แฉเงื่อนงำ ลดสเปกเหล็ก สร้างตึก สตง. เงินเข้ากระเป๋าใคร ? และข่าวดีมีความหวังปาฏิหาริย์ ใต้ซากตึก อาจมีโซนที่ยังไม่เสียหาย
วันที่ 4 เม.ย. 68 คุณ ยอด นคร 45 อัญวุฒิ โพธิ์อำไพ รองหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ มูลนิธิร่วมกตัญญู ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ว่า สถานการณ์หน้างาน 72 ชั่วโมงแรก จะเป็นการค้นหาอย่างระมัดระวังเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิต แม้ว่าจะเกินเวลาแล้วก็อาจยังมีความหวัง โดยใช้เครื่องมือหนักเข้าช่วย จนได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือ
รูปแบบการถล่มของตึก สตง. เป็นการถล่มแบบแพนเค้กที่ทับกันเป็นแนวตั้ง ทำให้การช่วยเหลือได้ยากและโอกาสรอดชีวิตน้อย จากข่าวลือว่ามีตู้คอนเทนเนอร์ให้คนงานหลบภัย พบรอบนอก 4 ตู้ ที่เป็นออฟฟิศสนาม นอกจากนี้ยังทราบว่าอาจจะมีชั้นใต้ดินที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย
คุณ วินท์ สุธีรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะสตีล จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า เหล็กในโครงสร้างตึก สตง. จะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน ปกติแล้วตามกฎหมายตึกในประเทศไทยจะต้องรองรับแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ได้ แต่เหตุการณ์นี้มีขนาดเพียง 4 ริกเตอร์ก็สามารถทำให้ตึกถล่มได้ ผลการตรวจสอบเหล็กของตึก สตง. พบว่าเป็นเหล็กที่ไม่เหมาะกับการนำมาสร้างตึกสูง เนื่องจากมีความแข็งและเปราะ จึงตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการลดสเปกเหล็ก ที่ราคาต่างกัน 10 เปอร์เซ็นต์ รวมมูลค่ากว่า 40-50 ล้านบาท เงินส่วนต่างนี้เข้ากระเป๋าใคร
ทนายเจมส์ นิติธร แก้วโต ทนายความ เล่าว่า หลังจากลงพื้นที่ พบว่ามีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวของผู้ประสบภัย ด้านการช่วยเหลือทางกฎหมาย นายจ้างหรือผู้รับเหมาหลักก็จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และสามารถขอเงินเยียวยาจากกองทุนยุติธรรม หากพิจารณาได้ว่าเป็นเหยื่อจากคดีอาญา ส่วนผู้ที่อยู่ตอนโดแล้วได้รับความเสียหาย ส่วนใหญ่จะมีประกันจากภัยพิบัติ ซึ่งสามารถถ่ายภาพความเสียหายแล้วนำไปเคลมได้
ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ภาพที่หลายคนสงสัยว่าทำไมเหล็กเส้นในซากตึก สตง. หลายชิ้นแทบไม่มีปูนติดอยู่เลย ทั้งที่โครงสร้างตึกเสร็จแล้ว เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะต้องนำปูนไปตรวจสอบต่อไปว่ามีคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่
ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.30-18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
+ อ่านเพิ่มเติม