ในเศรษฐกิจแบบนี้ บวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ยิ่งซ้ำเติมภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละครอบครัว ผมเชื่อว่าหลายครอบครัวอาจเจอปัญหารายจ่ายบานตะไท รายได้ที่เข้ามาก็แค่หยิบมือ โดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอม ช่วงเวลาสำคัญของลูกๆ หัวแก้วหัวแหวน หลายครอบครัวคงหนีไม่พ้นเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นทุนการศึกษาของลูกหลาน ซึ่งผู้ปกครองอาจต้องไปกู้หนี้ยืมสินหยิบยืมเงินจากแหล่งต่างๆ มาใช้จ่ายเพื่อแก้ขัด
ล่าสุด ถือเป็นข่าวดีของเหล่านักเรียน และพ่อแม่ผู้ปกครองเลยก็ว่าได้ครับ เพราะ กยศ. หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ที่สามารถกู้ยืมเงิน อธิบายง่ายๆ ก็คือ การปรับเกณฑ์ครั้งนี้จะช่วยให้ครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์มีโอกาสได้เข้ามากู้ยืมได้เพิ่มขึ้น และถ้าถามว่าปรับเกณฑ์ยังไงล่ะ
โดยแต่เดิม กยศ.จะให้กู้ยืมเงินเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี แต่ด้วยเศรษฐกิจแบบนี้ ทาง กยศ.ได้ปรับเกณฑ์ใหม่ โดยขยายวงเงินรายได้ของครอบครัวเป็นไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี ทีนี้ก็จะช่วยให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสเข้ามากู้ยืมเพิ่มขึ้น และครอบคลุมได้หลายครอบครัวมากขึ้น
นอกจากนี้ ทาง กยศ.ยังมีการปรับเพิ่มค่าครองชีพรายเดือนเพิ่มอีกรายละ 600 บาทต่อเดือน ในส่วนของนักเรียน ม.ปลาย จากเดิม 1,200 บาท เพิ่มเป็น 1,800 บาทต่อเดือน ส่วนนักเรียนนักศึกษา ระดับ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี จากเดิมได้รายละ 2,400 บาทต่อเดือน เพิ่มป็น 3,000 บาทต่อเดือน แม้หลายคนอาจมองว่า อาจจะดูเป็นเม็ดเงินที่ไม่ได้มากมายนัก แต่เชื่อว่าช่วยจุนเจือหลายครอบครัวได้ไม่มากก็น้อย
ให้ผู้ปกครองนำไปใช้จ่ายดูแลบุตรหลานในด้านการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 34,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 6,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ปล่อยกู้ 28,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการของผู้ปกครองที่มีความจำเป็นต้องกู้ยืมมากขึ้น ในช่วงสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังระบาด ซึ่งมีผลกระทบต่อการหารายได้และภาวะเศรษฐกิจแบบนี้
+ อ่านเพิ่มเติม