‘ตูน บอดี้สแลม’ พร้อมนักวิ่งกว่า 5 พันคน ร่วมวิ่งการกุศล หารายได้มอบให้ มูลนิธิ รพ.ม.นเรศวร ซื้อเครื่องมือแพทย์
logo ข่าวอัพเดท

‘ตูน บอดี้สแลม’ พร้อมนักวิ่งกว่า 5 พันคน ร่วมวิ่งการกุศล หารายได้มอบให้ มูลนิธิ รพ.ม.นเรศวร ซื้อเครื่องมือแพทย์

ข่าวอัพเดท : ‘ตูน บอดี้สแลม’ พร้อมนักวิ่งกว่า 5,000 คน ร่วมเดินวิ่งการกุศลโครงการ MED NU RUN ครั้งที่ 1 ‘ก้าวเพื่อต่อลมหายใจ’ เพื่อหารายได้มอบให้ ตูน บอดี้สแลม,MED NU RUN,ก้าวเพื่อต่อลมหายใจ,มูลนิธิโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร,เครื่องมือแพทย์,เครื่องช่วยหายใจ

8,808 ครั้ง
|
27 ม.ค. 2562
‘ตูน บอดี้สแลม’ พร้อมนักวิ่งกว่า 5,000 คน ร่วมเดินวิ่งการกุศลโครงการ MED NU RUN ครั้งที่ 1 ‘ก้าวเพื่อต่อลมหายใจ’ เพื่อหารายได้มอบให้มูลนิธิโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยเด็กวิกฤตและเครื่องมือแพทย์จำเป็น
 
วันที่ 27 ม.ค. 62 เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานการเปิดโครงการ MED NU RUN ครั้งที่ 1 ก้าวเพื่อต่อลมหายใจ 
 
โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์จตุวิทย์ หอวรรณภากร ประธานโครงการ MED NU RUN ครั้งที่ 1 ก้าวเพื่อต่อลมหายใจ นายเจษฎา ลิ้มศรีตระกูล นายอำเภอเมืองพิษณุโลก นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ‘ตูน’ บอดี้สแลม เข้าร่วมกิจกรรม
 
เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี แห่งการก่อสร้างคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้บริหาร อาจารย์แพทย์ นิสิตศิษย์เก่าและบุคลากร คณะแพทย์ศาสตร์ ร่วมกันจัดกิจกรรมวิ่งการกุศลเพื่อหารายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้มูลนิธิโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยเด็กวิกฤตและเครื่องมือแพทย์จำเป็นอื่น ๆ 
 
กิจกรรมในโครงการเป็นการจัดวิ่งเพื่อให้ประชาชนในเขตภาคเหนือตอนล่างประชาชนทั่วไปได้ร่วมดูแลสุขภาพร่างกายตนเองตามกำลังของตน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ Fun run 5 กิโลเมตร Mini marathon 10.5 กิโลเมตร Super half marathon 25 กิโลเมตร และ VIP ทุกระยะ รวมนักวิ่งจำนวน 5,000 คน และได้รับการสนับสนุนถ้วยรางวัลประเภท Over all 4 ระยะ จากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
 
การดำเนินงานที่ผ่านมาทางคณะแพทย์ศาสตร์ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นอย่างดียิ่ง สามารถจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจได้ประมาณ 3 เครื่องมูลค่าประมาณ 4,500,000 บาท รวมทั้งเครื่องมือแพทย์อื่นๆ อาทิ เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องมือสำหรับโรคหัวใจในผู้ใหญ่ รวมราคาทั้งสิ้นประมาณ 6 ล้านบาท 
 
เครื่องมือแพทย์ชุดดังกล่าว จะสามารถช่วยชีวิตเด็กป่วยในระยะวิกฤต เพื่อให้โอกาสการกลับมาหายใจเองได้เป็นปกติได้อีกครั้งตามพยาธิสภาพของผู้ป่วยในแต่ละคน ช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปยังส่วนกลางเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในเขตนี้กว่า 6 ล้านคน
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง