หยุดแชร์! 3 หน่วยงานประสานเสียง ข่าว "ห้ามจัดสอบเด็กป.1-3-เลิกใช้โอเน็ตเข้ามหาลัย-เลิก 8 กลุ่มสาระ" มั่ว!
logo ข่าวอัพเดท

หยุดแชร์! 3 หน่วยงานประสานเสียง ข่าว "ห้ามจัดสอบเด็กป.1-3-เลิกใช้โอเน็ตเข้ามหาลัย-เลิก 8 กลุ่มสาระ" มั่ว!

ข่าวอัพเดท : กรณีมีผู้ใช้ Facebook รายหนึ่ง เขียนข้อความอ้างว่ามีร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและรอการประกาศใช้ภายในปีนี้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวมีเน โอเน็ต,แอดมิชชั่น,สพฐ,สนช.,กฎหมาย,สอบ,กลุ่มสาระ,การศึกษา

50,150 ครั้ง
|
16 ก.พ. 2561
กรณีมีผู้ใช้ Facebook รายหนึ่ง เขียนข้อความอ้างว่ามีร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและรอการประกาศใช้ภายในปีนี้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาสั่งยกเลิกระบบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (หรือวิชาเรียน), สั่งให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไม่มีการสอบวัดผล โดยระบุด้วยว่าหากโรงเรียนใดมีการจัดสอบ จะเท่ากับทำผิดกฎหมาย ผู้อำนวยการต้องติดคุก และยกเลิกการนำผลสอบโอเน็ตและเอเน็ต มาเป็นคะแนนในการสอบเข้าเรียนต่อ และผลักดันการใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นส่วนในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแทน โดยมีผู้แชร์โพสต์นี้กว่า 10,000 ครั้ง
 
ทีมข่าวตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า การสอบ A-NET นั้นถูกยกเลิกไปนานแล้ว โดยมีการสอบครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2552 หรือเกือบ 9 ปีก่อน ส่วนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบใหม่ที่กำลังจะเริ่มใช้ มีชื่อว่า "TCAS" ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกทั้งหมด 5 รอบ ซึ่งการคัดเลือกรอบแรกจะใช้การคัดเลือกด้วยแฟ้มสะสมผลงานหรือ Portfolio จริง แต่การคัดเลือกในรอบที่ 4 ก็ยังใช้ระบบคล้ายแอดมิชชั่นเดิม โดยยังใช้ O-NET เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือก ร่วมกับคะแนน GAT-PAT / วิชาสามัญ 9 วิชาอยู่เหมือนเดิม
 
จากนั้นทีมข่าวตรวจสอบไปที่นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่งระบุว่า ข่าวลือนี้มีวนมา 2-3 ครั้งแล้ว แต่สพฐ.ไม่ทราบเรื่องนี้ และยังไม่มีแนวคิดเหล่านี้ รวมถึงไม่เคยถูกเชิญไปให้ความเห็นในเรื่องเหล่านี้ด้วย แต่ตนไม่แน่ใจว่าเป็นแนวคิดที่มาจากการรับฟังความเห็นของคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษาในครั้งใดหรือไม่ พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้สื่อข่าวตรวจสอบไปยังคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา และคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อยืนยันเรื่องดังกล่าวต่อ
 
ทีมข่าวจึงโทรศัพท์ไปพูดคุยกับนางภัทรียา สุมะโน ประธานอนุกรรมการสื่อสารฯ คณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งระบุว่า เรื่องการยกเลิก 8 กลุ่มสาระฯ นั้น อยู่ระหว่างการเขียนแผนของคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) แต่ไม่ได้หมายถึงจะให้ยกเลิกทั้งหมด แต่บางโรงเรียนที่ไม่ต้องการโครงสร้างแบบ 8 กลุ่มสาระฯ เช่น โรงเรียนของกลุ่มชาวเขา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ เนื่องจากมีหลายโรงเรียนเสนอความเห็นมาว่าโครงสร้างเหล่านี้ไม่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ส่วนเรื่องห้ามการจัดสอบวัดผลนักเรียนชั้นประถม 1-3 นั้นไม่มี และไม่ได้เป็นอำนาจของกอปศ.  ส่วนเรื่องคะแนนโอเน็ตมีการเสนอความเห็นมาจริงแต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และก็ยังไม่มีการเสนอกฎหมายเช่นกัน
 
"กอปศ. เสนอออกกฎหมายได้จริง แต่การเสนอกฎหมายต้องเข้า ครม. ตามด้วย สนช. แต่ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอเรื่องเหล่านี้และเป็นเพียงขั้นระหว่างการดำเนินการ โดยคาดว่าเรื่องที่กำลังพิจารณาจะสามารถเสนอต่อครม.ได้ภายในอีก 4-5 เดือน ซึ่งคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษาจะมีอายุการทำงานครบ 1 ปีพอดี" นางภัทรียาระบุ
 
ด้านนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุว่าทั้งสามประเด็นที่มีการแชร์กันนั้นไม่เป็นความจริงทั้งหมด และยังระบุด้วยว่าคนปล่อยข่าวลือนี้ต้องรับผิดชอบ
 
"หากยังไม่มีการปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนการสอน จะออกกฎหมายพวกนี้ได้อย่างไร" นายตวงกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง