นายกฯ ใช้ ม.44 ยุบสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนตั้ง “สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรม” นั่งตำแหน่งประธานด้วยตัวเอง
logo ข่าวอัพเดท

นายกฯ ใช้ ม.44 ยุบสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนตั้ง “สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรม” นั่งตำแหน่งประธานด้วยตัวเอง

5,553 ครั้ง
|
07 ต.ค. 2559

นายกฯ ใช้ ม.44 ยุบสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนตั้ง “สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรม” นั่งตำแหน่งประธานด้วยตัวเอง

 

 

วันนี้(7 ต.ค.)ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๒/๒๕๕๙ เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ระบุว่า

โดยที่รัฐบาลได้มีนโยบายและให้ความสําคัญในการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งกลไกในการพัฒนาประเทศ ได้มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยา แขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้และการพัฒนาเพ่ือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อสนับสนุนให้การดําเนินการ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ตรงตาม ความต้องการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดความซ้ําซ้อน และสามารถผลักดันให้มีการนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ สมควรกําหนดให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทําหน้าที่ในการกําหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนกํากับและติดตามการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ และประเมินผลการดําเนินการ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีเอกภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการวิจัยของประเทศ และปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

(๒) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง

(๓) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานคนที่สอง

(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

(๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

(๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

(๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

(๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

(๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

(๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๑๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

(๑๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

(๑๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

(๑๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

(๑๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

(๑๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

(๑๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(๒๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

(๒๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

(๒๒) รัฐมนตรวี่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

(๒๓) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(๒๔) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

(๒๕) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(๒๖) ประธานกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(๒๗) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

(๒๘) ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ

(๒๙) ประธานที่ประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

(๓๐) ประธานมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

(๓๑) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

(๓๒) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(๓๓) ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

(๓๔) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

(๓๕) เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

(๓๖) ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินแปดคน

 

ให้เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นเลขานุการร่วม และให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ในกรณีที่รัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งผู้ใดไม่สามารถเข้าร่วมประชุมในครั้งใดได้ รัฐมนตรีผู้นั้นอาจมอบหมายข้าราชการในกระทรวงของตนคนหนึ่งเข้าร่วมประชุมแทนสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง

 

ข้อ ๒ ให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดทิศทางและนโยบายการดําเนินงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

(๒) กําหนดแผนที่นําทาง (Roadmap) เกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม รายสาขาให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ

(๓) กํากับ เร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงและแก้ไขโครงสร้าง ภารกิจ อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระบบวิจัยและ

นวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรองรับความต้องการในด้านการวิจัยและนวัตกรรม

(๔) กํากับ เร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงและแก้ไขระบบหรือกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่เดิม และที่เกิดขึ้นใหม่ไปใช้ในเชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเชิงนโยบาย ให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด

(๕) กํากับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทําแผนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับบุคลากรด้านแรงงานในระดับต่าง ๆ

(๖) กําหนดระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธ์ิในลักษณะเป็นก้อน (Block Grant) ตามโปรแกรมวิจัยและนวัตกรรม (Program-based) ให้สอดคล้องกับระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมรายสาขา รวมทั้งกําหนดระบบการติดตามและประเมินผลที่มีความต่อเนื่อง

(๗) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการกําหนดมาตรการและแรงจูงใจทางภาษีและสิทธิประโยชน์ สําหรับการระดมทุน การพัฒนากองทุน การจัดสรรเงินจากกองทุน และเงินทุนของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งความร่วมมือกับเอกชน ประชาสังคม และต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

(๘) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการเร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการออกใบอนุญาต การกําหนดและรับรองมาตรฐานและการจดทะเบียนและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อรองรับการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน

(๙) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็น

(๑๐) เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลและข้อแนะนํา เพื่อประกอบการพิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ได้ตามความจําเป็น

(๑๑) รายงานผลการดําเนินงานและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรืออนุมัติ แล้วแต่กรณี

 

ข้อ ๓ ให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ รับผิดชอบงานธุรการและสนับสนุนการทํางานของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานที่แต่งตั้งขึ้นตามคําสั่งนี้

การเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่าย

จากงบประมาณของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนด

ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการและลดความซ้ําซ้อนในการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ยุบเลิกสภาและคณะกรรมการดังต่อไปนี้ และให้โอนอํานาจหน้าที่ไปเป็นของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติตามคําสั่งนี้

(๑) สภาวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการสาขาวิชาการ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่งชาติ

(๒) คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

(๓) คณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์

พ.ศ. ๒๕๕๘

 

ข้อ ๕ การโอนอํานาจหน้าที่ตามข้อ ๔ (๒) ไม่รวมถึงอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามความในมาตรา ๑๒ (๖) (๗) (๘) และ (๙)

มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยให้โอนไปเป็นของคณะกรรมการบริหารสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

 

ข้อ ๖ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและคล่องตัวในการดําเนินการของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสํานักงาน

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเพื่อทําหน้าที่กํากับการปฏิบัติงานของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ตามความเหมาะสม โดยในระหว่างนี้มิให้นําความในมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕แห่งพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ และพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๗ มาใช้บังคับ

 

ข้อ ๗ ให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอํานาจมอบหมาย สั่งการ หรือกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินการในเรื่องใดเพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม

ข้อ ๘ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้

ข้อ ๙ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใด ที่อ้างถึงสภาวิจัยแห่งชาติ หรือคณะกรรมการบริหารตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่งชาติ หรือคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้ถือว่าอ้างถึงสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติตามคําสั่งนี้

ข้อ ๑๐ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


ที่มา : มติชน, เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา