เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ตกำลังตรวจสอบสภาพของจระเข้ตัวที่ปรากฏเป็นคลิปข่าวว่ายน้ำเล่นอยู่ในทะเลบริเวณอ่าวเลพังรอยต่ออ่าวบางเทา ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ตและหลังจากนั้นได้หนีเข้าไปอยู่ในขุมน้ำใกล้ทะเลจุดที่พบครั้งแรก ซึ่งเจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดได้สนธิกำลังกว่า 20 นาย เข้าต้อนและจับจระเข้ตัวดังกล่าวโดยใช้เวลานานกว่า 2 วัน จึงจับตัวไว้ได้และนำส่งมาพักฟื้นไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต
โดยผลการตรวจสอบจระเข้ตัวดังกล่าวพบว่าสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดีมีอ่อนเพลียเล็กน้อยเนื่องจากถูกไล่จับตัวนานหลายชั่วโมงซึ่งใช้ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ2-3วันร่างกายก็จะเป็นปกติ
นายไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ ประมงจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า หลังจับกุมตัวจระเข้ตัวดังกล่าวไว้ได้เมื่อช่วงเวลา 03.30 น.ที่ผ่านมานั้น ก็ได้นำจระเข้ส่งเข้าบ่อพักฟื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต ให้จระเข้พักชั่วคราวและให้เจ้าหน้าที่ตรวจโรคตรวจสภาพร่างกายของจระเข้ตัวดังกล่าวและพักฟื้นต่ออีกระยะจากนั้นทางประมงจังหวัดภูเก็ตจะทำหนังสือไปยังกรมประมงสอบถามว่ามีหน่วยงานใดของกรมประมงต้องการนำจระเข้ตัวนี้ไปใช้ประโยชน์หรือให้กรมประมงหาจุดเหมาะสมที่จะเก็บจระเข้ตัวนี้ไว้.
ล่าสุด ทางด้าน นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ถึงกรณีที่จับจระเข้ออกจากพื้นที่โดยในข้อความระบุว่า "ไม่เข้าใจ จริงๆว่าจะจับมันออกจากบ้านมันทำไม หาก คนภูเก็ตกลัวเป็นอันตรายกับนักท่องเที่ยว คงต้องจับฉลาม งูทะเล แมงกระพรุนกล่อง ฯลฯออกให้เกลี้ยง อันดามัน และ มหาสมุทรอินเดีย ปฏิกริยา ที่คนส่วนใหญ่ตื่นตระหนกกับเสือกับจรเข้ มันคงฝังในสัญชาตญาณ แต่เรา ทำได้ดีกว่า ตอบสนองตามสัญชาตญาณดิบนะครับ หากไม่ย้อนกันไปสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สถิติคนไทยโดนจระเข้ หรือเสือ ในธรรมชาติกัดตาย มันเท่ากับ 0 นักท่องเที่ยวตายเพราะถูกเจ็ทสกีชน ยังไม่เห็นเอาเจ็ทสกีออกจากทะเล ในยุคแห่งการสูญพันธุ์ การที่เรายังมีจระเข้อยู่ในธรรมชาติ เป็นเรื่องน่าภูมิใจ น่าเศร้าที่เราไม่เห็นคุณค่า"
ซึ่งเมื่อโพสต์ดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ไปนั้นทำให้มีผู้เห็นด้วยกับ นายแพทย์รังสฤษฎ์ เป็นจำนวนมากว่าไม่ควรนำออกมาจากแห่ล่งที่อยู่ของมัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
+ อ่านเพิ่มเติม