รอง ปลัด สธ.เผยผลตรวจสอบ กรณี 4 ครอบครัว ร้อง ลูกน้อยขาซ้ายอ่อนแรงหลังพาฉีดวัคซีน
logo ข่าวอัพเดท

รอง ปลัด สธ.เผยผลตรวจสอบ กรณี 4 ครอบครัว ร้อง ลูกน้อยขาซ้ายอ่อนแรงหลังพาฉีดวัคซีน

ข่าวอัพเดท : กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการตรวจสอบเด็ก 4 เคส ที่ฉีดวัคซีนจนขาซ้ายอ่อนแรง และเสียชีวิต ระบุเด็ก 2 คน ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน ส่วนอีก กระทรวงสาธารณสุข,เด็กขาซ้ายอ่อนแรง,วัคซีน,ฉีดวัคซีน

2,202 ครั้ง
|
15 ก.ค. 2562
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการตรวจสอบเด็ก 4 เคส ที่ฉีดวัคซีนจนขาซ้ายอ่อนแรง และเสียชีวิต ระบุเด็ก 2 คน ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน ส่วนอีก 2 คน อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล พร้อมช่วยเหลือเต็มที่
 
วันทที่ 15 ก.ค. จากกรณี นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี นำผู้เสียหาย 4 ครอบครัวใน 4 จังหวัด คือ ลพบุรี กาญจนบุรี ร้อยเอ็ด และนนทบุรี ที่นำลูกเข้ารับวัคซีน และหยอดโปลิโอ ในสถานบันสุขภาพเด็ก และโรงพยาบาล จนทำขาซ้ายของเด็ก 3 คน อ่อนแรง และเสียชีวิต 1 ราย เพื่อเข้าพบนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
 
ล่าสุด นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการตรวจสอบ และวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงในแต่ละเคส โดยเคสแรกเด็กหญิงวัย 2 เดือน จังหวัดลพบุรี พบว่าไม่ได้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน แต่เสียชีวิจจากโรคปอดอัดเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือกทำให้ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว ซึ่งยังต้องรอผลชันสูตรจากโรงพยาบาลตำรวจเพื่อยืนยันกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข
 
ขณะที่เด็กชายอายุ 4 ขวบ ได้เข้าฉีดวัคซีน และหยอดโปลิโอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางงาม จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี 2558 ขณะอายุ 2 เดือนเศษ ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน แต่เกิดจากเชื้อไวรัสค๊อกซากี ที่ทำให้ไขสันหลังอักเสบ ให้เกิดอาการอ่อนแรงของแขนขา ซึ่งขณะนี้ได้วางแผนในการดูแลทำกายภาพบำบัดกับสาธารณสุขตำบล เพื่อให้น้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และกลับมาได้ปกติมากที่สุด
 
ส่วนเด็กหญิงที่ขณะนี้อายุ 6 เดือน ฉีดวัคซีนที่หน้าขาซ้ายและหยอดโปลิโอขณะอายุได้ 2 เดือน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเบ็ญพาค จังหวัดกาญจนบุรี หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์เกิดอาการผิดปกติที่ขาซ้ายขยับไม่ได้ ซึ่งในเคสนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อเข้าคณะกรรมการจึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าอาการดังกล่าวมาจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ เนื่องจากมีการหยอดวัคซีนโปลิโอผ่านทางปากด้วย ซึ่งปกติจะมีข้อผิดพลาดจากการหยอดโปลิโอ 1 ใน 6 ล้านคน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็จะพยายามเปลี่ยนให้เป็นแบบฉีดทั้งหมด แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายยังสูง แต่คาดว่าในอนาคตจะสามารถทำได้ เบื้องต้นก็ได้ประสานกับสาธารณสุขจังหวัดในการวางแผนดูแล และเงินชดเชยจากผู้ป่วยบัตรทอง 
 
เคสที่ 4 เด็กชายที่ขณะนี้ 1 ขวบ 3 เดือน ที่ได้ฉีดวัคซีนหน้าขาซ้าย และหยอดโปลิโอทางปากที่โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี ประมาณ 2 สัปดาห์ ขาซ้ายไม่มีแรงขยับไม่ได้ อยู่ระหว่างประสานข้อมูล เนื่องจากโรงพยาบาลไม่ได้สังกัดอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข จึงยังไม่สามารถสรุปข้อมูลได้ 
 
เบื้องต้นจะให้การดูแลอย่างเต็มที่ทุกเคสไม่ว่าจะเกิดจากการฉีดวัคซีนหรือไม่