วิศวกร เข้าตรวจสอบอาคาร รื้อถอนย่านรามคำแหง เบื้องต้นยังระบุสาเหตุการผิดพลาดไม่ได้ เตรียมเรียกผู้เกี่ยวข้องเข้าสอบถาม ตั้งเวลา 3 เดือนรู้สาเหตุ
(8 ม.ค.62) ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร ลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุ อาคารที่กำลังรื้อถอนบริเวณ ปากซอยรามคำแหง 51/2 ที่เกิดเหตุชิ้นส่วนอาคารตกหล่นจนทำให้แผงกั้นการรื้อถอนล้มทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ ระบุว่า การรื้ออาคารจะต้องมีการออกแบบแผนการหรือถอนและจะต้องมีวิศวกรที่มีใบอนุญาตควบคุมงานตลอดการรื้อถอน ซึ่งขณะนี้จะต้องประสานกรมโยธาเพื่อขอข้อมูลมาตรวจสอบ รวมถึงเรียกผู้เกี่ยวข้องของบริษัทที่ทำการรื้อถอนมาสอบถามรายละเอียดว่าเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ระบุว่าใครเป็นคนผิด ซึ่งคาดใช้เวลา 3 เดือนในการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยหากพบว่าเข้าข่ายความผิดก็จะเพิกถอนใบอนุญาตวิศกรรมทันที
ขณะที่นายนพดล ฉายปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมอาคารการโยธาธิการกรุงเทพมหานคร ระบุถึงกรณีที่ทางเขตเคยมีคำสั่งระงับการรื้อถอนเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สาธารณะมีประชาชนสัญจรไปจำนวนมาก ประกอบกับมีผู้ร้องเรียนว่ามีเศษจากการรื้อถอนตกลงมาทำให้เกรงว่าประชาชนจะไม่ปลอดภัยจึงสั่งระงับไว้ก่อน เมื่อมาตรวจสอบพบว่าแผงกั้นที่ป้องกันวัสดุตกหล่นไม่เป็นไปตามแผนที่ยื่นกับสำนักงานเขตไว้ก่อนหน้านี้ สำนักงานเขตจึงให้ไปปรับปรุงและแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เรื่องดังกล่าวกลับเงียบไปกระทั้งเกิดเหตุขึ้น ซึ่งต่อจากนี้จะตรวจสอบถึงสาเหตุอีกครั้งว่ามาจากสาเหตุใด ซึ่งยังเร็วไปหากจะให้ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากสาเหตุมด เกี่ยวข้องกับการที่ทางเขตเคยสั่งให้ระงับการรื้อถอนมนข่วงเดือนตุลาคมหรือไม่
ด้าน รศ. เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. ระบุว่าจากการตรวจสอบพบว่าเหตุที่เกิดมีการขออนุญาตรื้อถอนถูกต้อง มีวิศวกรดูแลควบคุมงาน แต่ตัวอาคารเก่าคาดว่าน่าจะมีจุดที่ชำรุดที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เกิดการผิดพลาดขณะทำการรื้อถอน ซึ่งในส่วนของขั้นตอนการรื้อถอนถือว่ามีความสำคัญพอๆกับการก่อสร้าง เพราะต้องดูโครงสร้างและต้องวางแผนการดำเนินการให้รอบครอบ สำหรับอาคารของธนาคารออมสิน ที่อยู่ติดกับอาคารที่เกิดเหตุ เบื้องต้นทางสำนักงานเขตบางกะปิ มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข บริเวณขั้นที่เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยในระหว่างนี่ให้มีการหยุดใช้ตัวอาคารดังกล่าวจนกว่าจะมีการแก้ไข
+ อ่านเพิ่มเติม