สสส. ร่วมกับจุฬาฯ และ มธ. เผยเด็กไทยเข้าสู่ภาวะ 'เป็นสาวก่อนวัย' เร็วขึ้น พร้อมแนะแนวทางป้องกันก่อนสายเกินแก้
logo TERO HOT SCOOP

สสส. ร่วมกับจุฬาฯ และ มธ. เผยเด็กไทยเข้าสู่ภาวะ 'เป็นสาวก่อนวัย' เร็วขึ้น พร้อมแนะแนวทางป้องกันก่อนสายเกินแก้

TERO HOT SCOOP : สสส. จับมือจุฬาฯ และ มธ. เปิดผลการศึกษาสถานการณ์การเข้าสู่วัยสาวของเด็กไทย พบมีแนวโน้มสูงขึ้น หลังเด็กมีประจำเดือนน้อยที่สุด 7 ป สสส.,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เป็นสาวก่อนวัย,ประจำเดือน,ยากดฮอร์โมน,สิทธิบัตรทอง

2,706 ครั้ง
|
29 ต.ค. 2563

สสส. จับมือจุฬาฯ และ มธ. เปิดผลการศึกษาสถานการณ์การเข้าสู่วัยสาวของเด็กไทย พบมีแนวโน้มสูงขึ้น หลังเด็กมีประจำเดือนน้อยที่สุด 7 ปี สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม  ชี้เด็กไทยเข้ารับ 'ยากดฮอร์โมน' ผ่านสิทธิบัตรทองราว 500 คนต่อปี

TERO HOT SCOOP : สสส. ร่วมกับจุฬาฯ และ มธ. เผยเด

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดแถลงผลการศึกษา “สถานการณ์การเข้าสู่วัยสาวของเด็กไทย” เพื่อเจาะลึกถึงสาเหตุปัจจัยและร่วมหาทางออก เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่พบทั่วโลกและส่งผลต่อภาวะสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาในระดับประชากรของสังคมไทยมาก่อน

TERO HOT SCOOP : สสส. ร่วมกับจุฬาฯ และ มธ. เผยเด

ศาสตราจารย์ ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง สถานการณ์การเข้าสู่วัยสาวของเด็กไทยว่า จากการสำรวจข้อมูลนักเรียนหญิงที่เป็นตัวแทนประเทศไทยจำนวน 8,161 ตัวอย่างจาก 95 โรงเรียนพบว่า เด็กหญิงไทยเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อยที่สุดที่อายุ 7 ปี อายุมากที่สุด 16 ปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยกลางของการมีประจำเดือนอยู่ที่อายุ 11 ปี
 
ทางทีมวิจัยพบว่า เด็กเข้าใจวิธีดูแลตัวเองช่วงมีประจำเดือนอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูง มีผลจากปัจจัยการเลี้ยงดูของครอบครัว และเนื้อหาวิชาเพศศึกษาในสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของการเป็นสาวของเด็กไทย ควบคู่กับ ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ เช่น การมีประจำเดือนครั้งแรกของมารดา ปัจจัยด้านกายภาพ เช่น ส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์ น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ระดับไขมันในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อไม่สมดุล และปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น การรับประทานขนม น้ำอัดลม ชา กาแฟ อาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารเสริม เช่น วิตามินต่างๆ และการใช้เครื่องสำอางเวชภัณฑ์ ส่งผลให้เด็กมีประจำเดือนครั้งแรกเร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

TERO HOT SCOOP : สสส. ร่วมกับจุฬาฯ และ มธ. เผยเด

ศาสตราจารย์ ดร.ปังปอนด์ กล่าวต่อว่า การรักษาทางภาครัฐ สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 8 ขวบ ซึ่งจะได้รับการรักษาผ่านตัวยาที่เรียกว่า 'ยาชะลอการเป็นประจำเดือน' ซึ่งสามารถเข้าใช้ยาตัวนี้ได้ตั้งแต่อายุ 8 ขวบและหยุดการให้ยาเมื่อตอน 13 ขวบ แต่ที่ผ่านมาจำนวนคนที่เข้ารับการรักษาค่อนข้างน้อยมาก โดย 1 ปีมีเด็กได้รับการรักษาเพียง 400-500 คน
 
ที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่เด็กที่ได้รับการรักษามาจากสิทธิของบุตรหลานข้าราชการ และสิทธิของบัตรทอง ซึ่งไม่สามารถครอบคลุมกับเด็กไทยทั้งหมด โดยได้มีการคำนวณว่า หากต้องช่วยเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้ ทางรัฐบาลต้องใช้เงินสำหรับค่ายา โดยประมาณปีละ 300,000 ล้านบาท  เนื่องจากต้องให้การรักษาเด็กตั้งแต่อายุ 9.4 ปี และต้องฉีดทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลาโดยประมาณ 3 ปี ซึ่งมูลค่าการใช้ยาอยู่ราว 88,596 บาท / คน

TERO HOT SCOOP : สสส. ร่วมกับจุฬาฯ และ มธ. เผยเด

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ได้กล่าวว่า สถานการณ์ ‘การเป็นสาวก่อนวัย หรือ Early Puberty’ เป็นประเด็นที่วงการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากมีหลักฐานชี้ชัดว่าการเข้าสู่วัยสาวเร็วเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น สุขภาพจิต สุขภาพของระบบอนามัยการเจริญพันธุ์ เบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน และการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์นี้ถือเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ สสส. ให้ความสำคัญเพราะหากเราสามารถปรับวิธีดูแลเด็กไม่ให้เป็นสาวก่อนวัย
 
นางสาวณัฐยา กล่าวเสริม สสส. พบว่างานวิจัยสถานการณ์การเริ่มเป็นสาวของเด็กหญิงในประเทศไทยที่สามารถนำมาอ้างอิงในระดับประเทศยังไม่เคยมีมาก่อน ส่วนใหญ่จะสำรวจในระดับพื้นที่เท่านั้น จึงเป็นที่มาของการสนับสนุนโครงการวิจัยในครั้งนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง