กรมสรรพากร แจงกฎหมายใหม่ไม่ได้รีดภาษีผู้ค้าออนไลน์ ชี้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค. 63
logo ข่าวอัพเดท

กรมสรรพากร แจงกฎหมายใหม่ไม่ได้รีดภาษีผู้ค้าออนไลน์ ชี้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค. 63

ข่าวอัพเดท : กรมสรรพากร แจงร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (e-Payment) ให้ธนาคารส่งข้อมูลการโอนเงิน 400 ครั้ง และมีวงเงินเกิน 2,000,000 บาท กรมสรรพากร,กฎหมายออนไลน์,กฎหมายขายของออนไลน์,ธนาคาร,รีดภาษีออนไลน์,วิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี

3,832 ครั้ง
|
07 ธ.ค. 2561
กรมสรรพากร แจงร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (e-Payment) ให้ธนาคารส่งข้อมูลการโอนเงิน 400 ครั้ง และมีวงเงินเกิน 2,000,000 บาท ต่อปี ให้กรมสรรพากร ไม่ได้เป็นการละเมิด และรีดภาษีออนไลน์ แต่เพื่อนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค. 63
 
(7 ธ.ค.61) นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษก กรมสรรพากร เผยว่า ตามที่ สนช.ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับภาษีและธุรกิจ อีเพย์เม้นท์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม กรมสรรพากรยืนยันว่า ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล การรักษาความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูลอย่างถี่ถ้วนแล้ว
 
โดยเฉพาะรายละเอียด ด้านการขอให้ธนาคารส่งข้อมูลการ “รับ” เงินเข้าบัญชีเกิน 400 ครั้ง และมีวงเงินรับเกิน 2 ล้านบาทต่อบัญชี หรือมีการโอนขา “รับ” เกิน 3,000 ครั้งต่อบัญชี ที่เป็นเพียงการส่งชื่อสกุล เจ้าของบัญชี และจำนวนครั้งเท่านั้น ไม่ได้เป็นการส่งข้อมูล ว่าใครโอนให้ใคร 
 
ทั้งนี้ยืนยันว่าข้อมูลที่ได้ ไม่ได้นำมาใช้ในการรีดภาษีผู้ค้าออนไลน์ เหมือนที่ภาคประชาสังคมเข้าใจ แต่นำมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี ดูข้อมูลกลุ่มเสี่ยง อีกทั้งข้อมูลที่ส่งมาก็เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเท่านั้น ยังมีปัจจัยประกอบอีกหลายด้าน นอกจากนี้เจตนาของกฎหมายหากประชาชนหรือผู้ประกอบการใด ที่มีรายได้เกินเกณฑ์ก็จะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว 
 
ซึ่งเกณฑ์กำหนดในการจัดเก็บภาษี จะอยู่ที่ 1 ล้านละ 5,000 บาท หากมีวงเงินเกิน 2 ล้านบาท ตามที่กฏหมายกำหนด ก็จะเสียเพียง 10,000 บาท เท่านั้น ซึ่งระดับวงเงิน2 ล้านบาท ยังถือว่าสูงกว่าฐานรายได้เฉลี่ยของคนเมือง ที่เสียภาษีบุคคลอยู่ที่ 600,000 บาทต่อปี การจัดเก็บภาษีดังกล่าวยังช่วย ป้องกันข้อครหาที่หลายคนชี้ว่าประชาชนเพียง 10 ล้านคนเท่านั้น ที่ต้องจ่ายภาษีรายได้ ทั้งที่มีประชากรส่วนใหญ่ถึงว่า 69 ล้านคน
 
ส่วนอีกหนึ่งประเด็นก็คือการให้ผู้จ่ายเงินสามารถเลือกวิธีนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคารโดยไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี และนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากรในภายหลัง ก็เป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้ขายสินค้าออนไลน์ หรือธุรกิจหนึ่งธุรกิจใดเป็นการเฉพาะ แต่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เดี๋ยวนี้มีการลดการใช้เอกสาร และนำข้อมูลสู่ระบบดิจิทัล ตามนโยบายของกรมที่มุ่งสู่การเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกเต็มรูปแบบ โดยกระบวนการทั่งหมด ก็ได้เผื่อเวลาให้ผู้ประกอบการปรับตัว เพราะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2563 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง