ครั้งแรกในโลก! นักวิจัยปรับแต่งพันธุกรรมยับยั้งโรคกล้ามเนื้อหัวใจสำเร็จ สร้างหวังลดโรคส่งต่อนับหมื่น
logo ข่าวอัพเดท

ครั้งแรกในโลก! นักวิจัยปรับแต่งพันธุกรรมยับยั้งโรคกล้ามเนื้อหัวใจสำเร็จ สร้างหวังลดโรคส่งต่อนับหมื่น

ข่าวอัพเดท : ถือเป็นความก้าวหน้าของวงการแพทย์และเป็นความหวังในการรักษาโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์ เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการตัดต่อพั ตัดต่อพันธุกรรม,โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม,สหรัฐอเมริกา,เกาหลีใต้,นักวิจัย

1,646 ครั้ง
|
03 ส.ค. 2560
 
ถือเป็นความก้าวหน้าของวงการแพทย์และเป็นความหวังในการรักษาโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์ เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการตัดต่อพันธุกรรมที่จะช่วยยับยั้งโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมได้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อ "คริสเปอร์" (Crispr)
 
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพและสถาบัน Salk ในรัฐโอเรกอนของสหรัฐ ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้ ทดลองเพาะเลี้่ยงตัวอ่อนเพื่อตัดต่อพันธุกรรม โดยมุ่งไปที่การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและพบได้ทั่วไปเฉลี่ย 1 คนต่อประชากร 500 คน ซึ่งผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสามารถตายได้ทุกเมื่อจากภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน 
 
รายงานผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ (Nature Journal) เมื่อวานนี้ ระบุว่า ทีมงานเริ่มกระบวนการตัดต่อแก้ไขพันธุกรรมด้วยการฉีดอสุจิของชายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมไปยังไข่ของหญิงสุขภาพดีที่ได้รับบริจาคมา หลังจากปฎิสนธิแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ตัดแต่งพันธุกรรมที่ผิดปกติออกไป โดยแม้จะไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ร้อยละ 72 ของตัวอ่อนที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมก็ปลอดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
 
ความสำเร็จครั้งนี้ ถือเป็นความหวังให้แก่วงการแพทย์ในการรักษาโรคมากกว่า 1 หมื่นชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกได้ เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส โรคพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะบกพร่องที่ปอด ทางเดินอาหารและตับอ่อน ไปจนถึงโรคมะเร็งเต้านม
 
อย่างไรก็ตาม ทีมงานตัดสินใจยุติการทดลองหลังปล่อยให้ตัวอ่อนทารกปฎิสนธิและพัฒนาเติบต่อไปได้เพียง 5 วัน เนื่องจากหวั่นเกรงต่อปัญหาด้านจริยธรรม ก่อนตั้งความหวังว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการทดลองขั้นต่อไปได้โดยไม่ติดขัดในอนาคต 
 
ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมแสดงความเห็นว่า ความสำเร็จในครั้งนี้พิสูจน์ถึงเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรมในขณะนี้ที่สามารถจัดการแก้ไขการกลายพันธุ์ของยีนหรือพันธุกรรมมนุษย์ และอีกไม่นานเกินรอ แนวคิดออกแบบทารกก็จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป