logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

คุมฝากขัง “นุ-สา” คนสนิท “ทนายตั้ม” ค้านประกันตัว | ข่าวเย็นประเด็นร้อน

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : ข่าวเย็นประเด็นร้อน - เมื่อช่วงสายวันนี้ ตำรวจคุมตัว นุ-สา คนสนิท ทนายตั้ม ไปฝากขังศาลอาญา ในคดีร่วมกันฉ้อโกงเงิน 39 ล้านบา ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ทิน โชคกมลกิจ,จีรนันท์ เขตพงศ์,สันติวิธี พรหมบุตร,บุญชงสงตอบ,ทนายบุญ

2,404 ครั้ง
|
13 พ.ย. 2567
ข่าวเย็นประเด็นร้อน - เมื่อช่วงสายวันนี้ ตำรวจคุมตัว นุ-สา คนสนิท ทนายตั้ม ไปฝากขังศาลอาญา ในคดีร่วมกันฉ้อโกงเงิน 39 ล้านบาท ของ มาดามอ้อย พร้อมคัดค้านการประกันตัว
 
คุมฝากขัง นุ-สา คนสนิท ทนายตั้ม ค้านประกันตัว
 
ตำรวจกองบังคับการปราบปรามได้คุมตัว นายนุวัฒน์ หรือ นุ อายุ 34 ปี คนสนิท นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม และ นางสาวสารินี อายุ 32 ปี แฟนสาวของนุ ไปฝากขังศาลอาญารัชดาฯ หลังตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวได้ที่บ้านพักย่านวังทองหลาง กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ร่วมกันฟอกเงิน และนำเอาข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ในคดีเงิน 39 ล้านบาท ของ นางสาวจตุพร อุบลเลิศ หรือ มาดามอ้อย
 
ระหว่างคุมตัว นายนุใส่หน้ากากอนามัยสีดำปกปิดใบหน้า ได้พนมมือไหว้และไม่ได้ตอบคำถามใด ๆ กับสื่อมวลชน เช่นเดียวกับ นางสาวสา ที่ปิดปากเงียบและไม่ตอบคำถามใดๆ เช่นเดียวกัน ก่อนที่ทั้งคู่จะรีบเดินขึ้นรถตู้ของกองบังคับการปราบปรามเพื่อเดินทางไปฝากขังที่ศาลฯ ต่อไป เบื้องต้นท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนทำการคัดค้านการประกันตัวของผู้ต้องหา เนื่องจากให้เหตุผลว่าหากผู้ต้องหาทั้งสองคนได้รับการประกันตัว เกรงว่าจะมีการเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานทางคดี
 
ขณะที่ พลตำรวจตรี สุวัฒน์ แสงนุ่ม รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้เปิดเผยว่า จากการสอบปากคำทั้ง 2 คน ให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ปักใจเชื่อทั้งหมด เนื่องจากมีพยานหลักฐานประกอบในสำนวนเป็นหลักอยู่แล้ว นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างประสานไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อขอเข้าไปสอบปากคำ นายษิทรา ปมเงิน 39 ล้านบาท เพิ่มเติม
 
กกต.บุกสอบ ทนายตั้ม ในคุก ปมสมัคร สว.
 
ส่วน นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ส่อโดนอีกหนึ่งคดี หลังจากมีผู้ร้องเรียนว่า นายษิทรา สว.สำรองอันดับ 4 ที่เคยสมัคร สว.สมุทรสาคร ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา เนื่องจากทำงานภาคประชาสังคมไม่ถึง 10 ปี
 
โดยวันนี้ นายนิติพัฒน์ ชูกล้ากสิกรณ์ ประธานสืบสวนและไต่สวน กกต. จังหวัดสมุทรสาคร เดินทางเข้าสอบปากคำและสอบถามข้อเท็จจริง ทนายตั้ม ที่อยู่ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯมหานคร
 
นายนิติพัฒน์ กล่าวว่า ช่วงปลายเดือนกันยายน มีคนร้องเรียนเรื่องคุณสมบัติการสมัคร สว. ว่า ทนายตั้ม อาจขาดคุณสมบัติ เพราะตามกฎหมายจะต้องประกอบอาชีพ 10 ปีขึ้นไป จากนั้น กกต.ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน จากนั้นได้สืบสวน จนถึงขั้นตอนเรียกให้ ทนายตั้ม เข้าชี้แจง แต่ ทนายตั้ม ขอเลื่อนชี้แจงไปเป็นวันที่ 27 พฤศจิกายน แต่มองว่า จะเกินกรอบเวลาสอบสวนของ กกต.ที่ตั้งไว้ จึงเดินทางมาสอบปากคำ หลังจากได้ข้อมูลจาก ทนายตั้ม ก็จะนำไปพิจารณาว่า มีเหตุผลและหลักฐานพอที่จะเชื่อได้หรือไม่และลงมติ ส่งให้ กกต.กลาง พิจารณาต่อไป ส่วนกรณีที่ ทนายตั้ม ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับ เจ๊อ้อย นายนิติพัฒน์ เปิดเผยว่ากรณีดังกล่าวยังถือว่าคดีความยังไม่สิ้นสุดและยังไม่ถึงขั้นที่จะถอดถอนทนายตั้ม ออกจากเป็นตัวสำรอง สว. ในขณะนี้
 
ทั้งนี้หาก กกต.มีมติว่า ทนายตั้ม ขาดคุณสมบัติในการลงสมัคร สว.ดังกล่าวจะถูกถอดถอนจากการเป็นตัวสำรองของสมาชิกวุฒิสภาทันที โดยจะมีความผิดตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยกันได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภามาตรา 74 ที่กำหนดว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือก ไม่ว่าเพราะเหตุใด ได้สมัครรับเลือก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี
 
เปิดสัญญา มาดามอ้อย ลงทุนซื้อสลากฯ โต้ปมกู้เงิน
 
ขณะที่ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาเปิดเผยหลักฐานสำคัญในรายการของ หนุ่ม กรรชัย เป็นเอกสารที่ มาดามอ้อย เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตแอปพลิเคชันหนึ่ง (บริษัทของมี่กับปีเตอร์) ซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาจ้างเขียนและพัฒนาโปรแกรม ชื่องาน พัฒนาเว็บไซต์ และระบบแอปพลิเคชันซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลออนไลน์ ทำที่บริษัทแห่งหนึ่ง วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 เซ็นจริง 5 กุมภาพันธ์ 2566 และบอกว่า หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง นางสาวอ้อย ในฐานะผู้ว่าจ้าง กับบริษัทที่ทำหน้าที่เขียนแอป แสดงให้เห็นว่า เงินลงทุนนี้ไม่ใช่ของ ทนายตั้ม โดย มาดามอ้อย ผู้ว่าจ้าง ตกลงจ่ายค่าว่าจ้างเป็นเงิน 2 ล้านยูโร และมีลายเซ็นของ มาดามอ้อย
 
ดังนั้น ทนายตั้ม จะอ้างว่า กู้ยืม หรือ ลงทุนไม่ได้ เพราะไม่มีชื่อของ ทนายตั้ม หลังจากนั้น มาดามอ้อย ก็โอนเงิน 71 ล้านบาท ให้ ทนายตั้ม เพราะ ทนายตั้ม อ้างว่าจะเป็นผู้ดำเนินการต่อให้ โดย ทนายตั้ม เป็นคนติดต่อบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันเอง และติดต่อ คุณอ้อย โดยไม่ให้ทั้งสองฝ่ายเจอกัน
 
สุดท้าย ทนายตั้ม กลับถอนเงินสดไปซื้อบ้านราคา 43 ล้านบาท เมื่อบริษัทไม่ได้เงิน 71 ล้านบาท ทนายตั้ม จึงบอกว่า มาดามอ้อย ยกเลิกสัญญาแล้ว ทั้งที่ มาดามอ้อย ไม่ได้ยกเลิก โดยยืนยันว่า มาดามอ้อย ตั้งใจมาลงทุน จึงทำสัญญา ไม่ใช่ทำสัญญาเพื่อแอบโอนเงินเข้ามา เพราะ มาดามอ้อย สามารถโอนเงินจากต่างประเทศมายังไทยได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียภาษี จ่ายแค่ค่าธรรมเนียม
 
หลังจากนั้น ทนายตั้ม ยังชักชวนบริษัทของ มี่ กับ ปีเตอร์ ทำใบเสนอราคาออกแบบโรงแรมราคา 9 ล้านบาท อ้างว่า เดี๋ยวหาโครงการจาก มาดามอ้อย ให้ หลังจากนั้น มาดามอ้อย โอนเงินทั้งหมด 9 ล้านบาท ให้ มี่ ก่อน มี่ จะถอนเงิน และนำเงินมาให้ ทนายตั้ม เพราะ ทนายตั้ม อ้างว่าเป็นผู้จัดการเงิน และ มี่ ให้ ทนายตั้ม คุมสัญญาทั้งหมด สุดท้าย ทนายตั้ม ไปจ้างบริษัทอีกบริษัทหนึ่ง 3.5 ล้านบาท เหลือส่วนต่าง 5.5 ล้านบาท แต่คู่สัญญา คือ มี่ กับ ปีเตอร์ ไม่รู้เลยว่า ทนายตั้ม จะทำแบบนี้ นอกจากนี้ ทนายตั้ม ยังนำเงิน 1 ล้านบาท ไปให้พี่สาวภรรยาทนายตั้ม 1 ก้อน หลังจากมี่ และ ปีเตอร์ รับงานมาแล้วไม่ได้เงิน ก็เก็บหลักฐานเรื่อยมาก จนเป็นพยานปากเอกสำคัญ
 
นายปานเทพ กล่าวว่า ตอนนี้ ทนายตั้ม มีความคิดจะประกันตัวภรรยา อ้างว่าแค่รับเงินมาซื้อบ้าน ไม่รับรู้ที่ไปที่มา ตนอยากบอกว่าไม่จริง เพราะ นางปทิตตา อยู่ในคณะทำงานเรื่องสลากออนไลน์และรับทราบโดยตลอด เชื่อว่าตำรวจมีหลักฐานพอที่จะยืนยันได้ว่า นางปทิตตา รับรู้โดยตลอดในธุรกรรมนี้
 

ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-17.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35

 
 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง