'นิด้าโพล' เผยสำรวจ พบประชาชนส่วนใหญ่ หนุนจำคุก-ตัดสิทธินักการเมืองคอร์รัปชั่น แนะเพิ่มบทลงโทษให้หลาบจำ
“นิด้าโพล” เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การแก้ไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งและคอร์รัปชัน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 21 มิ.ย. 57 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 1,259 คน เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งและคอร์รัปชัน
เมื่อถามถึง "วิธีการแก้ไขปัญหาการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง" พบว่า
ร้อยละ 38.70 ระบุว่า ผู้สมัครที่ซื้อเสียง ต้องได้รับโทษจำคุก และถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต
ร้อยละ 28.61 ระบุว่า เพิ่มบทลงโทษกับหัวคะแนนที่ช่วยผู้สมัครซื้อเสียง ให้มีความผิดมากกว่าผู้สมัคร ร้อยละ 13.14 ระบุว่า ผู้สมัครต้องแจกแจงที่มาของเงินที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงการแจกแจงทรัพย์สินก่อนและหลังการเลือกตั้ง
ร้อยละ 9.24 ระบุว่า กรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด ต้องไม่ใช่ข้าราชการประจำ และต้องไม่มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ
ร้อยละ 6.41 ระบุว่า ให้รัฐบาล จ่ายค่าเดินทางแก่ประชาชน ผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ร้อยละ 2.20 ระบุว่า อื่น ๆ ควรเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้น ทั้งผู้สมัครและหัวคะแนน และแก้ไข ที่ตัวบุคคลโดยปลูกจิตสำนึกตั้งแต่วัยเด็ก
เมื่อถามถึง "วิธีการที่อาจจะช่วยแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันของนักการเมืองและข้าราชการ" พบว่า
ร้อยละ 24.93 ระบุว่า เพิ่มบทลงโทษ ผู้ที่ทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยการยึดทรัพย์ เป็น 3 เท่า ของมูลค่าทรัพย์สินที่คอร์รัปชัน
ร้อยละ 23.26 ระบุว่า ให้คดีคอร์รัปชัน ไม่มีวันหมดอายุความ
ร้อยละ 13.49 ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ทุกระดับ ต้องแจกแจงบัญชีทรัพย์สินเป็นประจำทุก ๆ ปี
ร้อยละ 12.23 ระบุว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรมีอำนาจในการตรวจสอบภาคเอกชน
ร้อยละ 10.40 ระบุว่า เพิ่มบทลงโทษสูงสุด ผู้ที่ทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยการประหารชีวิต
ร้อยละ 9.06 ระบุว่า มีระบบคุ้มครองพยานที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามการทุจริต
ร้อยละ 4.66 ระบุว่า กระจายอำนาจและการทำงานของ ป.ป.ช. ด้วยการจัดตั้ง ป.ป.ช. ประจำกระทรวง (มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ)