นักสิทธิมนุษยชนนัดรวมตัว ค้านโทษประหารหน้าคุกบางขวาง ชี้ไทยทำเรื่องน่าละอายต่อชาวโลก
logo ข่าวอัพเดท

นักสิทธิมนุษยชนนัดรวมตัว ค้านโทษประหารหน้าคุกบางขวาง ชี้ไทยทำเรื่องน่าละอายต่อชาวโลก

ข่าวอัพเดท : แอมเนสตี้ ออกประกาศคัดค้านคำสั่งประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดในไทยเป็นรายแรกในรอบ 9 ปี ชี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นเรื่องน่าละอายต นักสิทธิมนุษยชน,แอมเนสตี้,โทษประหาร,ประหารชีวิต,เรือนจำบางขวาง,คุกบางขวาง,ฉีดยาประหารชีวิต,ละเมิดสิทธิมนุษยชน

150,098 ครั้ง
|
19 มิ.ย. 2561

จากกรณีที่กรมราชทัณฑ์บังคับโทษประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชาย ธีรศักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี ในคดีฆ่าชิงทรัพย์ ใช้มีดแทงผู้ตาย รวม 24 แผล เหตุเกิดเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดตรัง นับเป็นผู้ต้องขังรายที่ 7 ตั้งแต่เปลี่ยนโทษประหารจากการยิงเป็นการฉีดสารพิษ และเป็นการประหารชีวิตรายแรกในรอบ 9 ปี

 

ล่าสุดทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์การนอกภาครัฐที่ทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลก ได้เผยแพร่แถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าวว่า

 

นับเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตรอดอย่างน่าละอาย เป็นเรื่องน่าตกใจที่ประเทศไทยละเมิดต่อพันธกิจที่เคยประกาศไว้ว่า จะเดินหน้าไปสู่การยกเลิกโทษประหาร และการปกป้องสิทธิที่จะมีชีวิตรอด ทั้งยังเป็นการทำตัวไม่สอดคล้องกับกระแสโลก ซึ่งกำลังมุ่งหน้าออกจากโทษประหาร

ข่าวอัพเดท : นักสิทธิมนุษยชนนัดรวมตัว ค้านโทษประ

หลังผ่านไปเกือบ 10 ปีที่ไม่มีการประหารชีวิต การประหารชีวิตครั้งนี้นับเป็นความถดถอยสำคัญในเส้นทางไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตของไทย รัฐบาลไทยต้องยุติแผนการใด ๆ ที่จะประหารชีวิตประชาชนอย่างต่อเนื่อง และจัดทำความตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการใช้โทษประหารชีวิต

 

 

นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกของไทย หลังจากมีการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาต่อนักโทษชายสองคนเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ไม่มีการประชีวิตบุคคลเลยตั้งแต่ปี 2546

 

จากตัวเลขของกระทรวงยุติธรรมระบุว่า จนถึงสิ้นปี 2560 มีนักโทษประหารอยู่จำนวน 510 คน โดยเป็นผู้หญิง 94 คน ในจำนวนนี้ 193 คนเป็นนักโทษเด็ดขาดที่ผ่านกระบวนการอุทธรณ์คดีหมดสิ้นแล้ว เชื่อว่ากว่าครึ่งหนึ่งของนักโทษเหล่านี้ต้องโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด

 

เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีเพียง 16 ประเทศ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต จนถึงทุกวันนี้ 106 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารสำหรับความผิดทุกประเภท และ 142 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่าทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิมสามารถเปลี่ยนแปลงได้

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด

 

โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งมีงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

ข่าวอัพเดท : นักสิทธิมนุษยชนนัดรวมตัว ค้านโทษประ

นอกจากนี้ทางแอมเนสตี้ ยังประกาศเชิญชวนทุกคนที่มีจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชน มาร่วมไว้อาลัยแด่การตัดสินโทษประหารชีวิต โดยพร้อมกันในวันอังคารที่ 19 มิ.ย. นี้ เวลา 14.00-14.30 น. ณ หน้าเรือนจำกลางบางขวาง

 

ขณะเดียวกันยังมีการเผยแพร่รายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตปี 2560 พบว่าการประหารชีวิตส่วนใหญ่ในโลกเกิดขึ้นในประเทศจีน อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย อิรักและปากีสถาน ตามลำดับ ในอาเซียนมี สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามที่มีการประหารชีวิตประชาชน ส่วนไทยยังคงเป็นหนึ่งใน 56 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่ ในขณะที่อีก 142 ประเทศทั่วโลกยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว

 

ข่าวอัพเดท : นักสิทธิมนุษยชนนัดรวมตัว ค้านโทษประ

 

ที่มา : https://www.amnesty.or.th/latest/news/129/

https://www.amnesty.or.th/latest/news/112/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง