เปิดเงินเดือน ‘นายก อบจ.’ ค่าตอบแทน ค่าตำแหน่ง เงินพิเศษ สรุปต่อเดือนได้เท่าไหร่?
logo รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน

เปิดเงินเดือน ‘นายก อบจ.’ ค่าตอบแทน ค่าตำแหน่ง เงินพิเศษ สรุปต่อเดือนได้เท่าไหร่?

รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน : การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และส่วนของสมาชิกสภาฯ (ส.อบจ.) ในวันที่ 20 ธ.ค.2563 พร้อมกันทั่วประ นายก อบจ.,เลือกตั้ง อบจ,เงินเดือน นายก อบจ.,เงินพิเศษ,ค่าตำแหน่ง,ค่าตอบแทน

129,914 ครั้ง
|
23 ธ.ค. 2563
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และส่วนของสมาชิกสภาฯ (ส.อบจ.) ในวันที่ 20 ธ.ค.2563 พร้อมกันทั่วประเทศ 76 จังหวัด ถือเป็นการกลับมาใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเศษ นับจากการทำรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
 
หลายคนสงสัยว่า เงินเดือนของนายก อบจ. และ ส.อบจ. อยู่ที่เท่าไหร่ 
 
ทีมงานรายรานรอดไปด้วยกัน ได้ตรวจสอบจาก “บัญชีอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน” จากระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินเดือนและค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ อัพเดตเมื่อปี 2560 ที่มีการอนุมัติเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีก 20 เปอร์เซ็นต์
 
ทั้งนี้ ค่าตอบแทน (เงินเดือน) นายก อบจ. 76 แห่ง และ สภา อบจ. 76 จังหวัด รวม 2,316 คน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง/เงินเพิ่ม ค่าตอบแทนพิเศษ 
 
โดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) รวมรายได้ต่อเดือน(รวมเงินเดือน+ค่าตำแหน่ง+ค่าตอบแทนพิเศษ) อยู่ที่ 75,530 บาท, 
 
รองนายก อบจ.(รวมเงินเดือน+ค่าตำแหน่ง+ค่าตอบแทนพิเศษ)  45,540 บาท, 
 
เลขานุการ นายก อบจ.(มีเงินเดือนอย่างเดียว) 19,440 บาท, 
 
ที่ปรึกษา นายก อบจ.(มีเงินเดือนอย่างเดียว) 13,880 บาท, 
 
ประธานสภา อบจ.(มีค่าตอบแทนรายเดือนอย่างเดียว) 30,540 บาท, 
 
รองประธานสภา อบจ. (มีค่าตอบแทนรายเดือนอย่างเดียว)  24,990 บาท
 
และ สมาชิกสภา อบจ. (ส.อบจ.) (มีค่าตอบแทนรายเดือนอย่างเดียว) 19,440 บาท
หากนำฐานเงินเดือน นายก อบจ. 76 แห่งมาคำนวณ "ค่าตอบแทน" ต่อปีจะใช้งบประมาณต่อคนอยู่ที่ 906,360 บาทต่อปี  
 
หากดำรงตำแหน่งนายก อบจ.ครบ 1 วาระ หรือ 4 ปี จะมีงบประมาณอยู่ที่ 3,625,440 
 
ถามว่า บทบาทหน้าที่ของนายก อบจ. อยู่ที่อะไรนั้น คำตอบคือ อบจ. มีภารกิจหลายประการมาก โดยมีหน้าที่พัฒนาจังหวัด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข อาชีพ สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น 
- จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคที่เทศบาลและ อบต. ทำไม่ได้ เพราะขาดงบประมาณ เช่น สร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย
 
- จัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งเทศบาลและ อบต. เช่น การก่อสร้างถนนสายหลัก
 
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น จัดรถบรรทุกน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้ง
 
- การใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น เช่น จัดให้มีสถานที่พักผ่อน สวนสาธารณะ
 
- บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง