วันนี้ (14 มี.ค.2560) สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศชี้แจงข่าวลือ สํานักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ชี้แจงข่าวลือเรื่องคลื่นความร้อนหรือฮีตเวฟ (Heat Wave) บริเวณประเทศไทย ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า “ในช่วงวันที่ 20-22 มีนาคม 2560 จะเกิดคลื่น ความร้อน หรือ ฮีตเวฟ (Heat Wave) บริเวณประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทยต่อเนื่องจากเกิด ปรากฏการณ์อีควิน็อกซ์(Equinox) ทําให้อุณหภูมิจะสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสต่อเนื่องหลายวัน ส่งผลให้เกิด โรค “ ลมแดด หรือ ฮีทสโตรก” ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้“
กรมอุตุนิยมวิทยา ขอยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงและไม่ได้มีที่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยาของ ประเทศต่างๆ ข้างต้นแต่อย่างใด ซึ่งข้อเท็จจริง คือ “ปรากฏการณ์อีควิน็อกซ(Equinox) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ใน ตําแหน่งตั้งฉากกับบริเวณเส้นศูนย์สูตรพอดี ทําให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน และจะเกิดขึ้นวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม ของทุกๆปี และไม่ได้เป็นสาเหตุทําให้เกิดคลื่นความร้อน หรือ ฮีตเวฟ แต่อย่างใด และในช่วงวันดังกล่าวของปีนี้ บริเวณประเทศไทยไม่ได้มีอากาศร้อนจัดเนื่องจากคาดการณ์ว่าระหว่างวันที่ 14-19 มีนาคม พ.ศ. 2560 จะมีพายุ ฤดูร้อนเกิดขึ้น ส่งผลให้อากาศคลายความร้อนลง ส่วนช่วงที่ร้อนที่สุดของประเทศไทยคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณปลาย เดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมเหมือนทุกๆ ปี และปีนี้จะไม่ร้อนมากกว่าปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา
สําหรับคลื่นความร้อนนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อ “อุณหภูมิสูงสุดประจําวันสูงกว่าค่าปกติ โดยเฉลี่ยมากกว่า 5 องศา เซลเซียส ติดต่อกันเกินกว่า 5 วันขึ้นไป (อ้างอิงจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก) ในส่วนของประเทศไทยจะไม่มีคลื่น ความร้อนเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าอุณหภูมิในตอนกลางวันจะสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะสูงไม่เกินค่าปกติ มากนัก และในช่วงกลางคืนถึงช่วงเช้าอากาศจะคลายความร้อนลง ทําให้ไม่ร้อนอบอ้าวตลอดทั้งวัน ส่วนกรณีของ โรค ลมแดด หรือ ฮีทสโตรก นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อผู้ป่วย ผู้สูงวัย เด็ก ผู้ที่ ทํางานหรือประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงประชาชนทั่วไปควร หลีกเลี่ยงอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน และควรดื่มน้ําสะอาดให้เพียงพอ