว้ เราสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้”
 
นายชัยยุทธ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. อธิบายว่า ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ก็คือ เงินชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุที่ฝ่ายถูก สามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี(ฝ่ายผิด) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในช่วงที่รถต้องนำไปซ่อม หรือในช่วงที่ไม่มีรถใช้ และต้องดูว่ารถคู่กรณีที่ชนรถเรามีประกันภาคสมัครใจหรือไม่ ถ้ามี และเป็นฝ่ายผิด ก็สามารถเรียกค่าขาดประโยชน์ได้
 
โดย คปภ. ได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ แบ่งไว้ 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
- กลุ่มที่ 1 รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
- กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
- กลุ่มที่ 3 รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
 
TERO HOT SCOOP : สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป
 

- เอกสารที่ต้องเตรียม

ส่วนเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้สำหรับเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นายชัยยุทธ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. ได้ไล่เรียงไว้ให้ดังต่อไปนี้ 
 
1. รูปถ่าย ตอนเกิดอุบัติเหตุ
2. ถ่ายรูป หรือถ่ายสำเนา ใบเคลมสำหรับซ่อมทั้งของท่านและของคู่กรณี 
3. ตอนส่งรถเข้าอู่ซ่อม ใบแจ้งซ่อม ใบรับรถจะต้องระบุวันที่อย่างชัดเจน และทำสำเนาเก็บไว้
4. หลังจากที่ซ่อมเสร็จ ให้ขอสำเนาเอกสารจากอู่ซ่อม
- ใบรายละเอียดรายการซ่อม
ใบแจ้งซ่อม วันรับรถเข้าซ่อมและวันรับรถออก ต้องระบุวันที่อย่างชัดเจน
5. หนังสือแจ้งความจำนง พร้อมสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
6. สำเนาใบเคลมคู่กรณี
7. สำเนาบัตรประชาชน
8. สำเนาทะเบียนรถ
9. สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร
 
TERO HOT SCOOP : สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป
 

- ขั้นตอนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

โดย นายชัยยุทธ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. ได้ไล่เรียงกับทีมข่าวถึงขั้นตอนของการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ ให้ทีมข่าวฟังอย่างละเอียด ซึ่งทีมข่าวได้ย่อยข้อมูลไว้เป็นข้อๆ ให้คุณเข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้
 
1. เตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน
2. รวบรวมค่าใช้จ่ายในช่วงที่ต้องนำรถไปซ่อม หรือในช่วงที่ไม่มีรถใช้ เช่น ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นเพราะไม่มีรถยนต์ใช้, รายได้ที่หายไป เพราะขาดรถยนต์ที่ใช้ประกอบอาชีพ
3.แจ้งความจำนง ยื่นเรียกสินไหมจากบริษัทประกันของคู่กรณี โดยยื่นเอกสารให้ครบถ้วน
4.รอบริษัทประกันของคู่กรณีติดต่อกลับ จากนั้นทางบริษัทประกันของคู่กรณีจะส่งเอกสารให้เซ็นชื่อ และจ่ายค่าชดเชยในรูปแบบของเงินสด เช็ค หรือโอนเงินเข้าบัญชี
 
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บริษัทประกันของคู่กรณีติดต่อกลับมา ท่านอาจจะโดนต่อรองราคา ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. เรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจำนวน 90,000 บาท แต่ทางบริษัทประกันของคู่กรณี เสนอชดใช้เงินเพียง 40,000 บาท และถ้านาย ก. ไม่ยอมรับเงิน 40,000 บาท ท่านสามารถร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อให้ คปภ. ช่วยไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้
 
“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ท่านเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 90,000 บาท แต่ท่านเกิดความกังวลว่า ท่านจะได้เงินจำนวน 90,000 บาทเต็มจำนวน 100% หรือไม่ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่า 1.ท่านมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนหรือไม่ 2.ท่านมีใบเสร็จจากการเช่ารถหรือไม่ และ 3.ท่านมีการรวบรวมค่าใช้จ่ายในช่วงที่ต้องนำรถไปซ่อมหรือไม่ หากท่านมีครบถ้วนตามที่กล่าวมา แน่นอนว่า บริษัทก็จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ตามข้อเท็จจริงเต็มจำนวน” นายชัยยุทธ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ.
 
TERO HOT SCOOP : สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป
 

ตกลงกันไม่ได้ ไปต่อที่ คปภ. 

ในกรณีที่บริษัทประกันของคู่กรณีและผู้ร้องเรียน ไม่สามารถตกลงจำนวนเงินกันได้ และจะมีกระบวนการขั้นตอนอย่างไรต่อไปนั้น นายชัยยุทธ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. แนะนำไว้ให้ประชาชนทั่วไป ดังต่อไปนี้
 
1.เมื่อท่านรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงาน คปภ. ทุกจังหวัด 
2.ทาง คปภ. จะเรียกบริษัทประกันของคู่กรณีให้เข้ามาชี้แจง เพื่อซักถามถึงเหตุผลที่บริษัทปฏิเสธจ่ายเงินชดเชย
3.เจ้าหน้าที่ คปภ. จะเรียกให้ผู้ร้องเรียน และบริษัทประกันของคู่กรณีมาพูดคุยหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีเจ้าหน้าที่ คปภ. เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 
 
TERO HOT SCOOP : สอนวิธีเรียกค่าชดเชย รถโดนชน เป
 

ไม่จบที่ คปภ. ไปต่อที่ ศาล

เมื่อกระบวนการดำเนินมาถึงสำนักงาน คปภ. แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อสรุป หรือตกลงกันได้ จากนั้น เรื่องจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอีกครั้ง โดยผู้ไกล่เกลี่ย คือ ผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนนอก เพื่อให้เห็นว่าการดำเนินการครั้งนี้เป็นกลาง
 
“แต่ถ้าเรื่องราวไม่สามารถยุติได้ ผู้ร้องสามารถยื่นเสนอข้อพิพาทกับอนุญาโตตุลาการ ซึ่งกระบวนการนี้ จะเป็นการชี้ขาด โดยมีการสืบพยาน แต่จะใช้เวลาไม่นาน ไม่มีพิธีรีตองมากมาย เหมือนกับการขึ้นศาลทั่วไป แต่จะต้องเสียค่าป่วยการ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท” นายชัยยุทธ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. กล่าว 
 
“ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” อันเป็นเงินหมื่นเงินแสนที่ฝ่ายถูกควรจะได้
แต่เป็นเรื่องที่น้อยคนนักจะรู้ ฉะนั้น เสียเวลาศึกษาข้อมูลสักนิด 
เพื่อให้ได้มาซึ่ง “สิ่งที่คุณควรจะได้”.
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง