GC พลิกวิกฤติ COVID-19 ทดแทนการขาดแคลนทรัพยากร เร่งผสานความร่วมมือตามแนวทาง Circular Economy
logo TERO HOT SCOOP

GC พลิกวิกฤติ COVID-19 ทดแทนการขาดแคลนทรัพยากร เร่งผสานความร่วมมือตามแนวทาง Circular Economy

2,303 ครั้ง
|
13 พ.ค. 2563

         GC พลิกวิกฤติ COVID-19 ทดแทนการขาดแคลนทรัพยากร  เร่งผสานความร่วมมือตามแนวทาง Circular Economy 
"เปลี่ยนวิกฤต เป็นวิสัยทัศน์ เพื่อความยั่งยืนขององค์กรและประเทศ"

 
 

         

            จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ไม่มีใครคาดคิด มีผู้ติดเชื้อกว่า xx คน และเสียชีวิตกว่า xx คนทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” (Public Health Emergency of International Concern) จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ไม่เพียงแต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง แต่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนทั่วโลก

 

         จากการที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ได้ส่งผลกระทบต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข ในการที่จะรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที แต่ทว่าบุคลากรและทรัพยากรทางการแพทย์มีอยู่อย่างจำกัด เกิดปัญหาขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษา เกินขีดความสามารถที่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ จะรักษาและเยียวยาผู้ป่วยติดเชื้อได้ ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน และระบบการผลิตจนประสบปัญหาอยู่ในภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบ

 

        เช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลก เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการให้ภาคส่วนต่างๆ ปรับรูปแบบการดำเนินงาน เช่น ให้มีการ Work From Home (หรือการทำงานจากที่บ้าน) การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อ การหมั่นล้างมือ และการปฏิบัติตามหลัก Social Distancing (หรือการรักษาระยะห่างระหว่างกัน) ซึ่งผลจากการออกมาตรการดังกล่าว ได้สร้าง New Normal ในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย การสั่งสินค้าและบริการออนไลน์ การทำงานหรือเรียนผ่านระบบ Teleconference เป็นต้น

 

        การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น หน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่สะอาดปลอดภัย

 

          ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 และการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น การปรับใช้หลัก Circular Economy ถือเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดของทรัพยากรที่เรากำลังเผชิญ อีกทั้งเพื่อเตรียมการรับมืออย่างมีศักยภาพสำหรับอนาคต โดยการปรับใช้วัสดุ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน ไปพร้อมๆ กับการผสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน

 

           กลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC Group มีความห่วงใยในสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของคนในสังคม ได้เร่งพัฒนาแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์ ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ตามแนวทาง Circular Economy ของบริษัทฯ และการร่วมเสริมความแข็งแกร่งในการต่อสู้กับ COVID-19 พร้อมกับพันธมิตร ดังนี้

 

  • • การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถูกหลัก และตอบโจทย์ความต้องการ
    • ► Disposable Gown: GC สนับสนุนเสื้อกาวน์ 120,000 ตัว สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เสื้อกาวน์ดังกล่าวผลิตจากเม็ดพลาสติกประเภท PE (Polyethylene) แบรนด์ InnoPlus ซึ่งเป็นการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกทางการแพทย์ พร้อมกับการออกแบบตัดเย็บให้สวมใส่ง่ายสบาย ปลายแขนยาว น้ำหนักเบา ช่วยให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารคัดหลั่งและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วย
    • Medical Protective Suit: GC และบริษัทในกลุ่มร่วมสนับสนุนชุดอุปกรณ์ป้องกันที่ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 500 ชุด โดยมีคุณสมบัติป้องกันในลักษณะ Medical Suit มีมาตรฐานสูง ใช้เฉพาะในห้องผ่าตัดและ ICU สำหรับคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสแพร่กระจายของเชื้อสูง เพื่อป้องกันบุคลากรที่ทำหัตถการหรือที่อยู่ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น โดยการสนับสนุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือกับวชิรพยาบาล ซึ่งชุดอุปกรณ์ที่สนับสนุนแต่ละชุดประกอบไปด้วย
      • ♦ Isolation Gown: บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (HMC) บริษัทในกลุ่ม GC สนับสนุนเม็ดพลาสติก PP (Polypropylene) สำหรับผ้าสปันบอนด์ ผสม Meltblown เพื่อผลิตเป็นเสื้อกาวน์
      • หมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อ (PAPRs): GC ได้นำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาวัสดุ และเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ มาประยุกต์ใช้ในการขึ้นรูปกล่องกรองอากาศของอุปกรณ์ PAPR ต้นแบบ และการผลิต 3D Printed Face Shield ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ง่ายต่อการทำความสะอาดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70% โดยในส่วนของปีกหมวก (Visor) ผลิตจากเส้นใยที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพประเภท PLA/PBS Compound ทั้งนี้ GC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 30 ราย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ในการผลิตดังกล่าว
      • นอกจากนี้ในชุดอุปกรณ์ป้องกันระดับสูงยังประกอบไปด้วย: ผ้าคลุมหมวก ผลิตจาก เม็ดพลาสติกประเภท PET 100%, Coverall (PE), และ Shoe Cover (PP Spunbond)
    • Face Shield: GC ได้ส่งมอบหน้ากากปกป้องใบหน้า จำนวน 10,000 ชิ้น ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติก Polyethylene Terephthalate (PET) ของบริษัทฯ เพื่อป้องกันการสัมผัสสารคัดหลั่งและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วย และปกป้องใบหน้าของผู้สวมใส่
    • PE Films: GC สนับสนุนเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง InnoPlus ประเภท (LDPE/LLDPE/HDPE) ประมาณ 30 ตัน เพื่อผลิตฟิล์มพลาสติกกว่า 3,000 ม้วน ซึ่งผลิตโดยผู้ประกอบการพลาสติก 25 ราย เพื่อบริจาคแก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลกว่า 900 แห่งทั่วประเทศ โดยฟิล์มพลาสติกดังกล่าวมีความหนาตั้งแต่ 20-100 ไมครอน มีคุณสมบัติเหนียวแน่น คงทน ยืดหยุ่นได้ดี นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายในการป้องกัน ลดการแพร่เชื้อ ร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฉากกั้น, ผ้าปูเตียง, ฟิล์มห่อหุ้มเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
    • Upcycled Mask: ด้วยนวัตกรรม Upcycling ของ GC บริษัทฯ ได้ต่อยอดการนำทรัพยากรมากลับมาใช้ใหม่ ผ่านกระบวนการเพิ่มคุณค่าด้วยการสนับสนุนหน้ากากผ้าอัพไซคลิงกว่า 22,000 ชิ้น สำหรับประชาชนเพื่อสวมใส่ป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
    • บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ: GC ผนึกกำลังพันธมิตร สนับสนุนเซตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกสำหรับบรรจุอาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผ่านโครงการ "สู้ไปด้วยกัน l Stronger Together" ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆ กว่า 200 ร้าน ที่มีความจำเป็นต้องปรับการให้บริการขายอาหารผ่านระบบออนไลน์บนแอพพลิเคชั่น Wongnai และ LINEMAN โดยเซตบรรจุภัณฑ์พลาสติกนี้ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเภท Bio-PBS มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย เหมาะสำหรับการเดลิเวอรี เซตบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยชามใส่อาหาร ถุงหูหิ้ว และช้อนส้อม โดยบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นได้รับการรับรองด้วยฉลาก GC Compostable ซึ่งเป็นพลาสติกที่ผลิตจากพืช สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ การสนับสนุนในครั้งนี้สามารถลดปัญหาของขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อมรวมจำนวนกว่า 300,000 ชิ้น

 

  • • การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ
    • ► ตู้โควิเคลียร์: GC และบริษัท NPC S&E จำกัด บริษัทในกลุ่ม GC ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาตู้โควิเคลียร์ หรือตู้พ่นซิลเวอร์นาโนฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส COVID-19 รวมถึงสนับสนุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 2 ชนิดได้แก่ Glycerine และ Triethanolamine (TEA) ซึ่ง GC เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย ไว้ใช้ร่วมกับตู้โควิเคลียร์ ให้กับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จำนวน 13 ตู้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปที่จำเป็นต้องมาใช้บริการในโรงพยาบาล
    • Alcohol Gel: GC สนับสนุน Glycerine และ Triethanolamine (TEA) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทในกลุ่ม (GGC และ GC Glycol ตามลำดับ) เพื่อใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตเจลแอลกอฮอล์ 1,000,000 ขวด หรือประมาณ 50,000 ลิตร สำหรับโรงพยาบาล เพื่อแจกจ่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกับ กลุ่มบริษัทของ บริษัท ไทยเบเวอเรจ จำกัด (มหาชน) อีกทั้งยังได้ประสานและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ เช่น กองเรือยุทธการ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น

 

  • • การให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อ
    • การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง: การเผยแพร่วิธีการจัดการกับหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการกระจายของเชื้อไวรัสได้ พร้อมทั้งแนวทางการคัดแยกขยะประเภทอื่นๆ อย่างถูกต้อง
    • การให้ความรู้การทำหน้ากากอนามัย: ร่วมกิจกรรมโครงการให้ความรู้และป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ผ่านการสอนการทำหน้ากากอนามัยที่สามารถซัก และนำกลับมาใช้ใหม่ได้

 

           ด้วยพลังและความสามารถของคนไทย GC ขอเป็นหนึ่งแรงที่จะพัฒนาความร่วมมือผ่านการผสานพลังนวัตกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์จากภาคเอกชน เข้ากับองค์ความรู้จากภาคการศึกษาและการแพทย์ เพื่อฝ่าฟันวิกฤติในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญอีกหนึ่งขั้นที่ GC มุ่งหวังให้บุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยผ่านพ้นอุปสรรคของการระบาดของไวรัส COVID-19 ไปด้วยกันได้อย่างปลอดภัย

 

        จะเห็นได้ว่าในช่วงของการเผชิญหน้ากับการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นช่วงโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการต่อสู้กับวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและทั่วถึง การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสร้างความร่วมมือตามหลักปฏิบัติ Circular Economy

 

          การให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ นี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ทุกภาคส่วนสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในห่วงโซ่อุปทาน สร้างคุณค่าร่วมกัน เพื่อที่จะพาองค์กรกลับคืนสู่ภาวะปกติและแข็งแรงอีกครั้ง

 

         GC มุ่งมั่นที่จะสานต่อการเป็นหนึ่งพลัง ที่ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับสุขอนามัยของพวกเราทุกคนอย่างยั่งยืน