สำหรับข้อกำหนดในมาตรา 9 การบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีได้อ่านข้อกำหนด และข้อปฏิบัติแก้ส่วนราชการ ภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขและเวลา โดยมีข้อกำหนกปฏิบัติ 16 ข้อ ดังนี้
1.การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง โดยห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่ สถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่ผู้ว่าฯกทม. และผู้ว่าราชการจังหวัด กำหนดตามมติครม. เมื่อวันที่ 17 มี.ค.63 หรือ ตามที่ผู้ว่าฯกทม. หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อประกาศ หรือสั่งตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ
2.การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค โดยให้ผู้ว่าฯกทม.และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อพิจารณาสั่งปิดสถานที่ที่มีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 เป็นการชั่วคราว แต่แย่างน้อยให้สั่งปิดสถานที่ดังต่อไปนี้
1.) สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
2.) ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดง หรือการละเล่น สาธารณะ สถานประกอบการ อ่าง อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา ส่วนที่ออกกำลังกาย (ฟิตเนต) สถานบันเทิง ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น 3.ส่วนสถานที่อื่น เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุดสาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่ง หรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วนหรือทั้งหมด และอาจกำหนดเงื่อนไข และเงื่อนเวลา ตามความจำเป็น และเหมาะสม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกทม. แล้วแต่กรณี
3.) การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในการใช้ยานพาหนะ อากาศยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่น เพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปิดช่องทางเข้าออกด่าน จุดผ่านแดน หรือจุดผ่อนปรนตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคติดต่อ และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เว้นแต่เป็นกรณี หรือผู้มีเหตุยกเว้นตามที่นายกรัฐมนตรีอนุญาต เช่น ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น คณะทูต คณะกงศุล ผู้แทนรัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทำงาน หรือได้รับอนุญาตจากราชการให้ทำงานในราชอาณาจักร ส่วนเป็นผู้มีสัญชาติไทยให้ติดต่อสถานทูตออกใบรับรองให้ หรือมีใบรับรองแพทย์
4.การห้ามกักตุนสินค้า ทั้งยาเวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภค บริโภค ในชีวิตประจำวัน
5.การห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม ทำกิจกรรม หรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าว อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
6.การเสนอข่าว ห้ามเสนอข่าว หรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่างๆ ที่มีข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 อันไม่เป็นความจริง และอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กรณีให้เจ้าหน้าที่เตือนให้ระงับหรือสั่งให้แก้ไขข่าว หากรุนแรงให้ดำเนินคดีตามพรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 หรือพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน
7.มาตรการเตรียมรับสถานการณ์ 1.) ให้ผู้ว่าฯกทม.และผู้ว่าฯทุกจังหวัด เป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติ ในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ หากมีปัญหาให้รายงานกระทรวงมหาดไทย 2.) ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบ อันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐ 3.)ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องหายใจ หรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขกำหนด พร้อมเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ จากแหล่งต่างๆ และเตรียมสถานที่กักกัน หรือเตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มขึ้น โดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ เช่น โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอประชุม สถานที่ปฏิบัติธรรม ศาลาวัด อาคารเอกชนที่ยังไม่ได้ใช้งาน หรือสถานที่ราชการ เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว 4.) ในการกักตัวเองไว้สังเกตอาการ
8.มาตรการพึ่งปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท ให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย อยู่ในเคหสถาน หรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ จากสภาพแวดล้อมภายนอก 1.) ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป 2.) กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำตามธรรมชาติของโรค และด้วยยาที่ใช้รักษา 3.) กลุ่มเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา
ทั้งนี้เว้นแต่บุคคลดังกล่าว มีความจำเป็นเพื่อพบแพทย์ รักษาพยาบาล ทำธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน ตู้เอทีเอ็ม การสื่อสารมวลชน โทรคมนาคม และ ไปรษณีย์ การให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้า เพื่อให้อุปโภคบริโภค การจัดหาและซื้อขายอาหาร การติดต่อคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการหรือศาล
9.มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้มงวดในการตรวจลงตรา หรือออกวีซ่า หรือชาวต่างชาติที่ไม่มีกิจการ หรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรยังคงอยู่ในราชอาณาจักร
10.มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย ให้กทม. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดเวรยาม ตั้งจุดตรวจตามถนน เส้นทางคมนาคม สถานีขนส่ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ อาชญากรรม การรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคหรือฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชน หรือกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค หากพบให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
11.มาตรการป้องกันโรค ให้ทำความสะอาดสถานที่ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัส ให้ควบคุมผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด
12.นโยบายยังคงให้เปิดสถานที่ทำการ ทั้งโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารที่ไม่ใช่สถานบันเทิงหรือสถานบริการ และแผงจำหน่ายอาหาร ที่ผู้บริโภคซื้อไปบริโภคนอกสถานที่ โรงแรมในส่วนซึ่งเป็นที่พักอาศัยและร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้าในส่วนซึ่งเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาด และตลาดนัด ในส่วนซึ่งจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง ยังคงประกอบกิจการต่อไปตามปกติ
13.คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เวลานี้พึงงด หรือชะลอการเดินทางโดยไม่จำเป็น กรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามพื้นที่ต้องรับการตรวจคัดกรอง เพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามตัว มารับตรวจอาการ หรือกักกันตัว
14.คำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่นๆ เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเส้นไหว้บรรพบุรุษ พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีศพ พิธีสงกรานต์ กิจกรรมภายในครอบครัว ยังคงจัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค
15.โทษ กรณีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 1-6 ต้องรับโทษตามมาตรา 18 พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และอาจมีความผิดตามมาตรา 52 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 หรือมาตรา 41 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
16.ข้อกำหนดนี้บังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร