logo ข่าวอัพเดท

"ไปเวจกันไหม?" เปิดที่มาคำฮิต ย้อนวิถีการขับถ่ายสมัยอยุธยา ตามรอย 'แม่หญิงการะเกด'

ข่าวอัพเดท : กำลังมาแรงกับกระแสละครบุพเพสสันนิวาส ทางช่อง 3 ซึ่งนอกจากละครบุพเพสันนิวาสจะสนุก สร้างเสียงหัวเราะแล้ว ยังแฝงด้วยความรู้ทางประวัติศา ไปเวจ,เวจ,ออกไปเวจ,อยุธยา,บุพเพสันนิวาส,แม่หญิงการะเกด,การะเกด,แม่นายการะเกด,เบลล่า,โป๊ป,ละคร,เรื่องเล่าเช้านี้,อุจจาระ,ขี้,กรุงศรีอยุธยา

37,103 ครั้ง
|
26 ก.พ. 2561

กำลังมาแรงกับกระแสละครบุพเพสสันนิวาส ทางช่อง 3 ที่แม้เพิ่งออกอากาศไปเพียง 2 ตอน แต่กลับฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมือง ด้วยความสวยและตลกของแม่หญิงการะเกด และความหล่อเหลาของคุณพี่หมื่น จนทำให้แฟนๆละครตั้งตารอคืนวันพุธ-พฤหัสบดีกันเลยทีเดียว

 

ซึ่งนอกจากละครบุพเพสันนิวาสจะสนุก สร้างเสียงหัวเราะแล้ว ยังแฝงด้วยความรู้ทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งบุคคลสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยดังกล่าว

ข่าวอัพเดท : ไปเวจกันไหม? เปิดที่มาคำฮิต ย้อนวิถ

รวมไปถึงคำศัพท์ในสมัยโบราณ หนึ่งในนั้นคือคำว่า 'ไปเวจ' ที่สื่อถึงการขับถ่ายของคนในสมัยโบราณ ที่คนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อย่างเราๆอาจจะไม่คุ้นชินสักเท่าไรนัก  

 

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า 'เวจ' ไว้ว่า [เว็ด, เว็ดจะ-] น. ที่ถ่ายอุจจาระ. (ป. วจฺจ) ลูกคำของ "เวจ, เวจ-" คือ เวจกุฎี เวจมรรค ซึ่งเวจกุฎี มีความหมายว่า ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม เช่นกัน ขณะที่ เวจมรรค แปลว่า ทวารหนัก บางทีก็เรียก วัจมรรค

 

ในหนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดยซีมง เดอ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้อธิบายความของ 'เวจ' ไว้ว่า

 

"ห้องถ่ายทุกข์หนักเบาสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะเป็นส้วมหลุมนั่งยองๆ มีไม้หรือหินพาดรองไม่ให้หลุมถล่ม มักใช้กันเฉพาะคนในสังคมชั้นสูง"

 

ข่าวอัพเดท : ไปเวจกันไหม? เปิดที่มาคำฮิต ย้อนวิถ

 

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลของนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน 2548 โดย สมใจ นิ่มเล็ก (ราชบัณฑิต) ได้อธิบายไว้ว่า การขับถ่ายของชาวสวนในอดีตที่เป็นแบบธรรมชาติ ไม่มีวิธีการและอุปกรณ์สมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องสถานที่ขับถ่ายที่เลิกจากการถ่ายลงน้ำแล้ว จะเรียกสถานที่ขับถ่ายว่าเวจ ซึ่งเป็นคำโบราณ ถ้าเป็นสถานที่ขับถ่ายของพระสงฆ์นอกจากเรียกว่าถานแล้วยังเรียกว่าเวจกุฎีอีกด้วย

 

การขับถ่ายหลังจากการถ่ายลงน้ำ หรือถ่ายใส่กาบปูเลที่ทำจากกาบหมากแล้วจึงทิ้งน้ำ ซึ่งจะเป็นการถ่ายในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะถ่ายเวจที่อยู่กลางสวนซึ่งอยู่ห่างจากบ้านพอสมควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเวจเล็กๆ สำหรับเด็กๆ อยู่ใกล้บ้านด้วย

 

เวจโดยทั่วๆ ไป จะเป็นการสร้างอย่างง่ายๆ ด้วยวัสดุที่มีในสวน โดยตั้งเสาตอม่อสูงจากพื้นประมาณ 40-50 เซนติเมตร จำนวนสองคู่ ปลายเสามีง่ามหรือบากให้เป็นง่าม เสาแต่ละต้นปักห่างกันสองเมตร นำโคนต้นหมากแก่จัดมาวางพาดขนานกันห่างประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อเป็นที่นั่งถ่าย ฝาโดยรอบใช้ทางมะพร้าวแห้งมากรุให้หนาจนไม่สามารถมองผ่านได้

 

ด้านข้างติดกับฝาด้านกว้างเป็นช่องทางเข้าออกโดยใช้ทางหมากแห้งห้อยปิด เวลาจะเข้าออกใช้วิธีแหวกให้เป็นช่อง เมื่อผ่านแล้วทางหมากจะปิดตามเดิม เวจนี้จะไม่มีหลังคา จะปลูกอยู่ใต้ต้นข่อย ต้นตะขบไทย หรือต้นมะหวด พุ่มใบของต้นไม้ดังกลาวจะบังแดดไปในตัว

 

ข่าวอัพเดท : ไปเวจกันไหม? เปิดที่มาคำฮิต ย้อนวิถ

 

การขับถ่ายจะใช้วิธีนั่งยอง สิ่งที่ใช้ชำระหลังขับถ่ายจะเป็นกาบมะพร้าวที่ฉีกออกจากผิว ยีจนอ่อนนุ่ม ด้วยการถ่ายเทอากาศที่ดี พื้นดินแห้ง สิ่งที่ถูกขับถ่ายจะแห้ง กลิ่นจะน้อย และด้วยความยาวของที่นั่ง สิ่งที่ขับถ่ายจะไม่ทับถมกันมากนัก สิ่งที่ขับถ่ายแห้งทำให้เกิดหนอนน้อยมาก

 

ทั้งนี้ในปัจจุบันแทบจะไม่เห็นเวจที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากความเจริญของสังคมมีมากขึ้น เทคโนโลยีและความรู้ด้านสุขอนามัยพัฒนามากขึ้น การขับถ่ายของมนุษย์จึงเปลี่ยนไป แต่นี่ก็ได้แสดงให้เห็นว่าคนในสมัยก่อนนั้นมีวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าส้วมอย่างไร

 

แต่ตอนนี้คำว่า 'ไปเวจ' ได้กลับมาฮิตในแผ่นดินสยามอีกครั้ง จนชาวเราบางคนใช้คำว่า 'ไปเวจ' แทนคำว่าไปห้องน้ำกันเสียแล้ว

 

-อาจุมม่า-

 

ขอขอบคุณบทความ ชาวสวนเข้าส้วมกันอย่างไร? โดย สมใจ นิ่มเล็ก (ราชบัณฑิต) จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน 2548 https://www.silpa-mag.com/club/article_11320 

youtube : Mello Thailand บุพเพสันนิวาส | ไหนละเวจ ข้าจะไปเวจ !?!?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง