เล็งใช้อัตราภาษีควบคุมระดับความหวาน! ปรามเครื่องดื่มฯ ลุ้นชิงโชค หลังชูสูตรหวานน้อย เพื่อลดการจ่ายภาษีน้ำตาล
logo ข่าวอัพเดท

เล็งใช้อัตราภาษีควบคุมระดับความหวาน! ปรามเครื่องดื่มฯ ลุ้นชิงโชค หลังชูสูตรหวานน้อย เพื่อลดการจ่ายภาษีน้ำตาล

ข่าวอัพเดท : กรมอนามัยเล็งใช้อัตราภาษีควบคุมระดับความหวาน เพื่อปราบแผนการตลาด ลุ้นชิงโชค ของเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม แม้จะปรับสูตร ความหวาน,อัตรา,ภาษี,ลุ้นชิงโชค,โรคอ้วน

3,160 ครั้ง
|
10 พ.ค. 2561
กรมอนามัยเล็งใช้อัตราภาษีควบคุมระดับความหวาน เพื่อปราบแผนการตลาด"ลุ้นชิงโชค" ของเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม แม้จะปรับสูตรให้หวานน้อยแล้วก็ตาม เนื่องจากการร่วมเล่นเกมส์ผนวกกับการโฆษณาว่าเป็นสูตรหวานน้อย ทำให้ผู้บริโภคไม่ระวัง ในการดื่ม จนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น โรคอ้วน
 
จากการปรับสูตรความหวานของเครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชาเขียว,น้ำอัดลม โดยชูสูตรน้ำตาลน้อย(หวานน้อย) ออกมา เพื่อรับมือกับ ภาษีน้ำตาลที่มีบังคับใช้มาตั้งแต่กันยายนปี2560 แต่ได้ผ่อนปรนให้เวลาปรับสูตรเป็นเวลา 2ปี จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาทำเครื่องดื่มสูตรหวานน้อย กันมากขึ้น เพื่อลดการจ่ายภาษีโดยเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลในอัตรากรัมต่อ 100 มิลลิลิตร มากขึ้น ก็ยิ่งเสียภาษีสูงขึ้น 
 
ทางกรมอนามัยโดย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เครื่องดื่มเหล่านี้ เมื่อทำสูตรน้ำตาลน้อย จะเสีย ภาษีน้อยลง แต่การทำการตลาดโดยการชิงโชคเท่ากับให้คนหันมาบริโภคเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีรายได้มากขึ้น ประชาชนต้องรู้เท่าทัน ในเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากการกินหวานมากๆ ส่งผลทั้งโรคอ้วนและเบาหวาน อาจต้องใช้ กม.ห้ามแบบเครื่องดื่มชูกำลัง หากการชิงโชคในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก เช่น ชาเขียวหรือน้ำอัดลม เป็นปัญหามาก เนื่องจากการเสนอใช้กฎหมายควบคุมตรงนี้ จะเหมือนการคุมเครื่องดื่มชูกำลังในอดีต ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้ว 
 
โดยกรมอนามัยจะทำข้อมูลว่า "การชิงโชคของเครื่องดื่มเหล่านี้ ส่งผลกระทบมากหรือไม่แค่ไหน เพื่อเสนอข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยา(อย.)หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เพื่อพิจารณาออกประกาศห้ามการชิงโชคในเครื่องดื่มเหล่านี้ ซึ่งทางกรมอนามัยเคยประสบความสำเร็จในการนำเสนอกรมสรรพสามิตให้ใช้การคุมด้วยภาษีน้ำตาลมาแล้ว แต่ก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้ ก็อยากให้ ผู้บริโภคตระหนัก ถึงเรื่องเหล่านี้ด้วยว่า ไม่ควรกินหวานมากเกินไป น่าดีที่สุดและได้ผลที่สุด
 
สำหรับอัตราภาษีตามค่าความหวาน มี 6 ระดับ 
 1. ค่าความหวาน 0-6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่เสียภาษี 
2. ค่าความหวาน 6-8 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 10 สตางค์ต่อลิตร 
3. ค่าความหวาน 8-10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 30 สตางค์ต่อลิตร 
4. ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร 
5. ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร 
6. ค่าความหวาน 18 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ขึ้นไป เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
หากผ่านพ้นเวลาผ่อนผันไปแล้ว(ภายใน2ปีนี้) หากค่าความหวานไม่ลดลง จะมีการปรับขึ้นภาษีแบบขั้นบันได