วิเคราะห์ชะตากรรมคนไทย หลังผ่อนปรน โควิด-19 สุขมากไม่ได้ ป่วยเพิ่มแน่ คาดวันจบชีวิตปกติ
logo TERO HOT SCOOP

วิเคราะห์ชะตากรรมคนไทย หลังผ่อนปรน โควิด-19 สุขมากไม่ได้ ป่วยเพิ่มแน่ คาดวันจบชีวิตปกติ

TERO HOT SCOOP : สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย หลังจากรัฐบาลสั่งอัดยาแรงปิดเมืองท้าชน ซึ่งผลปรากฎเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าจำนวนยอดผู้ติดเชื้อ แ สถานการณ์โควิด-19,มาตรการผ่อนปรน,ผ่อนผรนล็อกดาวน์,โควิด19,สาธารณสุข,ยอดผู้ติดเชื้อวันนี้,โควิด-19

15,712 ครั้ง
|
07 พ.ค. 2563

สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย หลังจากรัฐบาลสั่งอัดยาแรงปิดเมืองท้าชน ซึ่งผลปรากฎเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าจำนวนยอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตลดลงอย่างน่าพอใจ นำมาสู่มาตรการผ่อนปรนคืนชีวิตปกติให้ประชาชน ขณะเดียวกันก็เกิดความกังวลว่า เชื้อมรณะจะกลับมาระบาดอีกครั้ง...

 

TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ชะตากรรมคนไทย หลังผ่อน

 

โดยล่าสุด ประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 2,989 ราย ตรวจพบเพิ่ม 1 ราย รักษาหายแล้ว 2,761 ราย และเสียชีวิต 55 ราย (ข้อมูลวันที่ 6 พ.ค. 63)

 

 

ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง(ระดับ 10) นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ถึงสถานการณ์โควิด-19 หลังรัฐบาลออกมาตรการผ่อนปรน คนไทยจะต้องประสบพบเจออะไรหลังจากนี้?

 

 

TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ชะตากรรมคนไทย หลังผ่อน

 

            สถานการณ์โควิด-19 หลังมาตรการผ่อนปรน

           

นพ.รุ่งเรือง กล่าวถึงอนาคตข้างหน้า ภายหลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีมาตรการผ่อนปรนว่า “หลังมาตรการผ่อนปรน เราอาจจะพบตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้บ้าง แต่จะอยู่ในระดับที่เรายอมรับได้หรือไม่นั้น ทุกภาคฝ่ายต้องรอดูสถานการณ์ในภายภาคหน้า เพราะถ้าตัวเลขผู้ป่วยอยู่ในระดับ 10-100 ราย ถือว่าเป็นตัวเลขที่ยอมรับได้ แต่ถ้าเกินจากนั้น ก็ถือว่าเป็นบทเรียน" 

 

"เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้ ดังนั้น การตัดสินใจแต่ละอย่างอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่เราจะต้องเรียนรู้ว่า เราจะต้องป้องกันผลที่ตามมาอย่างไร” 

           

TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ชะตากรรมคนไทย หลังผ่อน

 

 

            ไทยพร้อมผ่อนปรนแล้วจริงหรือ?

 

นพ.รุ่งเรือง กล่าวกับทีมข่าวว่า ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่ต้องผ่อนปรน ซึ่ง ศบค. ก็ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องรอบคอบ โดยมี 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

 

1. การดูแลพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุด อย่างน้อยที่สุดให้เขามีกิน มีเครื่องนุ่งห่ม และมีแพทย์พยาบาลคอยรักษา แต่ต้องยอมรับว่าคงจะมีความสุขเหมือนเดิมไม่ได้

 

2. เรามีมาตรการเชิงบุกที่เราทำมากกว่าเชิงรุก เช่น การบุกเข้าค้นหาผู้ต้องสงสัย การแยกตัว และการเข้าไปส่งเสริมให้ความรู้

 

3. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ซึ่งเดิมประชาชนไม่ค่อยเข้าใจเรื่องโควิด-19 แต่ตอนนี้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น และครั้งนี้ต้องบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าพี่น้องประชาชนได้ออกมาร่วมมือกัน เราไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก

 

4. เรามีมาตรการหมัดน็อก เช่น ผู้ป่วยโควิด-19 ที่แม้ไม่มีอาการ แต่หากตรวจพบเชื้อจะสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ทันที รวมถึงมาตรการกักตัวผู้เข้าประเทศที่ตรวจพบเชื้อ

 

5. สุดท้าย คือ เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติทำได้ดีมาก โดยตอนนี้อยู่ภายใต้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

 

            คาดว่าสถานการณ์โควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่

“ยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งเหมือนกับการวิ่งมาราธอนที่มีระยะทางยาวนาน แต่หากว่าเราค่อยๆ ปรับตัว เราก็จะสามารถอยู่ร่วมกับเชื้อร้ายนี้ได้ และในวันหนึ่งธรรมชาติจะรักษาธรรมชาติเอง” นพ.รุ่งเรือง กล่าว

 

TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ชะตากรรมคนไทย หลังผ่อน

 

            เศรษฐกิจไทย จะเป็นอย่างไรต่อไป?

 
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี มองว่า ไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีในเฟสแรก หากไม่มีการแพร่ระบาดระลอกสอง แต่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงมาก จึงควรผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อให้คนกลับไปทำงาน มีรายได้ กิจการธุรกิจต่างๆ สามารถเปิดดำเนินการได้ แต่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งหากประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากมาตรการล็อกดาวน์ และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะมีผลกระทบไม่ต่ำกว่า 1.2-1.3 ล้านล้านบาท(หากไม่มีการติดเชื้อระลอกสอง) 
 
“ดังนั้น มาตรการกึ่งปิดเมือง แม้จะทำให้ไทยมีการติดเชื้อในระดับต่ำ แต่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงมาก หากการปิดเมืองยืดระยะเวลาออกไปอีก ประโยชน์ที่ได้จากการรักษาชีวิตผู้คนจากการติดเชื้อจะมีต้นทุนไม่คุ้มกับการที่คนจำนวนหนึ่งจะเสียชีวิตจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความตึงเครียดทางสังคม” นายอนุสรณ์ ให้ความเห็น
 
ทั้งนี้ หากติดเชื้อระลอกสองความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมต้องประเมินใหม่ และมาตรการเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาท (มาตรการการคลัง 1 ล้านล้านบาท มาตรการทางการเงิน 9 แสนล้านบาท) นั้น จะไม่เพียงพอในการบรรเทาและชดเชยผลกระทบในระยะสั้นจากการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ยกเว้นมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและลดการรั่วไหลได้ แต่งบประมาณจำนวนนี้ก็ไม่เพียงพอต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสำหรับอนาคตและกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะปานกลางหรือระยะยาวได้.