เงินเดือนไม่ถึง 2 หมื่น กู้ซื้อบ้านได้กี่ล้าน อยากจะกู้ กู้อย่างไรให้ผ่าน? 
logo รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน

เงินเดือนไม่ถึง 2 หมื่น กู้ซื้อบ้านได้กี่ล้าน อยากจะกู้ กู้อย่างไรให้ผ่าน? 

รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน : มนุษย์เงินเดือนที่อยากมีบ้าน แต่รายได้มีไม่สูงนัก อาจเป็นเด็กจบใหม่ หรือแม้ทำงานมาสักระยะแต่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 มนุษย์เงินเดือน,กู้ซื้อบ้าน,กู้เงิน,เงินเดือน,เงื่อนไขกู้เงิน,เกณฑ์กู้ซื้อบ้าน

2,816 ครั้ง
|
02 ธ.ค. 2563
มนุษย์เงินเดือนที่อยากมีบ้าน แต่รายได้มีไม่สูงนัก อาจเป็นเด็กจบใหม่ หรือแม้ทำงานมาสักระยะแต่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท อาจจะกังวลและดูว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะหากหักค่าใช้จ่ายประจำวันหรือภาระอื่นๆแล้ว อาจเหลือเงินเก็บแค่ไม่กี่พัน ทำให้กลัวกู้ธนาคารไม่ผ่าน 
 
 
ยกตัวอย่างหากต้องการกู้ซื้อบ้านราคา 2-3 ล้าน ต้องมีเงินเดือนประมาณ 35,000-52,500 บาท แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนมีเงินเดือนน้อย จะกู้ซื้อบ้านไม่ได้ วันนี้ลองมาดูวิธีที่จะช่วยได้ครอบครองบ้านในฝันกัน 
 
 
ก่อนอื่นต้องประเมินความเป็นไปได้ในการกู้บ้าน โดยปกติธนาคารจะกำหนดเงื่อนไขของผู้กู้ให้สามารถแบกรับภาระหนี้ได้ที่ 40% ของรายได้ต่อเดือน และอัตราขั้นต่ำของเงินผ่อนชำระต่องวดเริ่มต้นประมาณล้านละ 7,000 บาท
 
 
 
โดยทั่วไปวงเงินที่เราสามารถกู้ได้ บ้านธรรมดาทั่วไปจะสามารถขอกู้ได้ถึง 85% ของราคาที่ประเมิน และขอกู้ได้ไม่เกิน 85% ของราคาซื้อขาย ระยะเวลาสัญญาการกู้จะมีตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจนไม่เกิน 30 ปี โดยอายุของผู้กู้กับระยะเวลาทำสัญญากู้ต้องไม่เกิน 70 ปี
 
 
มีตัวอย่างของเงินเดือนที่จะได้รับวงเงินโดยประมาณในการกู้ซื้อบ้านได้ (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร)
 
 
เงินเดือน 15,000 กู้ได้ 900,000 ผ่อนต่อเดือนประมาณ 6,000
เงินเดือน 20,000 กู้ได้ 1,200,000 ผ่อนต่อเดือนประมาณ 8,000
เงินเดือน 30,000 กู้ได้ 1,800,000 ผ่อนต่อเดือนประมาณ 10,000
เงินเดือน 40,000 กู้ได้ 2,400,000 ผ่อนต่อเดือนประมาณ 16,000
เงินเดือน 50,000 กู้ได้ 3,000,000 ผ่อนต่อเดือนประมาณ 20,000
เงินเดือน 60,000 กู้ได้ 3,600,000 ผ่อนต่อเดือนประมาณ 24,000
 
 
ทั้งนี้ การที่เรามีเงินเดือนไม่สูง หลักฐานทางการเงินไม่เพียงพอ อาจทำให้การอนุมัติเงินกู้มีความเสี่ยงที่จะไม่ผ่าน ดังนั้นจึงมีอีกวิธีคือ การกู้ร่วม ที่จะเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และอาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะการกู้เพิ่มจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น รวมถึงเป็นการกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้กู้ 
 
 
โดยผู้กู้ร่วมจำเป็นต้องเป็นคนในครอบครัวสายเลือดเดียวกัน เช่น พี่ น้อง พ่อ แม่ ลูก ที่นามสกุลเดียวกันหรือสามีภรรยา การกู้ร่วมซื้อบ้านถือว่าเป็นการมีภาระหนี้ร่วมกัน แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ขึ้นมา อีกคนหนึ่งก็ต้องรับหน้าที่จ่ายในส่วนนั้นด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น และก็ต้องมีการวางแผนดีๆ เพราะหากต้องการขายบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย หรือความสัมพันธ์แปรเปลี่ยนไป เช่น สามีภรรยาเลิกกัน ก็ต้องมีตกลงในการถือครองทรัพย์สินว่าบ้านจะเป็นของใคร ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินต่อ
 
 
นอกจากนี้การกู้ร่วม อาจเป็นการยืดเวลาในการผ่อนบ้านมากขึ้น เราผ่อนต่อเดือนลดลง ได้มีเงินเหลือไปทำอย่างอื่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องอย่าลืมว่า ระยะเวลาในการกู้ที่นานขึ้น ก็จะทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นตามไปด้วย เช่น จากเดิมผ่อน 25 ปี รวมจ่าย 2,500,000 บาท แต่หากจ่าย 30 ปี อาจต้องจ่าย 2,600,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
 
 
 
 
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/TQY4VY0UMFU