ในช่วงของวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลต่อพิษเศรษฐกิจ ทำให้หลายคนต้องพบกับความยากลำบากทั้งการใช้ชีวิต รายได้หดหาย ไปทำงานไม่ได้ ร้านปิดกิจการ ถูกลดเงินเดือน แม้ว่า รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีสุดยอดมาตรการเยียวยาช่วยเหลือประชาชน แต่ก็เกิดคำถามว่า เหตุใดมาตรการแต่ละอย่างที่ออกมาประชาชนชาวไทยไม่ได้รับอย่างถ้วนหน้า แต่มีการจำกัดสิทธิ์ จำกัดจำนวน พร้อมเงื่อนไขมากมาย ต่างจากสิทธิ์เยียวยาในหลายประเทศที่ส่งถึงทุกบ้านทุกครัวเรือนอย่างเท่าเทียม
วันนี้เราขอพาทุกคนย้อนส่องข้อมูลแต่ละโครงการว่าที่ผ่านมา รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เยียวยาช่วยเหลืออะไรเราไปแล้วบ้าง??
▪️มาตรการช่วยเหลือ #เราไม่ทิ้งกัน (ไม่ได้ทุกคน)
มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลโดยจะโอนเงินจำนวน 5,000 บาท รวม 3 งวด เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท ให้กับผู้ผ่านสิทธิ์ในการลงทะเบียน เมื่อลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์แล้วจะมีการตรวจสอบว่าผ่านสิทธิ์หรือไม่? แต่ประชาชนไม่ทราบเลยว่ากระบวนการ เกณฑ์ในการพิจารณาเป็นอย่างไร ? จนทำให้หลายคนไม่ได้รับสิทธิ์ ตกหล่น ได้รับเงินโอนช้า เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบปัญหาระบบในการลงทะเบียนที่มีขั้นตอนเยอะ เช่น เว็บไซต์ล่ม ไม่สามารถกรอกที่อยู่ได้ รหัส OTP ยืนยันมาไม่ถึงผู้ลงทะเบียน ข้อมูลให้กรอกเยอะเกินไป รวมถึงมีข้อจำกัดที่ว่า แล้วคนที่เดือดร้อนจาก Covid-19 แต่เข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ก็พลาดสิทธิ์ในการลงทะเบียนในโครงการนี้ ?
▪️โครงการ #เราเที่ยวด้วยกัน (ไม่ได้ทุกคน)
เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สนับสนุนการสร้างงานและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวม โดยสิทธิ์ของผู้เข้าร่วมโครงการนี้คือ
▪️สนับสนุนค่าโรงแรม 40% ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้องต่อคืน ▪️สนับสนุนคูปองอาหาร/ท่องเที่ยวมูลค่า 900* บาทต่อห้องต่อคืน ▪️สนับสนุนค่าเดินทางโดยเครื่องบิน เงื่อนไขของสถานประกอบการ ที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ได้มีดังนี้
▪️โรงแรม/ที่พัก ที่มีใบอนุญาตประกอบการธุรกิจโรงแรม และโรงแรมหรือที่พักที่ไม่มีใบอนุญาตแต่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
▪️ร้านอาหาร ที่มีการประกอบกิจการจริง และปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการรัฐ
▪️สถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการที่จดทะเบียนนิติบุคคล
▪️กิจการ OTOP ที่มีใบอนุญาตประกอบการตามกระทรวงมหาดไทย
▪️กิจการสุขภาพและความงาม ที่เป็นธุรกิจสปาหรือนวดเพื่อสุขภาพ
▪️กิจการให้เช่า รถ, เรือ ที่เป็นธุรกิจขนส่งภาคการท่องเที่ยว ???????? ข้อจำกัดของโครงการนี้คือ มีโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชน อย่างทั่วถึง รวมถึงมีบางสถานประกอบการขึ้นราคาที่พัก-บริการด้วย // มีข้อกำหนดสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ยิบย่อย เช่น ต้องไปเช็คอินในวันนั้นถึงจะได้คูปองส่วนลด คูปองส่วนลดใช้ได้ในร้านที่กำหนดเท่านั้น การคืนเงินสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบินเป็นไปอย่างล่าช้า
▪️โครงการ #คนละครึ่ง (ไม่ได้ทุกคน)
รัฐช่วยจ่าย 50% ผู้ได้รับสิทธิจ่ายเอง 50% โดยใช้สิทธิผ่านแอปฯ เป๋าตัง จำกัดสิทธิไม่เกิน 150 บาท/วัน โดยที่ยอดรวมการใช้สิทธิ “คนละครึ่ง” ไม่เกิน 3,500 บาท ตลอดโครงการ โดยในเฟสที่ 1 จำกัดผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ล้านสิทธิ์ และ เฟสที่ 2 อีก 5 ล้านสิทธิ์ โครงการคนละครึ่งจะจบสิ้นในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ????????ข้อจำกัดของโครงการนี้คือไม่ใช่สิทธิ์ถ้วนหน้าแต่ประชาชนต้องมาแย่งกันลงทะเบียนเพื่อให้ได้สิทธิ์ บางรายได้รับรหัส OTP ช้า จนทำให้ลงทะเบียนไม่ทัน ในกลุ่มที่ใช้งานสมาร์ทโฟนไม่เป็นหรือเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตก็จะไม่ได้รับสิทธิ์,ขั้นตอนการใช้งานทั้งหมด 100% ต้องผ่านแอปบนสมาร์ทโฟน ก็จะทำให้คนที่เดือดร้อนแต่ไม่ได้มีสมาร์ทโฟน ก็จะเข้าร่วมโครงการนี้ไม่ได้ เช่นเดียวกัน
▪️อนาคต แผนการฉีด #วัคซีน “ฟรี” เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 (????????ได้ทุกคน)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อมูลผ่านแฟนเพจเผย รัฐบาลมีแผนการฉีดวัคซีน “ฟรี” เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนชาวไทยให้ได้อย่างน้อย 50% หรือครึ่งประเทศ ภายในปีนี้ โดยใน “ระยะเร่งด่วน” จะได้รับวัคซีนฯ ล็อตแรก 2 ล้านโดส โดย 2 แสนโดสแรก (เดือน ก.พ.) ตั้งเป้าจะฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์และผู้สูงอายุก่อน โดยรัฐบาลจะทยอยอนุมัติและส่งมอบวัคซีน รวมเป็น 63 ล้านโดส และมีการผลักดันผลิตวัคซีนให้ได้ กำลังการผลิตที่ 200 ล้านโดสต่อปี โดยรัฐบาลยืนยันว่า วัคซีนโควิดนี้คนไทยจะได้รับการฉีดฟรี! . โดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่าจะมีการเปิดลงทะเบียนผู้ฉีดวัคซีน กลุ่มเสี่ยงในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ และ กำหนดฉีดวัคซีน 3 ระยะ ได้แก่
▪️ระยะแรก 2 ล้านโดส ก.พ.- เม.ย.จำนวน 1.32 ล้านคน ในพื้นที่เสี่ยงสูง 5 จังหวัด
▪️ระยะที่ 2 จำนวน 26 ล้านโดส ฉีดช่วง พ.ค.- มิ.ย. กลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ
▪️ระยะที่ 3 ปลายปี 2564 ถึงต้นปี 2565 ฉีดประชาชนทั่วไป
ข่าวดีๆ แบบนี้คงต้องมาลุ้นและติดตามกันต่อไปว่า วัคซีน โควิด-19 ของรัฐบาลไทย ที่กำลังจะมาถึงนี้ ใครได้รับสิทธิ์ฉีดก่อนฉีดหลัง ใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณาสิทธิ์ การลงทะเบียนจะยุ่งยากเหมือนเดิมอีกหรือไม่? ต้องไปฉีดที่ไหน? จะประสบปัญหาและมีข้อจำกัดเหมือนอย่างหลายโครงการที่ผ่านมาหรือไม่? ก่อนจะถึงวันนั้น ก็ขอภาวนาให้คนไทยสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรค ปลอดภัย จนกว่าจะได้ฉีดวัคซีนอย่างถ้วนหน้าทุกคน