logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

“ภูมิธรรม” แจง VAT ไม่เกี่ยวรัฐฯ ถังแตก พบสถิติย้อนหลังพุ่งสูงทุกปี | ข่าวเย็นประเด็นร้อน

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : ข่าวเย็นประเด็นร้อน - กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังจากที่ นายพิชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยเตรีย ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ทิน โชคกมลกิจ,จีรนันท์ เขตพงศ์,สันติวิธี พรหมบุตร,บุญชงสงตอบ,ทนายบุญ

1,637 ครั้ง
|
06 ธ.ค. 2567
ข่าวเย็นประเด็นร้อน - กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังจากที่ นายพิชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยเตรียมปรับโครงสร้างภาษีชุดใหญ่ ที่ถูกวิจารณ์เป็นพิเศษคือ เตรียมขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT จากเดิมร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 15 ขณะที่ ภูมิธรรม ออกมาปฏิเสธว่า แนวคิดขึ้น VAT ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลถังแตกจากโครงการแจกเงิน 10,000 บาท
 
ภูมิธรรม แจงเก็บ VAT เพิ่ม ไม่เกี่ยว รบ.ถังแตก
 
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีแนวคิดการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7 ที่อาจเพิ่มเป็น 10-15 ว่าขณะนี้รัฐบาลก็พยายามดูอยู่ นายกฯ ก็เป็นห่วงเรื่องนี้ คิดว่าขอให้มีการสรุปชัดเจนก่อน เพราะตอนนี้ยังไม่ได้สรุป ยังอยู่ในกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงหลาย ๆ อย่างที่จะเกิดขึ้น ต้องถามไปที่กระทรวงการคลัง และถามนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
 
เมื่อสรุปแล้วชัดเจนก็คงมีการชี้แจง แต่ยืนยันได้ว่า นายกฯ และรัฐบาลคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นที่ตั้ง เมื่อถามต่อว่า เป็นเพราะว่ารัฐบาลถังแตกจากโครงการดิจิทัลวอลเลตหรือไม่ นายภูมิธรรมตอบทันทีว่า ไม่เกี่ยวกับเรื่องถังแตก
 
อดีต รมว.คลัง ชี้ขึ้นภาษีกระทบคนจน
 
แนวคิดการจัดเก็บภาษี VAT เพิ่มกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่าย โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการพรรคพลังประชารัฐ ได้โพสต์แสดงความเห็น
 
ถ้าเป็นแนวคิดจริงเห็นว่า เป็นการปรับภาษีเพื่อคนรวยมากกว่าคนจน เพราะการขึ้นภาษี VAT จะกระทบคนจนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเมื่อกำลังซื้อประชาชนลดลง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่รัฐบาลพยายามจะกระตุ้นให้ตัวเลขสูงขึ้น ก็จะกลับแผ่วลง ตนเห็นด้วยที่จะต้องขึ้นภาษี VAT เพื่อเริ่มกระบวนการใช้คืนหนี้สาธารณะ แต่ควรจะขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่น 1 และควรจะใช้โอกาสนี้ ปรับโครงสร้างภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น โดยเพิ่มภาษี VAT สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นขั้นบันได อาจจะสูงขึ้นเป็น 15
 
เทพไท เชื่อขึ้นภาษี VAT แนวคิดทักษิณ
 
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ขึ้นภาษี VAT แนวคิดทักษิณ? ข้ออ้างการขึ้นภาษี VAT จาก 7 เป็น 15 ของกระทรวงการคลัง ที่อ้างว่า เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้ประชาชนทุกคนต้องรับภาระ ไม่ว่าคนจนหรือคนรวยต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากัน ถ้าจะลดความเหลื่อมล้ำ ต้องยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับคนจน หรือ คนมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผลักภาระให้คนชั้นกลางและคนรวยแบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มไป 
 
แนวความคิดการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งนี้ นายพิชัยคงไม่ได้พูดคุยกับนางสาวแพทองธารมาก่อน เพราะหากคุยเรื่องนี้กัน นางสาวแพทองธารคงตอบคำถามได้บ้าง จึงเป็นไปได้ว่า แนวความคิดขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 15 น่าจะมาจากความคิดของ นายทักษิณ ชินวัตร เพราะทุกประเด็นคำถามนางสาวแพทองธาร อ้ำอึ้งตอบไม่ได้ แสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะและความสามารถของนางสาวแพทองธาร
 
เจษฎา เชื่อรัฐบาลแค่โยนหินถามทาง
 
ขณะที่ อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์อย่าเพิ่งตกใจมากกับข่าวเรื่องจะขึ้นภาษี VAT เป็น 15 มากไป ถ้าคุ้นเคยการทำงานสมัยคุณทักษิณเป็นนายกฯ เขาจะชอบโยนหินถามทางไปแรง ๆ ก่อน แล้วค่อยลดระดับลงมาทีหลัง ดังนั้นเป้าหมายจริง ๆ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 ก็คือ ยกเลิกการลดภาษี VAT ที่ทำกันมายาวนานต่อเนื่อง และไม่มีใครกล้าเปลี่ยน (ซึ่งถ้าอยู่ประมาณ 10 นี้ ก็ว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศ)
 
เหน็บแรง! คุณภาพชีวิตเหมือนเอธิโอเปีย
 
ขณะที่ทนายเกิดผล แก้วเกิด โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ปรับ VAT จาก 7 เป็น 15  เสียภาษีเหมือนสวิสฯ แต่คุณภาพชีวิตเหมือนเอธิโอเปีย
 
เปิดสถิติเก็บ VAT ย้อนหลัง พุ่งสูงขึ้นทุกปี
 
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นหนึ่งในรายได้หลักของรัฐ เดิมทีไทยมีอัตราการเก็บ VAT อยู่ที่ 10 มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 แต่ด้วยวิกฤตต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 จึงออกพระราชกฤษฎีกาลดอัตรา VAT ลงเหลือ 7หลังจากนั้น ก็คงอัตรา VAT 7 เรื่อยมานับแต่นั้น
 
ข้อมูลย้อนหลังพบว่า แนวโน้มการเก็บภาษี VAT สูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนี้
 
ปีงบประมาณ 2564 จัดเก็บภาษี VAT ได้ 793,243 ล้านบาท
 
ปีงบประมาณ 2565 จัดเก็บภาษี VAT ได้ 930,122 ล้านบาท
 
ปีงบประมาณ 2566 จัดเก็บภาษี VAT ได้ 913,581 ล้านบาท 
 
ปีงบประมาณ 2567 จัดเก็บภาษี VAT ได้ 947,320 ล้านบาท
 
ทั้งนี้ หากปีงบประมาณ  2567 จัดเก็บภาษี VAT 15 จะได้เงินทั้งหมด 2,029,971 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,082,651 ล้านบาท)
 
เปรียบเทียบเก็บ VAT ไทยกับทั่วโลก
 
ทีมข่าวนำงบประมาณที่เพิ่มขึ้นมา 1,082,651 ล้านบาทว่า สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง ? หากต่อยอดโครงการของทางภาครัฐในปัจจุบัน เงินจำนวนนี้สามารถนำไป แจกเงิน 10,000 บาทให้กับคนไทยทุกคน 66 ล้านคน ใช้งบ 660,000 ล้านบาท
 
นำไปแจกเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุให้เป็นคนละ 1,500 บาทต่อเดือน จำนวน 11 ล้านคน ใช้งบ 198,000 ล้านบาท (จากเดิม 600-1,000 บาท)
 
เพิ่มเบี้ยคนพิการเป็นคนละ 1,500 บาทต่อเดือน จำนวน 2.15 ล้านคน ใช้งบ 38,700 ล้านบาท (จากเดิม 800-1,000) และยังสามารถให้เบี้ยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีกคนละ 1,000 บาทต่อเดือน จำนวน 14.2 ล้านคน ใช้งบ 170,400 ล้านบาท 
 
รวมใช้งบประมาณ 1,066,000 ล้านบาท และยังเหลือเงินอีก 16,000 ล้านบาท
 
หากนำการเก็บภาษี VAT 7 ของไทย ไปเปรียบเทียบการเก็บภาษี VAT ในประเทศอาเซียน พบว่า ไทยมีการจัดเก็บภาษีที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะฟิลิปปินส์เก็บ VAT12, อินโดนีเซีย VAT 11, เวียดนาม กัมพูชา ลาว VAT10, สิงคโปร์ VAT9, เมียนมา ที่เก็บ VAT 5 ส่วนบรูไน ไม่มีการจัดเก็บภาษี VAT
 
และหากเทียบการเก็บ VAT กับประเทศที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในโลกปี 2024 พบว่า อันดับ 1 เดนมาร์ก VAT 25, อันดับ 2 สวีเดน VAT 25, อันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์ VAT 8.1 เก็บ VAT ต่ำสุดในยุโรป อันดับ 4 นอร์เวย์ VAT 25 และอันดับ 5 แคนาดา VAT 5
 
นายกฯ สั่งเบรก! ยันไม่ขึ้น VAT 15 
 
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชี้แจงกรณีข้อกังวลใจของพี่น้องประชาชน ต่อเรื่อง VAT15 ระบุว่า วันนี้ดิฉันได้พูดคุยหารือในประเด็นดังกล่าวกับท่านรองนายกรัฐมนตรีพิชัย ร่วมกับคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อความชัดเจน ขอสรุป เพื่อชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน ดังนี้ 
 
1. ไม่มีการปรับ VAT เป็น 15 
 
2. กระทรวงการคลัง กำลังศึกษาการปรับโครงสร้างภาษี ซึ่งต้องมองทั้งระบบให้ครบทุกมิติและเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
 
3. การปรับโครงสร้างภาษีของประเทศอื่น ๆ ใช้เวลาศึกษาและปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป บางประเทศใช้เวลาปรับเปลี่ยนกว่า 10 ปี
 
4. นโยบายหลักของรัฐบาล คือการลดรายจ่ายของประชาชน ลดรายจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ ควบคู่ไปกับการหาโอกาสจากการสร้างรายได้ใหม่ให้ประชาชน
 
ทั้งหมดนี้ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องประชาชนคนไทย ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่า การทำงานของรัฐบาล เราดำเนินการด้วยความรัดกุม รับฟังทุกภาคส่วน และยึดประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยของเราทุกคน
 
 
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-17.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง