รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูกหลัก เสี่ยงผิวไหม้ ตุ่มน้ำพอง แนะวิธีเช็กตัวเอง อาการนี้เสี่ยงแน่
logo TERO HOT SCOOP

รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูกหลัก เสี่ยงผิวไหม้ ตุ่มน้ำพอง แนะวิธีเช็กตัวเอง อาการนี้เสี่ยงแน่

TERO HOT SCOOP : จากกรณีที่มีหญิงสาวรายหนึ่งปวดฟันคุด แล้วซื้อ ยาไอบูโพรเฟ่น มารับระทานแล้วเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง จนผิวหนังเกิดอาการพุพองไหม้ดำท สาวปวดฟันคุด,ยา,ไอบูโพรเฟ่น,ยาไอบูโพรเฟ่น,แพ้ยา,อาการแพ้ยา,ไอบูโพรเฟ่นคืออะไร,อย,อาหารและยา,ไอบูโพรเฟน,ยาไอบูโพรเฟน

57,129 ครั้ง
|
04 มิ.ย. 2563
จากกรณีที่มีหญิงสาวรายหนึ่งปวดฟันคุด แล้วซื้อ ‘ยาไอบูโพรเฟน’ มารับระทานแล้วเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง จนผิวหนังเกิดอาการพุพองไหม้ดำทั้งตัว กระทั่ง เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างถึงอันตรายของยาไอบูโพรเฟน ตามที่รายงานไปแล้วนั้น
 
 
 
TERO HOT SCOOP : รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูก
 
ขณะที่ ประชาชนจำนวนมากตั้งข้อสงสัยถึงอันตรายและความเสี่ยงของยาดังกล่าว ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ จึงได้สอบถามไปยัง เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  เพื่อสอบถามรายละเอียดอันเป็นประโยชน์ที่ประชาชนควรรู้…
 
 
 
TERO HOT SCOOP : รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูก
 
 
โดย ภก.สุภัทรา รองเลขาธิการ อย. ได้กล่าวถึงอาการของหญิงสาวรายดังกล่าวว่า “นั่นเป็นอาการแพ้ยาไอบูโพรเฟนอย่างรุนแรง ซึ่งจะรู้สึกเจ็บปวดร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดผื่นแดง ซึ่งตรงกลางของผื่นมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง ซึ่งผื่นจะลุกลามจนกระทั่งพุพอง และช่องปาก ริมฝีปาก จมูกเกิดอาการพุพอง บางครั้งอาการหนักถึงขั้นผิวไหม้ลอกเป็นสีดำไหม้ “
 
 
 
 
           ยาไอบูโพรเฟน ใช้เพื่อแก้อาการอะไร?
 
เมื่อสอบถามถึงข้อมูลเฉพาะของยาไอบูโพรเฟน ภก.สุภัทรา รองเลขาธิการ อย. ให้ข้อมูลว่า “ไอบูโพรเฟนเป็นยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาอันตรายต้องสั่งจ่ายผ่านเภสัชกรเท่านั้น"
 
"โดยยาไอบูโพรเฟนใช้รักษาอาการปวดหัว ปวดฟัน ไมเกรน ปวดประจำเดือน หรือใช้ลดไข้ แก้อักเสบตามข้อ รวมถึงอักเสบกล้ามเนื้อ เอ็น จากการบาดเจ็บต่างๆ” ภก.สุภัทรา รองเลขาธิการ อย. กล่าว
 
 

                ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานร่วมกับอะไร?

 
- ฤทธิ์ของยาส่งผลเสียต่อกระเพาะและลำไส้ ดังนั้น ต้องรับประทานหลังอาหารทันที เนื่องจากยาสามารถกัดกระเพาะได้
- ห้ามรับประทานร่วมกับยากลุ่มแอสไพริน เนื่องจากมีผลข้างเคียง คือ การกัดกระเพาะเช่นกัน
 
 
TERO HOT SCOOP : รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูก
 
 

           หากรับประทานยาไอบูโพรเฟน และมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที!

- มีอาการลมพิษ
- มีอาการคัน
- ความดันสูง
- เป็นไข้
- เกิดผื่นแดง
- เกิดตุ่มน้ำพอง
 
 
 

           วิธีปฐมพยาบาล

 
- หยุดรับประทานยาทันที
- บรรเทาอาการเบื้องต้น ให้ประคบเย็น โดยใช้น้ำแข็งประคบ และใช้ผ้าพันแผลปิดเอาไว้ในบริเวณที่เกิดผื่น หรือบริเวณที่ผิวแสบร้อน
- นำยาที่รับประทานไปให้แพทย์ตรวจสอบ และเดินทางไปพบแพทย์ทันที
 
 
TERO HOT SCOOP : รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูก
 
 

           กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรรับประทาน

 
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ป่วยโรคกระเพาะ เนื่องจากมีฤทธิ์กัดกระเพาะอย่างรุนแรง
- ผู้ป่วยโรคตับ ไต เนื่องจากจะทำให้ตับและไตทำงานมากยิ่งขึ้น
- ผู้ป่วยไข้เลือดออก
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ
- ผู้ที่เคยแพ้ยาไอบูโพรเฟน
- ผู้ป่วยหอบหืด ภูมิแพ้ ลมพิษ
 
TERO HOT SCOOP : รู้จักยา ‘ไอบูโพรเฟน’ กินไม่ถูก
 

           ไอบูโพรเฟนกับโควิด-19 = ทรุดหนัก?

 
เมื่อสอบถามถึงกรณีที่ผู้ป่วยโควิด-19 รับประทานยาดังกล่าว ภก.สุภัทรา รองเลขาธิการ อย. ระบุว่า "ยาไอบูโพรเฟนมีผลข้างเคียงหลายประการ และเมื่อใช้ในผู้ป่วยโควิด-19 จะส่งผลให้ผู้ป่วยรายนั้นๆ มีอาการรุนแรงมากขึ้น"
 
"หากผู้ป่วยไม่ได้รับการซักประวัติการแพ้ยาจากแพทย์หรือเภสัชกร แนะนำว่า ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากผู้ป่วยจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงค่อนข้างมาก จึงอยากขอเตือนประชาชนว่า ไม่ควรซื้อยาในกลุ่ม NSAID (ยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) รับประทานเองโดยเด็ดขาด" ภก.สุภัทรา รองเลขาธิการ อย. กล่าว
 
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกเลิกคำแนะนำว่าผู้ที่มีอาการของ โควิด-19 ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่ม NSAID ยาไอบูโพรเฟน เพื่อลดไข้ในผู้ป่วยโควิด-19  
 
ต่อมา องค์การอนามัยโลกรายงานผลการศึกษา ซึ่งทำโดยการทบทวนวรรณกรรม และได้ข้อสรุปว่าจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงว่าการใช้ยากลุ่ม NSAID กับผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะส่งผลเสีย ได้แก่ การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์รุนแรง การต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเฉียบพลัน, ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการมีชีวิตอยู่ต่อ 
 
ในสหราชอาณาจักร ได้มีการทบทวนข้อมูลทางวิชาการเช่นเดียวกัน โดยศึกษาผลของการใช้ยาในกลุ่ม NSAID แสดงว่า ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่จะสนับสนุนว่าการใช้ยาในกลุ่ม NSAID แบบเฉียบพลัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโควิด-19 หรือทำให้โควิด-19 รุนแรงขึ้น
 
ล่าสุด ในวันที่ 2 มิถุนายน 2563 สถาบัน King’s College London ร่วมกับโรงพยาบาลกายส์ และโรงพยาบาลเซนต์โทมัส ในกรุงลอนดอน ได้ทำการทดลองใช้ยาไอบูโพรเฟน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 โดยบ่งชี้ว่า ยาไอบูโพรเฟน อาจช่วยรักษาอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัสโคโคนาที่มีอาการรุนแรงได้.